ทฤษฏีของภาพยนต์ The Day After Tomorrow กำลังมีแนวโน้มจะเป็นจริงบนโลกเรา ได้หรือไม่
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า หนังเรื่องนี้ได้ไอเดียมาจากความคาดคะเนและสงสัยของนักวิทย์จริงๆ ในตอนเริ่มแรกของหนังที่ว่า กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติค (สีแดงในรูป 2) จะหยุดไหลและโลกจะเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง แต่แน่นอนว่าเพราะเป็นหนังฮอลลิวูด หลังจากนั้นก็เว่อร์เลย ภัยพิบัติทุกอย่างเกิดเร็วมากภายในไม่กี่สัปดาห์
ทีนี้ ที่น่าสนใจมากขณะนี้ก็คือ กรมอุตุฯของอเมริกาได้พบว่า 8 เดือนแรกของปี 2015 นี้มา ข้อมูลอุณหภูมิในมหาสมุทร (และบนบก) ดังรูปแรกนี้ ตรงกับตอนเริ่มของหนังเป๊ะเลย ถ้าใครจำหนังได้จะมีคนเก็บข้อมูลน้ำทะเลจากทุ่นชาวสก๊อต 3 คน ที่พบว่า อุณหภูมิน้ำทะเลแถวประเทศกรีนแลนด์และเกาะอังกฤษอยู่ๆก็หนาวจัด ....ในรูปแรกนี้ จะเห็นว่า สีน้ำเงินจัดคือ อุณหภูมิเย็นสุดเท่าที่เคยบันทึกมาหลายสิบปี สีฟ้าคือเย็นกว่าค่าเฉลี่ยมากๆ สีขาวคือ เท่าค่าเฉลี่ยปกติ และโทนสีแดงก็ทำนองเดียวกัน
อะไรทำให้เกิดอุณหภูมิเย็นจัดในทะเลใต้กรีนแลนด์ ตอนนี้นักวิทย์ยังไม่รู้แน่ชัด แต่ประเด็นคือ นักวิทย์กลัวว่ามันจะมีผลกระทบต่อ กระแสน้ำอุ่นในแอตแลนติค ที่ทำให้อังกฤษและยุโรปตะวันตกอากาศอุ่นมาตลอด (อังกฤษ หน้าหนาวราว 0 - 5 องศา ขณะที่แคนาดา ทั้งที่อยู่ละติจูดเดียวกัน หนาวมากถึง -30 ถึง -40 องศา) ..... คาดกันว่า บางทีการละลายของธารน้ำแข็งอย่างรวดเร็วจากภาวะโลกร้อนที่ ปท กรีนแลนด์อาจทำให้น้ำจืดจำนวนมากทำให้การ "มุดลง" ของกระแสน้ำอุ่นนี้อ่อนตัวหรือชะลอตัวลง
ปกติบนโลกเรา ตามรูปที่ 2 (ซ้ายบนสุดที่แดงเปลี่ยนเป็นน้ำเงิน กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนเป็นกระแสน้ำเย็น) เมื่อกระแสน้ำอุ่นไหลมาจากออสเตรเลีย/เอเซีย มาจนถึงเกาะอังกฤษและกรีนแลนด์ เมื่อขึ้นเหนือเรื่อยๆ มันก็ได้รับความเย็นจากอากาศแถวนั้นจนทำให้เย็นขึ้นและเค็มขึ้นจากการผสมผสานกับน้ำทะเล จึงทำให้มันหนักขึ้น (ความหนาแน่นสูง ... น้ำเย็นหนักกว่าน้ำร้อน ลองทำดูที่บ้าน) และมุดลงใต้ทะเล และไหลลงใต้ ไปยังขั้วโลกใต้ กลับมาใต้ออสเตรเลีย และอุ่นขึ้นในแปซิฟิกจนโผล่ออกมา (ขวามือ รูป 2)
