รัสเซียแถลงเรืองการพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบิน Shtorm supercarrier
รัสซียกำลังพัฒนาเรือบรรทุกเครืองบินแบบใหม่ ที่พัฒนาโดยสำนักออกแบบ Krylov State Research Center (KSRC) ในโครงการ Project 23000E Shtorm supercarrier ที่จะมีกำหนเปิดตัว พร้อมจัดแสดงแบบจำลองเป็นครั้งแรกที่งาน International Maritime Defence Show 2015 ที่ มหานคร เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ในวันที่ 1-5 ก.ค. ที่จะถึงนี้
ณ.สำนักออกแบบ Krylov State Research Center (KSRC) Valery Polyakov รองผู้อำนวยการ KSRC ได้ให้สัมภาษณ์ กับ Jane's ว่า Project 23000E Shtorm supercarrier คือเรือบรรทุกเครืองบินสมัยใหม่ของกองทัพเรือรัสเซีย
เรือบรรทุกเครื่องบิน Project 23000E Shtorm นั้นเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเอนกประสงค์ ที่ออกแบบมาสำหรับการเป็นฐานบิน และฐานต่อต้านอากาศยานบนมหาสมุทร ที่ห่างไกลจากชายฝั่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกองกำลังทางเรือในมิติทางอากาศ การสถาปนาเขตต่อต้านอากาศยานของข้าศึก
เรือบรรทุกเครื่องบิน Project 23000E Shtorm มีระวางขับน้ำ 90,000-100,000tons ตัวเรือยาว 330เมตร ความกว้างตัวเรือ 40เมตร กินน้ำลึก 11เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 30knots ความเร็วมัธยัสถ์ 20knots ระยะเวลาปฏิบัติการ 120วัน พร้อมลูกเรือ 4,000-5,000 นาย ทนทานต่อระดับคลื่นลมในทะเลที่ sea state 6-7 สำหรับแหล่งพลังงานสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลตามแบบหรือพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
ตัวเรือ รองรับการปฏิบัติการของอากาศยานได้สูงสุด จำนวน 80-90เครื่อง และสามารถเลือกอากาศยานที่จะนำมาประจำการได้หลากหลาย อาทิเช่น เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 PAK FA T-50 รุ่นที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับเรือบรรทุกเครืองบิน( The model features a split air wing comprising navalised T-50 PAKFAs), เครื่องบินขับไล่ MiG-29Ks, ฮ.Ka-27รุ่นใช้งานทางทะเล(Ka-27 naval helicopters) รวมถึงเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศเครื่องยนต์ไอพ่น (as well as jet-powered naval early warning aircraft)
มีจุดดีส่งเครืองบิน สองจุดหลัก และสามารถเลือก ระบบส่งอากาศยานสามารถเลือกได้ว่าจะเป็น Ski-Jump หรือรางดีดส่งแม่เหล็กไฟฟ้า(electromagnetic catapults) หรือติดตั้งทั้งสองระบบ
มีหอบังคับการแฝดคู่ โดยแบ่งเป็น สะพานเดินเรือ และหอบังคับการบิน ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้นั้นได้รับอิธิพลมาจาก เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ของราชนาวีอังกฤษ
ติดตั้งระบบ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ ด้วยระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานไว้ถึง 4ระบบ ด้วยกัน(Protection against air threats will be provided by four anti-aircraft missile system combat modules.) และระบบต่อต้าน Torpedo (An anti-torpedo armament suite )
ติดตั้งระบบสนับสนุนการรบ ระบบตรวจจับ อัจฉริยะ(integrated sensors) multifunction phased array radar ระบบอำนวยการรบ อิเล็คทรอนิกส์ ( electronic warfare system) และระบบสื่อสารแบบบูรณาการ ( communications suite.)
เรือความสามารถปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายที่อยู่ไกลในมหาสมุทร จู่โจมเป้าหมายได้ทั้งในทะเลและบนฝั่ง สามารถปกป้องกองเรือและสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือได้หลากหลายรูปแบบ และสามารถป้องกันตนเองได้เป็นอย่างดี
สุดท้าย Polyakov ได้กล่าวว่า อย่างไรก็ดีคุณสมบัติของเรือขั้นต้น อาจถูกเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของลูกค้า