เปลี่ยนเซล์ปกติให้กลายเป็น STEM CELLS เพียงแค่จุ่มกรด
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีในการเปลี่ยนเซลล์ที่โตเต็มวัย (Adult cells) แล้วไปเป็น Pluripotent สเต็มเซลล์ได้ (สเต็มเซลล์ที่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์จำเพาะอื่นๆ ได้หลายชนิดซึ่งเป็นคุณสมบัติที่คล้ายกับสเต็มเซลล์ที่มาจากตัวอ่อน หรือ Embryonic stem cells)
ในการทำให้เกิดการกลายร่างของเซลล์นี้ เหล่านักวิจัยจากศูนย์วิจัย RIKEN ศูนย์กลางแห่งชีววิทยาพัฒนาการ (Developmental Biology) ในประเทศญี่ปุ่น และโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ได้ทำการกระตุ้นเซลล์ที่โตเต็มวัยแล้วด้วยแรงกดดัน แรงกดดันในการทดลองนี้มีทั้งหมด 3 ประเภท 1. สารพิษที่ทำให้เกิดรูในเยื่อหุ้มเซลล์ (cells’ membranes) 2. การจุ่มลงในสารละลายกรด และ 3. การใส่แรงกดหรือแรงเค้น (Stress)
สำหรับนักชีววิทยาเองที่มีความคุ้นเคยกับสเต็มเซลล์เป็นอย่างดี ความง่ายดายของวิธีการใหม่นี้ดูเหมือนจะง่ายเกินไปราวกับเวทมนต์ นักวิจัยบางคนที่เมื่อได้ยินการค้นพบนี้ (The Boston Globe talked with) ถึงกับกล่าวว่า กระบวนการที่ว่านี้แทบจะดูเหมือน “การเล่นแร่แปรธาตุ (Alchemy)”
วิธีการใหม่นี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากวิธีการเดิมที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ นั่นคือการสร้าง Induced pluripotent stem cells นั่นเอง ซึ่งถูกค้นพบมากว่า 10 ปีแล้ว นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบวิธีการสร้างสเต็มเซลล์ชนิดนี้เป็นคนแรกคือ นักชีววิทยาชาวญี่ปุ่นนามว่า ชินย่า ยามานากะ (Shinya Yamanaka) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการค้นพบนี้เมื่อปี 2012 ยามานากะและคณะได้ตัดต่อยีนของเซลล์ที่โตเต็มที่แล้วเพื่อที่จะเปลี่ยนมันให้มีคุณสมบัติ Pluripotent หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์จำเพาะอื่นๆ ได้นั่นเอง
เนื่องจากว่าวิธีใหม่นี้แตกต่างจากวิธีเก่ามาก ทีมนักวิจัยที่ค้นพบการกระตุ้นเซลล์ให้กลายเป็น Pluripotent สเต็มเซลล์ด้วยแรงเค้นนี้จึงคิดชื่อเซลล์ที่ได้ขึ้นมาใหม่ว่าSTAP cells (Stimulus-Triggered Acquisition of Pluripotency cells) หรือเซลล์ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนไปเป็นเซลล์จำเพาะชนิดอื่นๆ อันเกิดจากการได้รับแรงกระตุ้น (ชื่ออังกฤษง่ายกว่าเยอะครับ :P)
นอกจากจะเป็นความสามารถใหม่ในการก่อให้เกิด Pluripotent สเต็มเซลล์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ การค้นพบ STAP cells ยังมีผลต่อวงการชีววิทยาอีกหลายอย่าง อย่างแรกที่สำคัญเลยก็คือ การค้นพบนี้สนับสนุนการค้นพบซึ่งยังคงเป็นหัวข้อโต้เถียงกันอยู่ว่าเซลล์ที่โตเต็มที่แล้วนั้นสามารถถูกเปลี่ยนเป็นเซลล์ที่มีคุณสมบัติ Pluripotent ได้ (Pluripotent cells)
“ก็ด้วยแรงเค้นนี่แหละที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง”
นายชาร์ล วากันติ (Charles Vacanti) นักวิจัยวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue engineering researcher) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้ที่ทำวิจัยในเรื่องของ STAP cells ได้กล่าวกับสำนักข่าว Nature
ประโยชน์ต่อวงการชีววิทยาอย่างที่สองก็คือ STAP cells นี้อาจจะเปิดโอกาสให้เราสามารถทำการโคลนนิ่งได้ง่ายขึ้น
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย หากสนใจเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ Nature
ผลการทดลองของงานวิจัย STAP cells นี้ได้ถูกตีพิมพ์ใน 2 หัวข้อในวารสาร Nature (1,2)
ที่มา: Acid bath offers easy path to stem cells