จากข้อมูลจริง รูป 1 นี้ นักวิทย์ก็กลัวว่า น้ำจืดที่ละลายจากกรีนแลนด์และขั้วโลกเหนือ จะทำให้ความหนาแน่นของกระแสน้ำบริเวณแถวนั้นลดลง และทำให้มันมุดลงช้ากว่าปกติ ...นักวิทย์ (นำโดยมหาลัย Potsdam เยอรมัน ดร. Rahmstorf และนักวิทย์อเมริกัน ตีพิมพ์นิตยสารดัง Nature Climate Change) ได้หาวิธีตรวจสอบทางอ้อม (เช่นจากปะการัง) และดูว่า 1100 ปีที่ผ่านมานั้นแนวโน้มเป็นยังไงเกี่ยวกับการชะลอของการมุดของกระแสน้ำอุ่น (รูปสุดท้ายนี้) และพบว่าเหตุการณ์ตอนนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 1100 ปี และคาดว่า จะยิ่งแย่ลงในหลายปีข้างหน้า
เขากล่าวว่า ผลกระทบน่าจะมีต่อระบบนิเวศน์ การประมง แถวนั้นและใกล้เคียง และระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นกว่าปกติแถวนิวยอร์คและตะวันออกของอเมริกา (ระดับ หลักสิบๆซม.) รวมทั้งภูมิอากาศแถวนั้นก็จะเปลี่ยนไป ทั้งอังกฤษ ยุโรปตะวันตกและอเมริกา/แคนาดาตะวันออก (แต่ไม่เว่อร์ขนาดในหนังนะจ้ะ) ในแง่เลวร้ายสุด หากกระแสน้ำเย็นและเค็มที่กรีนแลนด์ไม่มุด มันอาจไหลย้อนไปทางใต้สู่ขั้วโลกใต้ และกระแสน้ำอุ่นอาจไม่ไปแถวอังกฤษ ทำให้ความร้อนจากเส้นศูนย์สูตรแถวเอเซียไม่ถูกหอบไปแถวนั้น ทำให้แถวนั้นหนาวขึ้นเยอะ...ทั้งนี้ตามฟอร์มว่า นักวิทย์ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป (บางครั้ง นักวิทย์ก็ต้องพูดให้มันน่ากังวล เร้าใจ เพื่อจะได้งบวิจัยเพิ่มเป็นล้านดอลล่า)
ทั้งนี้ในหนัง The Day After Tomorrow โม้ว่า พอโลกร้อนทำให้กระบวนการกระแสน้ำนี้หยุดชะงัก จึงทำให้โลกทั้งใบเกิดการปั่นป่วนสุดๆและเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง .... แต่นักวิทย์จริงๆที่มีชื่อเสียงบ้างบอกว่า มันไม่ขนาดนั้น มันไม่มีทางหยุดชะงัก หรือเกิดรวดเร็วอีกไม่นาน/รุนแรง แนวโน้มแค่ ชะลอตัวกระบวนการเฉยๆ แต่พื้นที่แถวนั้น (ใกล้กรีนแลนด์/อังกฤษ) น่าจะโดนผลกระทบฉับพลันได้ ...และโมเดลของนักวิทย์ด้าน climate ต่างบ่งชี้ว่า เหตุการณ์เหล่านี้จะไม่ทำให้โลกทั้งใบเปลี่ยนแปลงกระทันหันแบบเลวร้ายภายในปี คศ 2100 ...
คนไทยจึงไม่จำเป็นต้องห่วงอะไร จากเหตุการณ์นี้
ดร. ไพโรจน์ ฉัตรอนันทเวช นักวิจัยด้านพื้นผิวโลก
อ้างอิง
https://www.washingtonpost.com/…/why-the-earths-past-has-s…/
http://earthsky.org/…/north-atlantic-circulation-slowing-do…
http://www.nature.com/…/journal/v5/n5/full/nclimate2554.html
https://www.vox.com/…/8277…/atlantic-overturning-circulation
วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย
https://www.facebook.com/tsunamithailandCaltech/photos/pcb.995761750488048/995743017156588/?type=3&theater