หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ย้อนประวัติศาสตร์ น้ำท่วมกรุงเทพ ครั้งใหญ่ พ.ศ.2485

โพสท์โดย หลิวอี้เฟย

น้ำท่วมกรุงเทพ

ระยะหลังๆมานี้ พื้นที่ กรุงเทพมหานคร จะได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมขัง ถี่ขึ้นแต่ความจริงแล้วกรุงเทพฯ เคยประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่มาแล้วหลายครั้ง ซึ่ง 1 ในบรรดาเหตุการณ์ น้ำท่วมกรุงเทพ ที่เรียกได้ว่าเลวร้ายที่สุด ตราตรึงใจประชาชนชาวไทยมายาวนานนั่นก็คือเหตุการณ์ น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485

น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2485 ครั้งนั้น เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อครั้งที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี น้ำได้ท่วมตามสถานที่สำคัญต่างๆ ในกรุงเทพฯ เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม

สถานการณ์ตอนนั้นน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง และทางภาคอีสานและภาคใต้ ซึ่งถือว่าเป็นปีหนึ่งที่มีน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์

น้ำท่วมกรุงเทพ

สำหรับกรุงเทพฯ เมืองที่มีชัยภูมิเอื้อต่อการถูกน้ำท่วม แน่นอนว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2485 ได้เปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร (ของคนยุคนั้น) ให้กลายเป็นทะเล (น้ำจืด) ขนาดใหญ่ ที่ในหลายๆ พื้นที่มีคนนำเรือออกมาพายกันเป็นทิวแถว

ในขณะที่เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2485 สร้างความเดือดร้อนและความยากลำบากให้กับประชาชนทั่วไป แต่ว่าส่วนใหญ่ก็เป็นความยากลำบากทุกข์ใจที่เกิดขึ้นในหมู่ผู้ใหญ่ แต่ว่ากับเด็กๆ (ในยุคนั้น) หลายๆ คนกับรู้สึกแตกต่าง เพราะเมื่อนานๆ เข้าน้ำจะท่วมสูงถึงระดับที่สามารถลงแหวกว่ายและพายเรือได้ พวกเขาจึงใช้ช่วงเวลานี้เล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน

ความรุนแรงของ น้ำท่วมกรุงเทพ ในสมัยนั้นทำให้จ้องจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกันเลยทีเดียว โดยบันทึกไว้ในหนังสือ “เหตุการน์น้ำท่วม พ.ส.2485″ ของ กระซวงมหาดไทย (ภาษาที่ใช้เป็นภาษาตามต้นฉบับของหนังสือ ซึ่งเป็นภาษาไทยที่ใช้กันในสมัยนั้น) มีใจความที่น่าสนใจว่า

“…ด้วยปรากตว่า ฝนตอนต้นรึดูพุทธสักราช 2485 ตกมากทางภาคพายัพและภาคอิสาน เปนเหตไห้น้ำท่วมเรือกสวนไร่นา และบ้านเรือนราสดรทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอิสาน ไนระหว่างเดือนกันยายน ตุลาคม และพรึสจิกายน เปนอุทกภัยครั้งสำคันไนประวัติการน์น้ำท่วมของเมืองไทยที่ทำความเสียหายไห้แก่ประชาชนพลเมืองเปนหย่างมาก…”

คลิป น้ำท่วมกรุงเทพ พ.ศ.2485

ข้อมูลจาก หนังสือ “เหตุการณ์น้ำท่วม พ.ศ.2485″ ของ “กระทรวงมหาดไทย” และจาก “ข้อมูลสถิติน้ำท่วมสำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานคร” พบว่า สาเหตุที่กรุงเทพฯ ต้องเจอปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เพราะสภาพภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบลุ่มตอนปลายอ่าวไทย ด้วยเหตุนี้กรุงเทพฯ ในอดีตจึงมากไปด้วยคูคลอง จนได้รับการเรียกขานกันว่าเป็น “เวนิชตะวันออก”

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน เกิดขึ้นหลายครั้ง

1.น้ำท่วม ปีมะเส็ง ปี 2328 ในรัชกาลที่ 1 ปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จ ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว

2.น้ำท่วม เดือนตุลาคม ปี 2362 ในรัชกาลที่ 2 ข้าวยากหมากแพงเหมือนครั้งแรก

3.น้ำท่วม เดือนพฤศจิกายน ปี 2374 ในรัชกาลที่ 3 ท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

4.น้ำท่วม ปี 2460 ในรัชกาลที่ 6 น้ำท่วมลานพระบรมรูปทรงม้า จนมีกิจกรรมการแข่งเรือ

5.น้ำท่วม ปี 2485 เริ่มท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน 2485 น้ำท่วมมากกว่าปี 2460 เกือบเท่าตัว เนื่องจากฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่ง วัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

