มารไม่มีบารมีไม่เกิด
- การดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน คงเคยได้ยินคำว่า "มารไม่มีบารมีไม่เกิด" และ "มารยิ่งมีบารมียิ่งเกิด" เป็นคำที่มีความหมายส่งเสริมกำลังใจให้ต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เป็นเหมือนมาร ฉะนั้น อย่ายอมแพ้ หรือ อย่าท้อถอย มีตัวอย่างให้เห็นแม้ในสมัยพุทธกาล ภายใต้ร่มโพธิพฤกษ์ที่เงียบสงัด พระสิทธัตถะมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ลำพัง ทรงมีพระทัยตั้งมั่นดิ่งลงสู่ความสงบอันล้ำลึก
- ขณะทรงตรวจดูสภาพจิตจนทั่ว ก็ทรงพบว่ายังมีสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้บรรลุธรรมอย่างใหญ่หลวง เรียกว่า "พญามาร" แฝงอยู่ในจิตสันดาน
- ดังนั้น ในเวลาปฐมยาม พระองค์ได้ทรงผจญกับพญามาร พร้อมด้วยเสนามารที่ยกพลกันมาแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ เพื่อให้พระองค์ทรงลุกจากที่นั่ง โดยอ้างว่าบัลลังก์นั้นเป็นของตน แต่พระองค์ทรงหาหวั่นไหวไม่ อนึ่ง พึงเข้าใจความหมายของคำว่า "มาร" ดังนี้
- "มาร" แปลว่า ผู้ฆ่าให้ตาย ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ผู้ฆ่าเหล่าสัตว์ให้ตายจากคุณธรรมความดี คือ สิ่งหรือตัวการที่คอยฆ่า คอยล้างผลาญ คอยกำจัดหรือคอยขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุคุณธรรมความดีหรือผลสำเร็จอันดีงาม จำแนกมารไว้ 5 ประเภท คือ
1. ขันธมาร "มาร" คือ "เบญจขันธ์"
- ได้แก่ ร่างกายที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 ซึ่งอ่อนแอพ่ายแพ้ต่อการบำเพ็ญความดี
2. มัจจุราช "มาร" คือ "มัจจุราช"
- ได้แก่ "มรณะ" คือ ความตายที่ทุกคนต้องประสบ ซึ่งเข้ามาตัดรอนการทำความดีของคนเรา
3. กิเลสมาร "มาร" คือ "กิเลส"
- ได้แก่ "กิเลส" คือ ความเศร้าหมองที่เกิดกับจิต ซึ่งคอยรบกวนขัดขวางจิตไม่ให้กระทำความดีหรือก้าวหน้าในการที่จะบรรลุคุณธรรมความดีตลอดเวลา
4. อภิสังขารมาร "มาร" คือ "อภิสังขารมาร"
- ได้แก่ สภาพที่ปรุงแต่งจิตในทางอกุศลให้ยิ่งขึ้นกว่าปกติ และนำให้เกิดชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ซึ่งขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังสารทุกข์ (ความทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ)
5. เทวปุตตมาร "มาร" คือ "เทพบุตร"
- ได้แก่ เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งสวร