พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่อง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไว่ว่าอย่างไร
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ )
ชาติปิ ทุกขา ( แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ )
ชะราปิ ทุกขา ( แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ )
มะระณัมปิ ทุกขัง ( แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ )
โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
( แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ )
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ( ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
( มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ )
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
( ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ )
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ )
ยายัง ตัณหา ( ความทะยานอยากนี้ใด )
โปโนพภะวิกา ( ทำให้มีภพอีก )
นันทิราคะสะหะคะตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอนาจความเพลิดเพลิน )
ตัตระ ตัตราภินันทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ )
กามะตัณหา ( ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ )
ภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น )
วิภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น )
..............................................................
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ
ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะ ภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน? คือ อายตนะคือตา หู จมูก ลิ้น กาย อายตนะคือใจ นี้เรียก ว่า ทุกขอริยสัจ.
[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.
[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่ง ตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกข นิโรธอริยสัจ.
[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้
ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
(ไทย)มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๓/๑๖๘๔-๑๖๘๙.คลิกดูพระสูตร
(บาลี)มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๕/๑๖๘๔-๑๖๘๙.คลิกดูพระสูตร
..................................................................................................................................................................
ขยายรายละเอียด
ตัณหา คือ เหตุให้เกิดทุกข์มี ๓ อย่างคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตันหา
1. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา คืออะไร?
ตอบ : กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา คือ "ทุกขสมุทัย" รวมเรียกว่า "ตัณหา 3" ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทุกข์เกิด มีรายละเอียดย่อ ๆ ดังนี้
1.1 กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกาม เช่น การตอบสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5
1.2 ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในภพ เช่น อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อยากได้อยากมี
1.3 วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในวิภพ เช่น ไม่อยากเป็นนั่น ไม่อยากเป็นนี่ อยากดับสูญ ฯลฯ
2. หากเกิดขึ้นแล้วจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง?
ตอบ : หากเกิดขึ้นแล้วจะต้องแก้ไขโดยใช้ "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นั้น ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค ซึ่งเป็นมรรคที่มีองค์ 8 โดยสรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
2.1 เมื่อตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งกำลังจะเกิด ผู้ที่ปฎิบัติฝึกจิตมา จะตามรู้เท่าทันว่าตัณหาราคะหรืออารมณ์นั้นๆกำลังจะเกิด เขาเหล่านั้นจะรีบดับลง (ละความเพลินนั้นเสีย) ไม่ปล่อยให้เกิด ดังนั้นเมื่อตัดอารมณ์นั้นได้ก็เท่ากับ ดับ การเกิดของภพใหม่ ภพใหม่ไม่มี การเกิด แก่ ตาย ก็ไม่มีตามมา ดังนั้นอย่าปล่อยให้เกิดแล้วจะแก้ยาก
[๓๒๙]
สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือ
กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้แล.
[๓๓๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อยา่ งนี้แล อริยมรรคอันประกอบดว้ ย
องค์ ๘ เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ยอ่ มเจริญอริยมรรคอันประกอบดว้ ยองค ์ ๘ นี้ เพื่อรูยิ้่ง เพื่อกำหนดรู เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล.