Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สาระน่ารู้ ตอน เวียงเจ็ดลิน เมืองโบราณยุคเมโสโปเตเมีย (อ่านเพลินๆ)

เนื้อหาโดย นางพญาบูเช็กเทียน

เมื่อประมาณปี2555 ได้มีข่าวการค้นพบกำแพงเมืองโบราณและแผ่นจารึกอักษรที่คาดว่าจะอยู่ในยุคเมโสโปเตเมีย

จขกท. อยากจะเอามาเล่าสู่กันฟังใหม่อีกครั้งเพื่อนเป็นแรงสนับสนุนการค้นคว้าและวิจัย

 

ก่อนอื่นเรามาศึกษาประวัติและตำนานเล่าขานของเวียงเจ็ดลินกันก่อนเลย

 

“เวียงเจ็ดลิน” บริเวณพื้นที่เชิงดอยสุเทพ ที่มีลักษณะเป็นเขตคันดินและคูน้ำก่อขึ้นเป็นวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร 

รูปภาพจาก Googlemap (พยายามทำเส้นประให้เป็นนวงกลมสุดๆแล้ว  )

 

จากหลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเวียงเจ็ดลิน ที่รวบรวมโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ ระบุว่า เวียงเจ็ดลิน ที่ปรากฏหลักฐานขอบเขตคันดินรูปกลม 2 ชั้น ระหว่างคูน้ำบริเวณเชิงดอยสุเทพ (ด้านทิศตะวันออก) นั้น แม้ในระยะประวัติศาสตร์ล้านนา หลักฐานด้านเอกสารได้กล่าวถึงชื่อเวียงเจ็ดลิน ในรัชกาลพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ. 1945 – 1985) คราวศึกจากเมืองสุโขทัย (พระเจ้าไสลือไท) ยกทัพมาประชิดเมืองเชียงใหม่ จากการที่เจ้ายี่กุมกามผู้เป็นพี่พญาสามฝั่งแกน ได้ขอกำลังพลมาช่วยตีเมืองเชียงใหม่หวังได้ขึ้นครองราชย์ ที่ต่อมาเกิดการประลองฝีมือทหารแทนการต่อสู้ทำสงครามกัน ปรากฏฝ่ายเชียงใหม่สามารถประลองได้รับชัยชนะ ทำให้ฝ่ายสุโขทัยถอยกำลังออกไปตั้งค่ายพักกำลังพลอยู่ที่ดอยเจ็ดลิน พร้อมได้ขึ้นสรงดำเศียร (อาบน้ำ-สระผม) ที่ดอยผาลาดก่อนการยกทัพกลับสุโขทัย

เมื่อสุโขทัยยกกำลังพลกลับไปแล้ว พญาสามฝั่งแกนได้ถือเอานิมิตที่พระเจ้าไสลือไทขึ้นไปสรงน้ำ ณ ดอยผาลาดแล้วเกิดมีใจครั่นคร้ามจนเลิกทัพกลับไปนั้น เป็นสาเหตุทำให้สถาปนาเวียงเจ็ดลินขึ้นที่บริเวณดอยเจ็ดลิน ซึ่งจากเรื่องราวและเหตุการณ์ดังกล่าว พิจารณาว่าคือตำแหน่งที่ตั้งเวียงเจ็ดลินในปัจจุบัน ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกระยะทางเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ดังนั้น ความเป็นเวียงหรือชุมชนที่มีความเจริญในสมัยประวัติศาสตร์ของล้านนา ก็ได้เริ่มต้นขึ้นที่เวียงเจ็ดลินอีกครั้งตั้งแต่รัชกาลพญาสามฝั่งแกน หรือราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา

ความน่าสนใจและเด่นชัดของเวียงเจ็ดลินคือ การสร้างขอบเขตคู-คันดินที่มีลักษณะกลมนั้น จัดเป็นรูปแบบผังเมืองที่แปลกหรือพิเศษกว่าชุมชนโบราณแห่งอื่น ๆ ที่สามารถพิจารณากำหนดอายุสมัยได้ทั้งในรุ่นเก่าก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 หรือรุ่นพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา หรืออาจเป็นรูปแบบที่ทำสืบเนื่องกันมา การสร้างขอบเขตคู คันดินในระยะแรก ๆ นั้น เป็นไปได้ว่าเป็นการสร้างแนวป้องกันน้ำจากกรณีน้ำหลากท่วมขังในฤดูฝน อันจะเป็นอันตรายหรือก่อเกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรและบ้านเรือนอยู่อาศัย รวมถึงการได้ใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง ที่โดยมากลักษณะเขตคันดินจะวางตามแนวภูมิประเทศ เช่นยาวขนานไปตามลำแม่น้ำ หรือเป็นรูปวงรีตามขอบชายเนิน หรือรูปแบบคดโค้งตามลักษณะภูมิประเทศแบบอื่น ๆ โดยไม่จัดอยู่ในแบบรูปทรงเราขาคณิตใด ๆ อันเป็นรูปแบบคู-คันดินชุมชนโบราณในเขตล้านนาโดยทั่วไป ที่พิจารณาว่าได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนล้านนา ซึ่งแตกต่างกับรูปแบบเวียงพระธาตุ ในระยะที่ล้านนารับเอาอิทธิพลพุทธศาสนาแล้ว ที่มีผังการก่อสร้างตามคติจักรวา (Cosmology) หรือมณฑล (Mandala) ที่สร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญไว้ตรงจุดศูนย์กลาง

