6 สิ่งมีชีวิตสุดอึด…ที่แม้โลกใบนี้จะเปลี่ยนสภาวะไปยังไง ก็มีชีวิตอยู่รอด!!
The Devil Worm : เจ้าหนอนชนิดนี้คือหนึ่งในสมาชิกของพยาธิตัวกลมที่อาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลกถึง 2.2 ไมล์ พวกมันถูกค้นพบครั้งแรกและระบุสายพันธุ์ในปี 2011 > ระดับความอึดนั้น สามารถทนต่อความเปลี่ยนแปลงความดันอากาศได้สุดขีด สามารถรอดตายจากสภาวะไร้ออกซิเจนและอุณหภูมิทะลุจุดเดือดได้
The Himalayan Jumping Spider : ในการเอาตัวรอดจากอุณหภูมิติดลบส่วนใหญ่ ถ้าไม่ใช้วิธีจำศีลก็ต้องเข้าสู่สภาวะเยือกแข็ง แต่สำหรับแมงมุมกระโดดหิมาลายันแล้ว พวกมันไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้เลยแม้แต่น้อย แม้จะต้องอยู่ในจุดที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4 ไมล์ ที่มีความแกว่งของอุณหภูมิในช่วงกลางวัน และกลางคืนอย่างรุนแรง แถมมีออกซิเจนต่ำอีกต่างหาก และแน่นอนว่าในที่สูงขนาดนี้คงไม่มีเหยื่อให้แมงมุมได้ล่าเป็นอาหารง่ายๆ ลำพังแค่ได้แมลงวันที่โดนลมแรงๆ พัดมาตกสักตัวก็เพียงพอจะให้พวกมันอยู่ได้นานหลายวันแล้ว > ระดับความอึดนั้น อาศัยอยู่ได้ในสภาวะความกดอากาศต่ำ และรอดตายอุณหภูมิติดลบโดยไม่ผ่านสภาวะเยือกแข็ง
The Immortal Jellyfish : ทุกชีวิตบนโลกล้วนมีวันหมดอายุขัย แต่สำหรับแมงมุมน้ำลึกชนิดนี้แล้ว พวกมันมักอยู่ในสภาพอ่อนวันเสมอ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันแก่ไม่เป็นนะ เพียงแต่เมื่อพวกมันรู้ตัวว่าอายุขัยของมันกำลังจะหมดลง เซลล์ต่างๆ ในร่างกายของมันจะเริ่มฟื้นตัวอีกครั้งและทำให้พวกมันสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้เรื่อยๆ โดยที่ไม่มีวันแก่ตาย แต่ความสามารถนี้ใช้เล่นกลได้กับอายุขัยของมันเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้พวกมันรอดตายจากอาการบาดเจ็บทางกายภาพหรือโรคต่างๆ ได้ > ระดับความอึด ไม่มีวันแก่
The Red Flat Bark Beetle : จุดอ่อนอย่างหนึ่งของแมลงเกือบทุกชนิดนั่นคือ พวกมันไม่สามารถอยู่รอดในสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับด้วงชนิดนี้แม้แต่น้อย เพราะพวกมันสามารถใช้ชีวิตตามปกติในอุณหภูมิ -150 องศาเซลเซียสของดินแดนอลาสก้าได้โดยใช้โปรตีนต้านการเยือกแข็งในเลือด และยังมีกรดไขมันที่ช่วยชะลอการเยือกแข็งอีกด้วย > ระดับความอึดคือ ไม่มีวันถูกแช่แข็ง
The Pompeii Worm : คือหนอนทะเลลึกที่ไม่เพียงจะทนความร้อนได้ถึง 80 องศาเซลเซียส แต่พวกมันยังอาศัยอยู่ในปากปล่องน้ำร้อนให้ทะเลที่พ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตลอดอีกด้วย และแม้ว่าอุณหภูมิส่วนหัวที่อยู่นอกปากปล่องจะแตกต่างจากอุณหภูมิส่วนท้ายลำตัวที่อยู่ในปล่อมาก นั่นก็ไม่ทำให้กิจวัตรการล่าเหยื่อของพวกมันลดลงเลย ซึ่งผิวหนังที่เต็มไปด้วยแบคทีเรียจำนวนมากและหนาจนทำให้พวกมันสามารถอยู่ได้ในสถานที่สุดขีดแบบนี้ > ระดับความอึดนั้น ไม่สะท้านต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแบบเฉียบพลัน
The Tardigrade : คงไม่มีใครนึกออกว่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่สามารถอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมสุดขีด ที่อาจมีอุณหภูมิต่ำกว่า -272.8 องศาเซลเซียส หรือสูงถึง 150 องศาเซลเซียส โดยไม่ระคายผิวเลยแม้แต่น้อย ซึ่งนั่นเป็นเรื่องปกติมากสำหรับ Tardigrade หรือ หมีน้ำ เพราะพวกมันนอกจากจะทนต่อความแกว่งของอุณหภูมิได้แบบสุดขั้วแล้ว พวกมันยังทนต่อรังสีได้แบบสุดขีด ซึ่งมากกว่ามนุษย์ถึง 1,000 เท่า แถมพวกมันยังสามารถจำศีลเพื่อเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตได้นานถึง 100 ปีเลยทีเดียว และด้วยขนาดที่เล็กจิ๋วเพียง 0.1 มิลลิเมตร ยังทำให้พวกมันปลอดภัยจากความเสียหายทางกายภาพอีกด้วย หรือต่อให้คุณพยายามจะขยี้มันจริงๆ ร่างกายของหมีน้ำก็ยังยืดหยุ่นได้อย่างน่าเหลือเชื่อ > ระดับความอึดนั้น สามารถรับได้ทุกอย่าง