ถนน อังรีดูนังต์ เป็นชื่อของอะไร?
วันนี้เกือบทั้งวันเสียเวลาไปกับการลองสร้างหน้า blog งงนิดหน่อยกับการสร้าง Theme แก้ไขแล้วเซฟ แต่หน้าเพจไม่อัพเดตตาม งงไปเลย ต้องสร้างใหม่ทั้งหมด T__T ใครเป็นบ้างช่วยบอกทีว่าเกิดจากอะไร
เอาละเรื่องหน้าเพจคงพักไว้แค่นี้ก่อนตอนนี้คิดว่าพอใจแล้วในระดับหนึ่ง วันหลังว่างมากๆค่อยมาแต่งใหม่
คิดอยู่นานพอสมควรว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีนะ พอดีเหลือบไปเห็นหนังสืออยู่เล่มหนึ่งวางอยู่บนโต๊ะทำงาน ชื่อว่า "ถนนเก่าในเมืองกรุง" จำได้ว่าหยิบมาจากตู้หนังสือไม่รู้ว่าเป็นหนังสือของใครในบ้าน กะว่าจะเอามาอ่านเล่นเพลินๆ เวลาว่าง ลองหยิบอ่านดูก็มีอยู่บทหนึ่งพูดถึงเรื่องถนนอังรีดูนังต์ ซึ่งมีชื่อแปลกที่ไม่ได้มาจากภาษาไทย ตอนยังเด็กผมเคยแปลกใจกับชื่อของถนนเส้นนี้ ในใจคิดว่าน่าจะเป็นถนนที่เต็มไปด้วยแขกโผกผ้า เพราะดูนังต์ฟังแล้วพ้องกับปีนัง...5555 ความคิดของเด็กคนนึง
งั้นมาลองหาคำตอบดูกันว่าทำไมต้องชื่ออังรีดูนังต์ !!!
ถนนอังรีดูนังต์ (Thanon Henri Dunant) เป็นถนนในท้องที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 1 (สามแยกเฉลิมเผ่า) ถึงถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกอังรีดูนังต์) เดิมเรียกถนนสายนี้ว่า "ถนนนิวแมนส์ไมล์" บ้าง "ถนนสนามม้า" บ้าง จะสร้างขึ้นมาเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฎแต่คงต้องสร้างเสร็จก่อน พ.ศ.2423 เป็นแน่ เพราะว่ามีหลักฐานปรากฎในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอังคาร แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรงความว่า
"บ่าย 5 โมงเสด็จออกทรงรถพระที่นั่ง พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ตามเสด็จด้วย โปรดเกล้าฯ ให้ประทับข้างขวา กรมหมื่นนเรศวร์กับพระองค์เจ้าเทวัญ ตามเสด็จบนรถพระที่นั่ง เสด็จไปทอดพระเนตรที่สวน ที่นา ปทุมวัน ซึ่งจะทรงซื้อพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ถึงศาลาเชิงสะพานปทุมวันเสด็จทรงรถพระที่นั่ง 2 ล้อ ไปทางถนนนิวแมน แล้วเลี้ยวลงถนนศีรษะลำโพงทางไปบ้านเจ้าพระยายมราช (แก้ว)"
คง จะสงสัยกันบ้างว่าทำไมถึงชื่อถนนนิวแมนส์ไมล์ และชื่อถนนสนามม้า เมื่อ พ.ศ.2433 มีชาวอังกฤษ ชื่อนายแฟลงกลิน เฮิสต์ ได้ขอเช่าที่นาหลวง ณ ตำบลสระปทุม ประมาณ 200 ไร่ เพื่อสร้างสนามม้า กล่าวกันว่าว่าที่ดินสร้างสนามม้านั้นด้านนึงติดกับถนนนิวแมนส์ไมล์ซึ่งมี ความยาว 40 เส้น แต่เมื่อสร้างสนามแล้วจึงเปลี่ยนชื่อถนนเป็นถนนสนามม้าแทน ส่วนถนนนิวแมนส์ไมล์นั้นตั้งชื่อตามชื่อของกงสุลอังกฤษ ชื่อนายวิลเลี่ยม เฮนรี่ นิวแมน ผู้ซึ่งเข้ารับราชการในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ.2401 ถึง พ.ศ.2428 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างถนนเส้นนี้มาแต่แรกและเป็นกำลังสำคัญในการส ร้าง ประกอบกับถนนเส้นนี้มีความยาว 40 เส้น ซึ่งเท่ากับ 1 ไมล์พอดี จึงได้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษดังกล่าว (นิวแมน+ไมล์)
ปัจจุบัน ถนนเส้นนี้ตัดผ่านสถานที่สำคัญ คือ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สยามสแควร์ และ โรงพยาบาลตำรวจ
แล้วชื่ออังรีดูนังต์ละมาอย่างไร ???
ใน วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งตรงกับวันกาชาดสากลได้เปลี่ยนชื่อถนนสนามม้าเป็นถนนอังรีดูนังต์ หลังจากที่สภากาชาดสากลได้เสนอให้ประเทศสมาชิกจัดทำอนุสรณ์เนื่องในโอกาสครบ รอบ 100 ปีกาชาดสากลและระลึกถึงอองรี ดูนองต์ (Henri Dunant) ชาวสวิส ผู้ริเริ่มกิจการกาชาดสากล
นายอองรี ดูนองต์ นี้ถือว่าเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งเลยทีเดียว สามารถทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนชื่อถนนเป็นชื่อต้นเองได้ ลองมาตามกันต่อว่าออ งรีดูนองต์นั้นเป็นบุคคลสำคัญขนาดไหนเชียว...
ตานี้แหละนายอองรี ดูนองต์
อองรี ดูนองต์นั้นเป็นชาวสวิส ซึ่งเมื่อคราวเกิดการรบครั้งใหญ่ที่หมู่บ้านซอลเฟริโนประเทศอิตาลีระหว่าง ฝรั่งเศษกับสัมพันธมิตร เมื่อ พ.ศ.2402 มีผู้บาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก เป็นเวลาเดียวดับที่ อองรี ดูนองต์ กำลังท่องเที่ยวอยู่ในอิตาลี เขาได้เข้าเยี่ยมเยียนสถานพยาบาลผู้บาดเจ็บจากการสู้รบ เขาพบว่าผู้บาดเจ็บขาดคนดูแลรักษาเท่าที่ควร ก็เกิดการสังเวชจึงชักชวนคนในท้องถิ่นนั้นให้ร่วมมือกันเพื่อการกุศล สงเคราะห์ทหารที่บาดเจ็บ เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากและเจ็บปวด "โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย" จนถือว่าเขาเป็นบุคคลที่บุกเบิกการบรรเทาทุกข์ในยามสงคราม และเป็นผู้ริเริ่มกิจการกาชาดขึ้นมานั้นเอง...ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญระดับโลก คนนึง
อ่านแล้วก็ไขข้อข้องใจในวัยเด็กของผมลงไปได้แล้วว่า อังรีดูนังต์ ชื่อนี้มาจากไหน ไม่ใช้ชื่อแขกอย่างที่ผมคิดไว้เลย....
สำหรับวันนี้ผมคงต้องขอจบบทความไว้แต่เพียงเท่านี้...โอกาศหน้าจะหาเรื่องมาเล่าให้ฟังกันใหม่นะครับ ^__^
ปล.รักคนอ่าน
Cridit : kung_มังกร