คนเลี้ยงโคถามพระพุทธเจ้าว่า มานั่งกลางป่า เจอทั้งลม ฝน แดด ร้อน หนาวนี้มีความสุขตรงไหน
พระพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่กลางป่า ช่วงปลายฝน ต้นหนาว มีชายคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพ เป็นคนเลี้ยงโค (นายโคบาล) ได้มาพบเข้ากับพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่ทราบว่าเป็น พระพุทธองค์ จึงเข้าไปถามว่า
ขอโทษขอรับ ท่านเป็นใคร
พระพุทธเจ้า ทรงตรัสตอบว่า "เรา ตถาคต"
นายโคบาล ตกใจ บอกว่า "พระองค์มานั่งอยู่กลางป่าได้อย่างไร พระองค์มีความสุขไหม"
พระพุทธองค์ จึงทรงตรัสตอบว่า "เธอรู้ไหม ในบรรดาคนที่มีความสุขที่สุดในโลก ฉันเป็นหนึ่งในนั้น"
นายโคบาลได้ยินพระดำรัสเช่นนั้น ถึงกับตัวชาและมีความปิติ ด้วยอำนาจของพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า "เธอกำลัง ทำอะไร"
กระหม่อมฉัน "ตามหาวัว 16 ตัว ขอรับ"
แล้วตอนนี้ วัว อยู่ไหน
วัวหาย ทั้งหมดเลยขอรับ
เธอ คิดว่าฉันมีวัวไหม
ไม่มี ขอรับ
คน ไม่มีวัวอย่างฉัน มีโอกาสทุกข์เพราะไม่มีวัวไหม
ไม่มี ขอรับ
เห็นไหมว่า คนมีวัว ทุกข์เพราะวัว คนไม่มีวัว ก็ไม่ทุกข์
พระพุทธเจ้า ตรัสถามต่อ
ในเมืองนี้ ใครมีอำนาจ มีเงินทองมากที่สุด
พระเจ้าพิมพิสาร ขอรับ
พระเจ้าพิมพิสาร มีอำนาจเงินทองที่สุดในเมือง มานั่งเล่นกลางป่าอย่างฉัน ได้ไหม
ไม่ได้ ขอรับ
ก็มีอำนาจ เงินทองขนาดนั้น ทำไมมานั่งเล่นอย่างฉันไม่ได้
ถ้าพระเจ้าพิมพิสาร ออกมานั่งเล่นชายป่า อย่างพระองค์ ก็จะถูกปฏิวัติได้ขอรับ
เห็นไหม ระหว่างฉันกับพระเจ้าพิมพิสาร ใครมีความสุขกว่ากัน
พระพุทธองค์ ขอรับ
พระพุทธศาสนา สอนว่า วิถีแห่งความสุขไม่ได้อยู่ที่ความมี หรือ ความจน อยู่ที่เรา ยินดีในสิ่งที่มี รู้จักพอดีในสิ่งที่ได้ เท่านี้ก็มีความสุขแล้ว
โค 16 ตัว ที่ทุกคนเลี้ยงไว้ มีตั้งแต่ พระราชา เศรษฐี ประชาราษฎร์ทั่วไป พ่อค้า ฯลฯ
พระพุทธเจ้าไม่มี พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มี พระอรหันต์ไม่มี
พระอนาคา พระสกิทาคา พระโสดาบัน มีน้อย
ปุถุชนทั่วไปมีมากหนาแน่น ... เรียกว่า # อุปกิเลส 16
อุปกิเลส (อ่านว่า อุปะกิเหลด) แปลว่า ธรรมชาติที่ทำให้ใจเศร้าหมอง, เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้ ทำให้ใจเสื่อมทราม กล่าวโดยรวมก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง
อุปกิเลส แสดงไว้ 16 ประการ คือ
ความเพ่งเล็งอยากได้ไม่เลือกที่
ความพยาบาท
ความโกรธ
ความผูกเจ็บใจ
ความลบหลู่บุญคุณ
ความตีเสมอ
ความริษยา
ความตระหนี่
ความเจ้าเล่ห์
ความโอ้อวด
ความหัวดื้อถือรั้น
ความแข่งดี
ความถือตัว
ความดูหมิ่น
ความมัวเมา
ความประมาทเลินเล่อ
ดังนี้แล
Aor Arted