"อุกกาบาต" คือ สะเก็ดดาว วัตถุบนท้องฟ้าชนิดหนึ่งในระบบสุริยะ เป็นหินหรือโลหะที่ล่องลอยอยู่ทั่วอวกาศ แต่ก็ยังมีขนาดเล็กเกินกว่าจะนับเป็น ดาวเคราะห์น้อย เมื่อสะเก็ดเหล่านี้ลอยเข้าใกล้โลกจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ความเร็วเฉลี่ยขณะพุ่งอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้นเท่ากับ 20 ก.ม./วินาที แต่อาจมีความเร็วได้สูงถึง 71 ก.ม./วินาที ขึ้นอยู่กับทิศทางการตกของสะเก็ดดาว ความเร็วขนาดนี้ทำให้สะเก็ดดาวเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจนเกิดไฟลุกไหม้ มองเห็นเป็นเส้นยาวพุ่งลงมาจากฟากฟ้าในยามค่ำคืน หากมีขนาดใหญ่มากจนเผาไหม้ไม่หมดจะตกสู่พื้นผิวของโลก แรงกระแทกที่ทำต่อพื้นโลกจะขึ้นอยู่กับความเร็วและมวลของอุกกาบาตขณะตกกระทบ แม้อุกกาบาตขนาดเล็กเท่ากับกำมือก็ยังสามารถสร้างแรงกระแทกได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว เช่นเดียวกันเมื่อโลกเคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้กับอุกกาบาตขนาดใหญ่จนคาดว่าเป็นเหตุให้สูญสิ้นยุคไดโนเสาร์ และทิ้งร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์มาจนถึงทุกว่านี้อย่าง "หุบอุกกาบาตบาร์ริงเกอร์"
บาร์ริงเกอร์ เครเตอร์ (Barringer Crater) หรือ เมทีออร์ เครเตอร์ (Meteor Crater) ตั้งอยู่ในรัฐแอริโซนา ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ระหว่างเมืองสโลว์กับเมืองแฟล็กสตาฟฟ์ หลุ่มอุกกาบาต เมทีออร์ เครเตอร์ หรือ บาร์ริงเกอร์ เครเตอร์ มีขนาดความกว้าง 1,250 เมตร ลึก 174 เมตร ถ้ามองจากพื้นราบทะเลทราย บริเวณรอบหลุมจะดูเหมือนเนินเตี้ยๆ จากการสำรวจโดย ซึ่งการค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1890 หลายคนยังคงเข้าใจว่าเป็นหุบภูเขาไฟธรรดา แต่ในปี ค.ศ.1890 มีการค้นพบเศษเหล็ก ในปี ค.ศ.1902 ดร.แดเนียล บาร์ริงเกอร์ ก็เข้ามาสำรวจและพบข้อเท็จจริงว่า ชั้นหินด้านตะวันออกเฉียงใต้ของหลุมสูงกว่าด้านอื่นถึง 30 เมตร ทำให้สรุปได้ว่า ลูกอุกกาบาตพุ่งชนในมุมต่ำทางทิศเหนือ และฝังตัวลงในด้านตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีการขุดบริเวณนั้นและพบเศษนิกเกิลและเศษเหล็กมากขึ้นเมื่อขุดลึกเข้าไป วงการวิทยาศาสตร์สมัยนั้นเริ่มคล้อยตามว่าเกิดจากหลุ่มอุกกาบาต
คาดว่าน้ำหนักที่แท้จริงของลูกอุกกาบาต มีการประมาณการณ์หลายครั้ง ในปี ค.ศ 1930 นักวิทยาศาสตร์คาดว่าลูกอุกกาบาตน่าจะหลักราว 14 ล้านต้น และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 122 เมตร แต่ในการคำนวณต่อๆมา ลูกอุกกาบาตยิ่งเล็กลง คือ มีน้ำหนักราว 2 ล้านต้นและเส้นผ่าศูนย์กลาง 79 เมตร ต่อมาก็ประมาณว่าน่าจะ 70,000 ต้นเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เมตร การที่จะทำให้เกิดหลุมกว้างขนาดนี้ได้ ลูกอุกกาบาตต้องพุ่งชนด้วยความเร็ว 69,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงกระทบคาดว่า น่าจะรุนแรงเท่ากับระเบิดขนาด 500,000 ต้น แรงกว่าระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมากับนางาซากิ 40 เท่า แรงระเบิดทำให้เกิดฝุ่นฟุ้งไปในอากาศ 100 ล้านต้น ปกคลุมชั้นบรรยากาศโลกไว้เป็นเวลานาน สัตว์ขนาดใหญ่อย่างไดโนเสาร์ไม่สามารถปรับตัวได้ทันจึงสูญพันธุ์ไปในที่สุด และยังดันให้วัตถุอื่นขึ้นมากองอยู่รอบๆกลายเป็นหุบอุกกาบาตในปัจจุบัน
ขณะที่อุกกาบาตพุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลก อุกกาบาตก็ถูกแรงเสียดทานจากชั้นบรรยากาศโลก ทำให้ผิวอุกกาบาตหลอมเหลวเป็นทาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโลหะเหลว โปรยปรายเป็นทางครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่า 260 ตารางกิโลเมตร ซึ่งโลหะก้อนใหญ่ที่สุดหนักกว่า 630 กิโลกรัม ลูกอุกาบาตซึ่งอยู่ข้างใน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าคงมีมวลเหลือไม่เกินร้อยละ 10 ของมวลเดิมซึ่งส่วนใหญ่ลุกไหม้ขณะกำลังตกสู่พื้นโลก