"ยาแก้ปวดไมเกรน ทำให้มือเท้าเน่าได้" เป็นเรื่องจริงครับ
เรื่อง "ยาแก้ปวดไมเกรน ทำให้มือเท้าเน่าได้" เป็นเรื่องจริงครับ
ถามมาหลายคนมาก ว่าที่มีแชร์กันเรื่องนี้ จากคุณหมอ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (เจ้านายเก่าผมเอง) เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เพราะภาพประกอบน่ากลัวมาก ... ขอยืนยันว่าเรื่องจริง ด้วยโพสต์นี้ของคุณหมอแมวครับ
ปัญหาของยาตัวนี้คือมันทำให้หลอดเลือดหดตัว แล้วคนไข้ไปหายามากินเองจนเกินไป หรือไปกินร่วมกับยาอื่นที่มีผลข้างเคียงเหมือนกัน เลยยิ่งเป็นหนัก
ดังนั้น ถ้าใครเป็นไมเกรน ควรจะต้องกินยาตามที่หมอสั่งให้เท่านั้นนะครับ
ยาคู่มรณะ#1 ระวัง!ใช้ยาไมเกรนผิด ชีวิตอาจจบ
ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว
ไมเกรนเป็นโรคปวดหัวชนิดหนึ่งที่พบไม่บ่อยแต่พบได้เรื่อยๆ
ปัญหาในประเทศไทยคือ หลายคนเรียกโรคนี้ว่าปวดหัวข้างเดียว ทำให้เกิดการเหมาไปว่าหากปวดหัวข้างเดียวแปลว่าเป็นไมเกรน ทั้งที่ความจริงแล้วปวดหัวข้างเดียวส่วนใหญ่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่อยู่รอบๆศีรษะ
ยาในกลุ่ม Ergot ซึ่งใช้รักษาไมเกรนที่กินยาแก้ปวดชนิดอื่นไม่หาย เป็นยาที่รักษาไมเกรนได้ แต่ก็มีผลข้างเคียงที่ต้องระวังคือ มันมีฤทธิ์หดหลอดเลือดได้ ดังนั้นในกรณีได้ยามากเกินไปหรือยาออกฤทธิ์มากเกินไป ก็จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้ เช่น แขนขาขาดเลือดจนต้องตัดทิ้ง หรือ เส้นเลือดสมองตีบ
โดยยาที่มีผลเสริมฤทธิ์ของยากลุ่ม Ergot ก็ได้แก่
1. Protease inhibitor เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี
2. ยากลุ่มฆ่าเชื้อราชนิดรับประทาน
3. ยาฆ่าเชื้อในกลุ่ม Macrolide เช่น Clarithromycin
4. น้ำGrapefruit (ซึ่งทำให้อาจจะต้องระวังน้ำส้มโอไปด้วย)
5. ยาต้านอาการซึมเศร้าบางชนิด เช่นfluoxetine (บางตัวอยู่ในยากลุ่มที่ใช้ลดความอ้วน)
ปัญหามักจะไม่เกิดในโรงพยาบาลที่มีระบบสั่งจ่ายยาที่เข้มงวด เพราะว่าพอแพทย์สั่งยาไปแล้วเภสัชตรวจย้อนกลับไปว่ามีการสั่งยาErgotแก้ปวดไมเกรนก่อนหน้านั้น ก็จะระงับการสั่งจ่ายยาแล้วให้แพทย์พิจารณายาใหม่
แต่สำหรับบางกรณีที่มีการเก็บยาเอาไว้กินเองโดยไม่ได้แจ้ง หรือปวดหัวแล้วไปซื้อยามาเก็บไว้กินเอง ก็มีความเสี่ยงที่จะได้ยาใน5กลุ่มข้างบนไปแล้วกินไปพร้อมกันจนเกิดผลข้างเคียงได้
บางรายถูกตัดแขนขา
บางรายเป็นอัมพาต
ดังนั้น
หากปวดหัว ไม่ควรซื้อยาไมเกรนมากินเอง
หากป่วยไม่สบายไปรักษา โปรดแจ้งเภสัชและแพทย์เสมอว่ากินยาอะไรอยู่
เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่น่ากลัวจนถึงชีวิตนี้ได้
ปล. รูปนิ้วนี้เอามาจาก
Srinivasan NM, Chaudhuri S. Arterial cannulation can hasten the onset of symmetrical peripheral gangrene. Anesth Essays Res 2011;5:102-4
เป็นเคสนิ้วขาดเลือดจากความ
Credit : https://www.facebook.com/HmxMaew/photos/a.398936216867904.96187.398912630203596/919607558134098/?type=3