อย่าลืมนัดของชาวพุทธ วันโกน-วันพระ ต้องสละกิเลสและทำบุญเพื่อตัวเองและผู้ตาย
ชายไทยหลังจากการโกนผมเพื่อบวชเป็นพระสงฆ์แล้ว ยังต้องมีการโกนผมทุกเดือนอีกด้วย
ประวัติวันโกน วันพระ
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ
พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ ( สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย )
วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
วันขึ้น 8 ค่ำ
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ
วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
ส่วนคำว่าวันโกนนั้น ก็คงจะถือเอาว่า พระสงฆ์ท่านจะปลงผม ในวันก่อน วันพระ พอวันขึ้น 14 ค่ำ พระท่านก็ปลงผม ชาวบ้านก็ถือเอาว่าวันนี้เป็นวันโกน แต่การที่จะระบุให้ชัดลงไปว่าพระท่านจะปลงผมวันไหนแน่นอนนั้น ก็ไม่สามารถระบุได้ตรงๆ
ในพระวินัยนั้นไม่ได้ระบุว่า พระสงฆ์ท่านจะต้องมาปลงผมในวันนั้นวันนี้ แต่ระบุว่าไม่ควรให้ผมยาวเกิน 2 นิ้ว ทีนี้พอผ่านไปได้สัก 1 เดือน ผมก็ยาวพอ สมควร ทีนี้ถ้าแต่ละรูปจะปลงผมกันแบบตัวใครตัวมัน ทำนองว่า รูปนั้นเห็นว่าผมยาวพอสมควรแล้ว ก็ปลง รูปนี้ก็เห็นว่า ยังไม่ยาวนัก เอาไว้ค่อยปลงวันหลัง เวลามาทำสังฆกรรมร่วมกัน ก็จะดูแปลกๆกันไป ไม่ค่อยเข้ากัน อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ จึงได้มีการกำหนดให้วันใดวันหนึ่ง เป็นวันสำหรับปลงผม พระในวัดท่านก็จะปลงผมในวันนั้น เมื่อถึงวันต่อมา ก็เป็นวันทำอุโบสถ สังฆกรรม จะได้เป็นรูปแบบเหมือนๆกัน
ดังนั้นจึงกำหนดเป็น
วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ 1 วัน วันพระ คือ วันขึ้น 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือวันแรม 14 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)
ทั้งนี้ ชาวพุทธเชื่อกันว่า ในวันโกนนี้ คือวันที่วิญญาณทุกอย่างมีอำนาจสูงสุด บางที่เรียกวันโกนว่า วันปล่อยผี คือทำในวันโกนเขาจะได้รับเต็มๆ และหลังพระอาทิตตกดินเป็นเวลาที่เขามีอำนาจสูงสุดเช่นกัน อีกอย่าง ถ้าวันพระเทพทั้งหลายเช่นพระภูมิเจ้าที่ กุมารทอง นางกวักท่านต้องไปสวรรค์เวลาจะไว้รึบนบานให้ทำเวลา 1 ทุ่ม- 3 ทุ่ม เกินจากนี้ท่านต้องพักผ่อน
สิ่งที่ปฏิบัติในวันโกน วันพระ
1. พระสงฆ์
ทีนี้ในเมื่อมีวันบำเพ็ญกุศลหลัก ในวันอุโบสถ มีการประชุมสงฆ์ มีการแสดงธรรมแก่คฤหัสถ์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงเล็งเห็นว่า พระภิกษุทั้งหลายที้ได้มาประชุมกัน หากได้มีการนำเอาพุทธบัญญัติที่พระองค์ทรงบัญญัติ สำหรับพระภิกษุสงฆ์ มาสวด มาสาธยาย ทบทวน ซักซ้อมกันแล้ว ก็น่าจะเป็นการดี จึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ มีการกระทำปาฏิโมกข์ สาธยาย พระพุทธบัญญัติกัน ทุกๆกึ่งเดือน
2. ฆราวาส
สำหรับในประเทศไทยของเรานั้น แต่ก่อน วันโกน - วันพระ หรือวันอุโบสถ ก็จะเป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชน ชาวบ้าน หรือเด็กนักเรียน ได้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อเข้าวัด บำเพ็ญกุศลพิธีต่างๆ แต่ต่อมา ธรรมเนียมการหยุดในวันโกน - วันพระ นี้ ก็ถูกยกเลิกไป มาเป็นการหยุดในวันเสาร์ - อาทิตย์ แทน
เมื่อถึง วันพระ หรือ วันอุโบสถ วันธรรมสวนะ ชาวพุทธก็จะเข้าวัด เพื่อฟังธรรม บำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา เพื่อก่อให้เกิดบุญ พัฒนาบุญของตน ได้เสริมธรรม เสริมปัญญา จากการที่ได้ฟังธรรมจากพระสงฆ์ ประกอบกับบางท่าน ก็ได้พัฒนาการบำเพ็ญศีล ของตน จากศีล ๕ ที่ถือปฏิบัติกันเป็นประจำ ก็ถืออุโบสถศีล หรือ ศีล ๘ เพื่อพัฒนาสภาพจิตใจของตนเอง ให้สูงขึ้น
อย่าลืมไปทำบุญกันเยอะๆ นะโยม