ด้านขวาเป็นมหาวิทยลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา

 

และเมื่อ วันที่ 12 ก.พ. น.ส.อิสรา กันแตง อาจารย์ประจำสาขาสถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วยนายพูนทรัพย์ วงศาศุกลปักษ์ นักวิชาการอิสระ นำคณะสื่อมวลชนตรวจสอบพื้นที่โดยรอบสวนสัตว์เชียงใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาถึงความเป็นมาของเมืองโบราณเวียงเจ็ดลิน พร้อมเปิดเผยถึงการค้นพบแนวกำแพงหินโบราณที่คาดว่าจะมีอายุยาวนานถึงหมื่นปีและแผ่นจารึกดินเหนียวอักษรรูปลิ่มโบราณอายุราว 8,000-15,000 ปี ซึ่งเป็นการค้นพบเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

 

นางอิศรา เปิดเผยว่า ในทางผังเมืองเวียงเจ็ดลินเป็นหนึ่งในเวียงหรือเมืองโบราณที่อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพในยุคร่วมสมัยกับเมืองเชียงใหม่ แต่จากการค้นพบเครื่องมือหินทำให้ทางโบราณคดีเชื่อกันว่าเวียงเจ็ดลินจะมีอยู่ก่อนเมืองเชียงใหม่ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของเวียงเจ็ดลิน โดยในปี 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กลุ่มนักวิชาการและหน่วยงานในบริเวณพื้นที่เวียงเจ็ดลินได้รวมตัวกันเพื่อศึกษาค้นคว้าเพื่อฟื้นเวียงเจ็ดลินให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเช่นเดียวกับเวียงกุมกาม ขณะที่ล่าสุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้นำโครงการฟื้นฟูเวียงเจ็ดลินเข้า ที่ประชุม ครม. เมื่อครั้งประชุม ครม.สัญจรที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่ง ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ ล่าสุดกำลังเสนอไปยังกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อขอรับการสนับสนุน

ด้านนายพูนทรัพย์ อธิบายว่า จากการศึกษาในช่วงที่ผ่านมาพบว่าเวียงเจ็ดลินมีลักษณะพื้นที่เป็นวงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร ซึ่งมีถนนห้วยแก้วในปัจจุบันตัดผ่าน ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมาได้ค้บพบแนวกำแพงหินโบราณเป็นวงกลมเรขาคณิตครอบทับวงกลมเดิมของเวียงเจ็ดลินอีกชั้นหนึ่งโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางครอบทับวงกลมเดิมราว 1,800 เมตร แนวกำแพงหินโบราณนี้คาดว่าจะมีอายุประมาณ 10,000 ปี ย้อนไปในยุคเมโสโปเตเมีย

นอกจากนี้ยังค้นพบแผ่นจารึกอักษรรูปลิ่มโบราณบริเวณริมห้วยน้ำริน บริเวณเจดีย์ร้างเชิงดอยสุเทพ ซึ่งหลังจากผ่านการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีอายุราว 8,000-15,000 ปี อักษรที่จารึกในแผ่นดินเหนียวสามารถเทียบเตียงได้กับอักษรรูปลิ่มหลายตระกูลในยุคเมโสโปเตเมีย

ทั้งนี้จากการถอดรหัสแผ่นจารึกพบว่าเป็นตัวเลขลั๊วโบราณ ระบุตัวเลข 917 และ 1834 ซึ่งเชื่อว่าจะมีความสัมพันธ์กับจุดที่ตั้งของเวียงเล็ดลินกับเมืองเชียงใหม่ที่มีเส้นรุ้งเส้นแวงเอียงเท่ากับแกนโลกหรือ 5 องศา ในเมื่อล้านปีก่อน นอกจากนี้ยังพบว่าเวียงเจ็ดลินมีความพิเศษต่างจากเวียงอื่น ๆ ประเทศไทยและในโลก เนื่องจากมีตาน้ำเป็นจุดศูนย์กลางของเวียง ต่างจากเวียงโบราณอื่น ๆ ที่จะมีศาสนสถานเป็นจุดศูนย์กลาง ขณะเดียวกันเวียงเจ็ดลินยังมีกำแพงล้อมรอบถึง 4 ชั้น โดยที่ไม่มีประตูหรือทางเข้าออกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าพิศวง ซึ่งเชื่อว่าเวียงเจ็ดลินอาจไม่ใช่ที่อยู่ของมนุษย์