6.น้ำท่วม ปี 2518 พายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพฯ

7.น้ำท่วม ปี 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูกคือ “เบส” และ “คิท” พาดผ่าน และมีน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักในปริมาณมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ

8.น้ำท่วม พ.ศ. 2523 เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับ สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

9.น้ำท่วม ปี 2526 น้ำท่วมรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลางช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ช่วงเดือนตุลาคม วัดปริมาณฝนทั้งปี 2119 มม. มีปัญหาจราจรที่รถกับเรือใช้เส้นทางเดียวกัน ทำให้กรุงเทพฯต้องตกอยู่ในสภาพนํ้าท่วมสูงกว่า1 เมตรนานหลายเดือน

10.น้ำท่วม พ.ศ. 2529 ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่

11.น้ำท่วม ปี 2533 ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน “อีรา” และ “โลล่า” พัดผ่านภาคอีสาน ทำให้ฝนตกหนักในกรุงเทพฯถึง 617 มม.

12.น้ำท่วม ปี 2537 เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑลเมื่อ 7-8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนมากที่สุดที่เขตยานนาวา 457.6 มม. โดยเฉลี่ยทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกกันว่า “ฝนพันปี” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนทั่วกรุงเทพมหานคร

13.น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ “โอลิส” ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 – 100 ซ.ม.

14.นํ้าท่วมปี 2549 เกิดอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี และปทุมธานี รวมประมาณ 1.38 ล้านไร่ ต่อมาจังหวัดดังกล่าวไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 เมตร นานกว่าสัปดาห์

15.นํ้าท่วมปี 2554 นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย พายุหมุนนกเตนขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำโขง เริ่มตั้งแต่ 25 กรกฎาคมและสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 กินเวลาทั้งสิ้น 175 วัน มีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และจัดให้เป็นภัยพิบัติครั้งมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก

ภาพจาก manager

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
หลิวอี้เฟย's profile


โพสท์โดย: หลิวอี้เฟย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: Trapped, vho, sorjed, โหดสัส ส้มจี๊ด
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ขนลุก! ชฎาหลุด "โอปอล" พรีเซ้นท์ชุดประจำชาติ บนเวที Miss Universe 2024ศาลสั่งห้ามพี่สาวเข้าห้องน้องชาย เพื่อทำความสะอาดชายถูกกล่าวหาว่าฆ่ๅพ่อ ทั้งที่เขาอ้างว่าไม่ได้ฆ่าจริงๆ แต่รับสารภาพเพราะทนแรงกดดันจาก ตร. ไม่ไหว จึงสารภาพชายออสเตรเลีย ฟื้นคืนชีพ หลังหัวใจหยุดเต้น 90 นาที กลับมาเล่าถึงโลกหลังความตๅยชาวอาข่า เปิดใจ ทั้งน้ำตา เผยสาเหตุทำไมฆ่ๅหมา สารภาพกินเนื้อหมาจริงย้อนคำทำนาย "หมอปลาย" เคยเตือนเรื่องชฎา ก่อนเหตุการณ์หลุดกลางเวที Miss Universe 2024ราคาทองร่วงหนัก10 อันดับเลข ยอดฮิต หวยแม่จำเนียร 16/11/67ไมค์ ไทสัน ตบ เจค พอล ก่อนขึ้นเวทีชกจริงดาเรีย เชฟรุก เผยเส้นทางรักสุดโรแมนติกกับ "อ๋อม อรรคพันธ์" จากคำทำนายพระสู่วันแต่งงานพระคัมภีร์ไบเบิล ที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดจากเอธิโอเปียร้อนรนทนนิ่งไม่ไหว !! "เจ๊พัช" ขอโทษ “รัฐมนตรีน้ำ” ปมคลิปเสียงหลุด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวอาข่า เปิดใจ ทั้งน้ำตา เผยสาเหตุทำไมฆ่ๅหมา สารภาพกินเนื้อหมาจริงจับแล้วสิบเอก ขโมยไม้พยุงสกลนคร พบเกลือเป็นหนอนรมว.ต่างประเทศอินเดีย เรียกร้องให้อิสราเอลหยุดยิง ในฉนวนกาซา"ใหม่ ดาวิกา" พบทนาย ฟ้องเกรียนคีย์บอร์ด ลั่นนำเงินช่วยเหลือสัตว์แหนแดงคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
แหนแดงคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?พระคัมภีร์ไบเบิล ที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดจากเอธิโอเปียชนเผ่า Mursi แห่งหุบเขาโอมาน เอธิโอเปีย: วิถีชีวิตและสัญลักษณ์อันโดดเด่นของจานรองปากโครงกระดูกกระเบน: ความงามแห่งโครงสร้างธรรมชาติที่ชวนหลงใหล
ตั้งกระทู้ใหม่