หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นิ้วล็อค คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกันอาการนิ้วล็อก

โพสท์โดย คันอิ๊บหาย

มือและนิ้วมือของเรานั้นถือเป็นอวัยวะสำคัญที่เราต้องใช้งานทุกวัน แล้วหากอยู่ดีๆ มันเกิดขยับไม่ได้ขึ้นมาล่ะ คุณจะทำอย่างไร มีใครเคยสงสัยบ้างมั้ยคะว่าการที่นิ้วของเราเกิดงอไม่ได้ กระดิกไม่ได้ขึ้นมา แถมตึงและเจ็บมากนั้นเกิดจากอะไร โดยภาวะเช่นนี้มักรู้จักกันดีว่าคืออาการของโรคนิ้วล็อก แต่จะเป็นอย่างไรนั้นลองมาทำความรู้จักกับโรคนิ้วล็อคนี้กัน

นิ้วล็อกคืออะไร
นิ้วล็อก (Trigger finger) คือ อาการของนิ้วมือที่เมื่อกำหรืองอแล้วไม่สามารถเหยียดขึ้นเองได้ จึงเรียกลักษณะอาการเช่นนี้ว่านิ้วล็อก เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุดโรคหนึ่งในคนทั่วไป โดยเฉพาะในคนที่ใช้มือจับสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ บ่อยๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน โรคนิ้วล็อคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อหรืออันตราย แต่เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้วมักจะสร้างความรำคาญใจ เนื่องจากใช้มือได้ไม่ถนัดและเจ็บปวดบริเวณที่เป็น ส่วนใหญ่มักพบในช่วงวัยกลางคนโดยเฉพาะในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (อัตราส่วน 2 : 6) โดยเฉพาะช่วงอายุระหว่าง 40 – 50 ปี

ลักษณะการเกิดอาการนิ้วล็อก

สาเหตุของโรคนิ้วล็อก
สาเหตุนั้นมักเกิดจากผู้ที่ใช้งานมือในท่าซ้ำๆ มากเกินไป เช่น หิ้วของหนัก การทำงานบ้าน ทำสวน ขุดดิน เล่นดนตรีอย่างไวโอลิน เล่นกอล์ฟ เทนนิส หรือพิมพ์งาน รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวาน โรคข้อรูมาตอยด์ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้เกิดภาวะนิ้วล็อคได้ทั้งสิ้น

โดยเมื่อเราใช้งานนิ้วมือเช่นนี้บ่อยๆ เข้า จะทำให้เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นของการงอข้อนิ้วมือเกิดการอักเสบ ทำให้เส้นเอ็นมีการหนาตัวขึ้นติดขัดในการเคลื่อนไหวเมื่อทำการเหยียดนิ้ว ยิ่งเมื่อพยายามออกแรงต้านมากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงยิ่งขึ้น

อาการของผู้ที่เป็นนิ้วล็อค
สำหรับผู้ที่เป็นนิ้วล็อกขั้นแรกจะเริ่มรู้สึกเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือก่อน ต่อมารู้สึกนิ้วขัดไม่ถนัดติดขัดเวลากำมือแต่สักพักก็จะสามารถเหยียดออกได้เอง และในบางคนก็อาจได้ยินเสียงกิ๊กเมื่องอนิ้วมือแล้วเหยียด ต่อมามักจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างหนึ่งช่วยเหยียดออกแทน และเมื่อเป็นหนักโดยไม่ทำการรักษาสุดท้ายนิ้วมือจะติดแข็งล็อคอยู่ในท่างอไม่สามารถเหยียดออกได้


การรักษานิ้วล็อกในเบื้องต้น

- พยายามอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับนิ้วมือ จะทำให้เส้นเอ็นไม่เกิดการอักเสบหรือบวมมากขึ้น
- แช่น้ำอุ่นจัดๆ ในช่วงเช้า และบริหารกล้ามเนื้อมือเบาๆ โดยการกำมือในน้ำสักครู่
- ใช้ฟองน้ำหรือผ้านุ่มๆ พันรอบข้อมือขณะจับสิ่งของเพื่อลดแรงเสียดสีลง

การรักษานิ้วล็อกกับแพทย์
- ขั้นแรกอาจให้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ก่อนเพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ
- มีการทำกายภาพบำบัดที่นิ้วมือและข้อมือ
- ฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณเส้นเอ็นที่อักเสบ โดยมากมักจะได้ผลในกรณีที่เกิดอาการใหม่ๆ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุด
- ใช้เครื่องมือแพทย์ทำการสะกิดพังผืดที่หนาตัวออกโดยใช้ยาชาและเจาะรูเล็กๆ บริเวณข้อมือที่เป็น
- หากรักษาในเบื้องต้นเหล่านี้ไม่หายแพทย์ก็จะทำการผ่าตัด เพื่อตัดปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวและรัดเส้นเอ็นอยู่ ใช้เวลาประมาณ 10 – 14 วันในการรักษาแผลผ่าตัด

การป้องกันโรคนิ้วล็อก
สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดนิ้วล็อกนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้มือหยิบจับสิ่งของหรือหิ้วของหนักๆ บ่อยๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจใช้เครื่องทุ่นแรงอย่างรถเข็นช่วย หรือการซักผ้าก็อาจใช้เครื่องซักผ้าแทนนิ้วมือ หรือการสวมถุงมือเพื่อลดแรงเสียดสีเวลาทำงานบ้านต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ควรพักผ่อนนิ้วมือโดยการหมั่นบริหารนิ้วมือบ้างในยามว่างด้วยตนเอง เช่นการนวดหรือกำมือ-แบมือแบบหลวมๆ ก็เป็นวิธีการป้องกันการเกิดนิ้วล็อคได้อย่างหนึ่งด้วยตนเอง

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
คันอิ๊บหาย's profile


โพสท์โดย: คันอิ๊บหาย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
VOTED: ข้าวโพดคั่ว, Asuka, ด๊วกกระซวกดาก, ดีเจ ซูกัส, ใจมด
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เกาหลีใต้ส่ายหน้า การท่องเที่ยวขาดดุลหนัก แม้ K-Culture จะปังไปทั่วโลกไทยแลนด์ปังสุด คว้าอันดับ 1 ประเทศน่าเที่ยวแห่งปี 2024 พร้อมเหตุผลที่ฝรั่งหลงรักวิชาลงทุน โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์
ตั้งกระทู้ใหม่