5 วิธีที่โกงระดับท้องถิ่น
โกงกันอย่างไร
โกงที่ 1 ซื้อของเข้าสำนักงาน เพื่อค่าคอมมิชชั่น แพงไม่ว่าขอเปอร์เซ็นต์ส่วนลดเป็นเงินส่วนลดสำหรับนายหรือไม่ก็ของตัวเอง (เจ้าหน้าที่โกง) ถ้านายใหญ่ ๆ โกง ก็จะเป็นไปในทำนองนี้
“ในขณะผมอยู่ที่นี่ ผมจะให้เจ้าหน้าที่เขาซื้อจากร้านของคุณ คุณจัดการให้ผมสามสิบ เปอร์เซ็นต์นะ”
โกงที่ 2 ซื้อใบเสร็จรับเงินจากร้านค้า เพื่อนำมาทำเรื่องเบิกเงินได้ มีคนเคยพูดว่า “ทำหลักฐานให้ถูกต้อง ในความไม่ถูกต้องไม่ติดคุก แม้จะถูกต้องแต่หลักฐานไม่ถูกต้องติดคุกได้”
โกงที่ 3 กรณีจัดประชุมอบรม สัมมนา ผูกขาดโรงแรมเพื่อจัดประชุมอบรมสัมมนาแล้วขอค่าผูกขาดตามจำนวนที่กำหนด ซึ่งได้รับกล่าวขานกันว่าอย่างน้อยสามสิบเปอร์เซ็นต์
โกงที่ 4 จัดประชุม อบรม แล้วให้ผู้เข้าอบรมลงเวลามาประชุมล่วงหน้าตลอดการอบรม
เพื่อเป็นหลักฐานไว้ขอเบิกเงินทั้งหมดตามยอดของผู้เข้าประชุม เช่น กำหนดการประชุม 3 วัน กำหนดให้ผู้เข้าประชุมทำหลักฐานการลงเวลาเข้าประชุมอบรมไว้ตลอดทั้งสามวัน เพื่อเป็นหลักฐานการเบิกจ่าย ระหว่างกำหนดการฯ จำนวนที่ขาดไปต้องคืนให้ผู้จัดเพื่อเข้ากองกลาง หรือกระเป๋าตัวเอง ก็ว่ากันไป
(การให้ลงชื่อไว้ล่วหน้าเป็น “วัดตะนะทำใหม่” หรือ พฤติกรรมการโกงแผนใหม่ ที่ผมคิดว่าทำเป็นการทำลายคุณธรรมจริยธรรมอย่างใหญ่หลวง เพราะได้รับการปลูกแนวคิด “ลงชื่อให้แล้ว ผมจะเข้าประชุมอบรม หรือไม่ก็ได้” แบบแผนนี้กำลังทำกันอย่างกว้างขวาง และผมสลดหดหู่จนไม่รู้จะทำอย่างไร และพูดกับใคร เพราะทำกันทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
โกงที่ 5 ได้รับงบประมาณมาจัดประชุมอบรมจำนวนหนึ่ง ผู้มีอำนาจคิดว่าน้อยไป ขอนำยอดอื่นมาสมทบทำเบิก แต่ยอดที่สมทบนี้โรงแรมต้องคืนกลับใต้โต๊ะ วิธีการฟอกเงินที่แยบยลไมครับ
5 วิธีที่โกงระดับท้องถิ่น หรือโกงหมื่นโกงแสน ที่สดับตรับฟังมา ไม่ใช่การโกงระดับร้อยล้ายพันล้าน เหมือนที่ป็นข่าวการโกงในระดับชาติดังที่กล่าวถึง
พฤติกรรมการโกงมาจากสาเหตุเหล่านี้หรือไม่ นี่เป็นความคิดเห็นของผมนะครับ
-
แบบอย่างการโกงของคนใกล้ชิด ที่ติดตัวมาแต่วัยเด็ก
-
ความแร้นแค้นในชีวิตที่ผ่านมา ที่ต้องชดเชย
-
การโกงเล็กโกงน้อย เช่น โกงการสอบ โกงการบ้าน โกงเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ จนได้ใจ
มาตั้งแต่วัยเด็ก
-
การปลูกฝังเรื่องความซื่อสัตย์จากพ่อแม่ผู้ปกครอง และโรงเรียน ไม่เข้มแข็งพอ
-
ความฟุ้งเฟ้อของสังคม ที่ยังเข้าไม่ถึงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
-
แบบอย่างของการโกงแล้วรวย ลอยนวลอยู่ในสังคมได้
-
ระบบการตรวจสอบที่อ่อนแอ
-
เจ้านายที่ไม่จ่ายเมื่อไปราชการในพื้นที่