นายพูนทรัพย์ กล่าวว่า การค้นพบทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการค้นคว้าหาความเป็นตัวตนของเวียงเจ็ดลินซึ่งหลังจากนี้ข้อมูลการค้นพบและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ผังเมือง จะถูกรวบรวมเพื่อเดินหน้าศึกษาค้นคว้าต่อไป

#ขอบคุณหัวข่าวจาก คม-ชัด-ลึก ค๊าาา 

 

เผื่อบางคนลืมไปว่ายุคเมโสเป็นยังไง ให้นึกถึงนี่เลยค๊า

Ziggurat ซิกกูแรต

รูปซิกกูแรตแห่งเมืองบาบิโลน จากสารคดี บาบิโลน ช่อง7

ตัวอย่างอักษรในยุค เมโสโปเตเมีย จร้า!!

 

ติดตามอ่านกระทู้อ่านเพลินๆ ได้พรุ่งนี้จร้า!!

 
โหวต Poll: (โหวตไม่ลับ)
ติดตามต่อไป และ สนับสนุนการค้นคว้า
28
เฉยๆนะ
0
ดูว่าใครโหวตอะไรบ้าง
หากต้องการโหวต Poll, กรุณา Login เข้าสู่ระบบ ก่อนค่ะ
เนื้อหาโดย: นางพญาบูเช็กเทียน
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
60 VOTES (4/5 จาก 15 คน)
VOTED: ยองยองซอย, taltery, บังไค, mamaprince, Thorsten, Septemberboy, oLuxo, pacific, PMAlone, FORFAME, ginger bread, จอมยุทธอินดี้
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เลขใบเขียว งวด 16 เมษายน 2568เชียงใหม่ พ.ศ. 2497 – ภาพวิถีชีวิตกลางเมือง กับความทรงจำของยุคจักรยาน8 รายการโทรทัศน์ไทยที่ได้รับความนิยม จนต่างชาตินำไปซื้อลิขสิทธิ์ผลิตใหม่ในเวอร์ชันของตนเองวิธีการทำขาหมูพันปี ยูนนาน สูตรโบราณจากแดนจีนที่ควรลิ้มลองสักครั้งในชีวิตสุดอึ้ง! แก๊งเด็ก 5 ขวบรวมกลุ่มกันขโมย จยย.ในพื้นที่กรุงเทพฯเขมรสายเคลมไม่จบ! ล่าสุดลั่นให้ไทยหยุดจัดสงกรานต์ หรือไม่ก็จ่ายมา 25%โตแล้ว…ทำไมยังรู้สึกเหมือนไม่ได้ไปถึงไหน?ทำไมเรียก “โรงพัก” แทน “สถานีตำรวจ”? ย้อนรอยที่มาจากยุครัชกาลที่ 4สงกรานต์เพื่อนบ้านแบบนี้ก็มีด้วย ดูคลิปแล้วอึ้ง - มีแต่แป้ง น้ำไม่มี แถมขบวนรถแค่คันเดียวคุณยายวัย 70 ลุยเดี่ยวดูคอนเสิร์ตลำไย ไหทองคำ ที่สนามหลวง จู่ๆ โดนการ์ดไล่ หลังแค่ขอนั่งพักเพราะปวดขา สาวเข้าไปช่วย บอก “ไม่ต้องกลัวค่ะยาย”อดีตประธานาธิบดีเปรู ถูกสั่งจำคุก 15 ปี ฐานทุจริตจับกุม “กชพร” สาวโบรคเกอร์ของหมอบุญได้แล้ว หลังหลบหนีจากไทยตั้งแต่ ก.ย. 67
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เด็ก 11 ขวบ กลืนทองคำแท่ง ด้วยความอยากรู้ทำไมเรียก “โรงพัก” แทน “สถานีตำรวจ”? ย้อนรอยที่มาจากยุครัชกาลที่ 4สีควันรถยนต์แต่ละประเภทกำลังบ่งบอกถึงอะไรบ้าง?Azealia Banks วิจารณ์การแสดงของลิซ่า BLACKPINK บนเวที Coachella 2025คุณยายวัย 70 ลุยเดี่ยวดูคอนเสิร์ตลำไย ไหทองคำ ที่สนามหลวง จู่ๆ โดนการ์ดไล่ หลังแค่ขอนั่งพักเพราะปวดขา สาวเข้าไปช่วย บอก “ไม่ต้องกลัวค่ะยาย”
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ทำไมเรียก “โรงพัก” แทน “สถานีตำรวจ”? ย้อนรอยที่มาจากยุครัชกาลที่ 4“ใช้เงินยังไง…ให้ไม่เครียดแต่ยังมีความสุข?”เดือน-แคหยุดวัดค่าตัวเองแค่ “ผลงาน”
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง