หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (The Falklands War)

โพสท์โดย BoOoOoM

สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (The Falklands War)

สงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ เริ่มต้นขึ้นเมื่ออาร์เจนตินาส่งทหารเข้ายึดหมู่เกาะฟอล์คแลนด์อันเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศสงครามของอาร์เจนตินาซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ต่อสหราชอาณาจักรประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น โดยอาร์เจนตินาถือว่าหมู่เกาะฟอล์กแลนด์แท้จริงแล้วคือหมู่เกาะมัลบีนัสของตนที่ถูกสหราชอาณาจักรยึดครองมากว่าศตวรรษ

สหราชอาณาจักรเสียเปรียบอาร์เจนตินาเนื่องจากระยะทางที่ไกลหลายพันไมล์

 

ประวัติศาสตร์
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร มีระดับการปกครองตนเองภายในสูง โดยมีรัฐบาลสหราชอาณาจักรรับประกันอธิปไตย รับผิดชอบด้านการป้องกันภัยและการต่างประเทศ เมืองหลวงคือ สแตนลีย์บนเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก ประชากรหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ประเมินอยู่ที่ 2,841 คน ส่วนใหญ่มีเชื้อสายอังกฤษ และชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ฝรั่งเศส ยิบรอลตาร์และสแกนดิเนเวีย การเข้าเมืองจากสหราชอาณาจักร เซนต์เฮเลนา และชิลีทำให้หมู่เกาะมีประชากรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ลดลง ภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษ ภายใต้พระราชบัญญัติสัญชาติอังกฤษ ค.ศ. 1983 ชาวหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นพลเมืองอังกฤษตามกฎหมาย

ทัศนียภาพอันงดงามของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์

ทัศนียภาพอันงดงามของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์

 

ผู้นำในสงคราม

นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กแห่งสหราชอาณาจักร

 

นายพลกัลทิเอรี่ ผู้นำอาร์เจนตินาในขณะนั้น

 

จุดเริ่มต้นของสงคราม
หลังจากนายพลกัลทิเอรี่ ทำการรัฐประหารและเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอาร์เจนตินา ต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนังเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ 110 % ปัญหาการว่างงานและค่าแรงที่ตกต่ำ

กัลทิเอรี่ พยายามอย่างหนักที่จะเบี่ยงแบนความสนใจของประชาชน และปลุกกระแสชาตินิยม ด้วยการเข้ายึด
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ที่เขาคาดว่าสหราชอาณาจักรไม่ให้ความสำคัญ

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1982 นายพลกัลทิเอรี่ ส่งทหาร 50 นาย ไปยังจอร์เจียใต้ ซึ่งเป็นดินแดนในความครอบครองของสหราชอาณาจักร และได้นำธงชาติของอาร์เจนตินาไปปัก อันเป็นประฐมบทของสงครามยาวนาน 74 วัน

การตอบสนองของสหราชอาณาจักร
29 มีนาคม สหราชอาณาจักรส่งเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ชั้น Swiftsure สองลำ พร้อมกับกองเรือช่วยรบ (RAF) ตรงดิ่งสู่พื้นที่พิพาท

เรือดำน้ำ HMS SPLENDID S106  ของราชนาวีหลวงอังกฤษ

เรือดำน้ำ HMS SPARTAN S105  ของราชนาวีหลวงอังกฤษ

กองเรือรบหลวงของราชนาวีอังกฤษ

 

1 เมษายน 1982
คณะรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นำโดยนางมาร์กาเรต แทตเชอร์ และคณะเสนาธิการทหาร โดย พลเรือโท แฮรี่ (ยศในขณะนั้น) ผบ.ทร สหราชอาณาจักรเสนอให้มีการบุกยึดคืนหมู่เกาะฟอล์กแลนด์

Sir Henry Leach ผู้บัญชาการทหารเรือสหราชอาณาจักรในขณะนั้น

2 เมษายน 1982 
อาร์เจนตินาส่งทหารจำนวน 10,000 นาย เข้ายึดหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ โดยพบการต่อต้านเพียงเล็กน้อย

2 เมษายน วันเดียวกัน
มติคณะรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร อนุมัติจัดตั้งกองกำลังในการทำสงครามครั้งนี้

3 เมษายน 1982
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีมติที่502 ประนาม อาร์เจนตินา และเรียกร้องให้อาร์เจนตินาถอนกำลังจากหมู่เกาะฟอล์กแลนด์

4 เมษายน 1982
เรือดำน้ำ HMS Conqueror ออกเดินทางจากสหราชอาณาจักร เตรียมพร้อมสำหรับสงครามอีกทั้งเตรียมเรือบรรทุกเครื่องบินอีกสองลำ ประกอบด้วย HMS Invincible และ HMS Hermes

เรือดำน้ำ HMS CONQUEROR ของราชนาวีหลวงอังกฤษ

 

เรือรบหลวง HMS INVINCIBLE ของราชนาวีหลวงอังกฤษ

 

เรือรบหลวง HMS HERMES ของราชนาวีหลวงอังกฤษ

 

เรือบรรทุกเครื่องบินและหมู่เรือสนับสนุนใช้เวลากว่า 20 วัน จึงมาถึงบริเวณหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ผู้บุกรุกชาวอาเจนติน่ายังไม่ถูกรบกวนใดๆ จนกระทั่งแฮริเออร์เครื่องแรกบินขึ้นจากดาดฟ้าเรือบันทุกเครื่องบินในวันแรก เครื่องแฮริเออร์ ขึ้นบินกว่า 500 เที่ยวบิน โดยจัดหมู่ 8 ลำ บินต่ำเลี่ยงการตรวจจับ ทำลายเส้นทางส่งกำลังบำรุงและปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 5 กระบอกของอาร์เจนตินา

ในวันเดียวกันนั้น กองเรือของอาร์เจนตินาถูกตรวจพบ ขณะกำลังเตรียมเข้าโจมตี นำโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน Veinticinco de Mayo (เรืองธงแห่งกองทัพเรืออาร์เจนตินา) ซึ่งบรรทุกเครื่อง A-4 Skyhawk มาด้วย 8 ลำโชคดีของอังกฤษ ที่วันนั้นสภาพอากาศไม่อำนวยให้สกายฮ๊อกขึ้นบินได้

เรือบรรทุกเครื่องบิน Veinticinco de Mayo ของอาร์เจนตินา

 

เครื่อง SKYHAWK ของอาร์เจนตินา

หมู่เรือของอาร์เจนตินายังประกอบด้วยเรือพิฆาต 2 ลำ ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับที่สหราชอาณาจักรมี และยังติดตั้งอาวุธปล่อยโจมตีเรือ Exocet จำนวน 4 ท่อยิง เป็นไพ่ตายของหมู่เรือของอาร์เจนตินา อยู่ทางเหนือของเกาะ

ถัดลงมาทางใต้ เรือดำน้ำ  HMS Conqueror ตรวจพบหน่วยเรือที่ 3 ของอาร์เจนตินา ฝ่ายสหราชอาณาจักรส่งวิทยุเตือนจะจมเรือรบทุกลำ หากมีท่าทีคุกคาม อาร์เจนติน่าไม่สนยังเดินเรือตามแผนต่อไปเรือดำน้ำ HMS Conqueror ยิงตอปิโด ชุดแรก 4 ลูก เรือ Belgrano เรือนำขบวนของอาร์เจนตินาหมดสภาพการรบ และอีก 4 ลูก เพื่อจม Belgrano เป็นเวลา 45 นาทีเรือก็จมลงอย่างสมบูรณ์ นอนสงบนิ่งใต้ก้นทะเลลูกเรือ 323 ชีวิต ถูกเรืออาร์เจนตินาลำอื่น ช่วยเหลือไปได้

เรือBelgrano ของอาร์เจนตินาถูกตอปิโดของHMS Conqueror ยิงจม

 

2 พฤษพาคม 1982
เรือ HMS Sheffield คือเหยื่อรายแรกของจรวจเอ็กโซเซ่ โดยมันถูกปล่อยจากเครื่องบิน Super Étendard ของอาร์เจนตินา มีผู้เสียชีวิตทันที 20 คน และอีก 24 คนได้รับบาดเจ็บ 

HMS Sheffield ขณะถูกโจมตี

 

เหยือรายที่สองของมัน คือ เรือรบสหราชอาณาจักรลำหนึ่ง โชคดีหรือร้ายไม่รู้ เรือปล่อยเป้าลวงได้ทันเอ็กโซเซ่ เบนเป้าพลาดไป แต่โชคร้าย จรวจดันวิ่งเข้าหาเรือพาณิชย์ที่หสราชอาณาจักรเช่ามาเพื่อเป็นเรือส่งกำลังบำรุง

 

เรือส่งกำลังบำรุงของสหราชอาณาจักรขณะถูกอาร์เจนตินาโจมตี

 

จากการโจมตีครั้งนี้ ทำให้เฮลิคอปเตอร์เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายทหารถูกเอ็กโซเซ่ทำลายทั้งหมด

21 พฤษภาคม สหราชอาณาจักรนำทหาร 3 กองพล ขึนบกที่ San Carlos โดยไร้การต่อต้านเนื่องจากอาร์เจนตินาคิดว่า สหราชอาณาจักรจะยกพลขึ้นบกบริเวณ Stanley เมืองหลวงของเกาะ

หลุมเพาะถูกขุดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งเพื่อเป็นฐานหลักของนาวิกโยธิน ภัยหลักของนาวิกโยธินไม่ใช่ทหารราบ แต่เป็น A-4 Skyhawk ภารกิจคุ้มกันทางอากาศจึงถูกยกหน้าที่ให้ แฮริเออร์มันทำหนาที่ของมันได้เป็นอย่างดีโดยยิงเครื่องอาร์เจนตินาได้ ทั้งสิ้น 24 ลำ โดยใช้ Sidewinder ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ในการจัดการ

การวางหมู่เรือของกองทัพสหราชอาณาจักร
San Carlos คือบริเวณที่วางแนวป้องกันภัยทางอากาศ  มีเนินเขาโอบล้อมทั้งสองด้านเครื่องบินอาร์เจนตินา จำเป็นต้องบินต่ำหลบเลี่ยงการตรวจจับ เข้าโจมตีกองเรือแต่การที่พวกเขาบินต่ำ ทำให้เมื่อปล่อยระเบิด ระเบิดจึงไม่ทำงาน(กองทัพอากาศอาร์เจนตินาสูญเสียเครื่องบิน 13 จาก 60 ลำในเหตุการครั้งนี้)

23 พฤษภาคม

เรือหลวง HMS Antelope ถูกระเบิดลูกหนึ่งจากสิบสองลูกที่ถูกปล่อยโดยเครื่องสกายฮอก เข้ากลางลำ

เรือหลวง HMS Antelope ถูกอาร์เจนตินาโจมตี

 

สงครามทางบก
กองทัพสหราชอาณาจักรแบ่งกำลังทางบกออกเป็นสามเส้นทางให้การเข้าตีเมือง Stanley และใช้ทหารพลร่มเข้าจู่โจมเมือง Goose Green การบุกอันรวดเร็วที่ Goose Green  ประสบผลเป็นอย่างมากปราการด่านหน้าถูกตีแตกอย่างรวดเร็ว การสู้รบติดพันนานถึง 15 วันทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไร้การสนับสนุนทางอากาศในที่สุดสหราชอาณาจักรก็ได้รับชัยชนะในสมรภูมินี้ โดยสหราชอาณาจักรสูญเสียทหาร 55 นาย และ อาร์เจนตินา 16 นาย ทหารอาร์เจนตินายอมวางอาวุธและโดนจับ กว่า 15,000 นาย ในสมรภูมิ Goose Green

30 พฤษภาคม
กำลังทหารบกของสหราชอาณาจักร 5 กองพล ขึ้นฝั่งที่ San Carlos เพื่อป้องกันแนวรบด้านใต้ โดยการมาของทหารบกนี้ถูกคัดค้านโดย ผบ.นาวิกโยธิน โดย ผบ. กลัวกว่าการรบร่วมกับทหารบกจะทำให้เกิดเหตุการร้ายแรงขึ้นได้

เป็นเวลาสองสัปดาห์ ของการเข้าตีสหราชอาณาจักรสามารถยึดจุดยุทรศาสต์ทั้งสามได้ด้วยการระดมยิงปืนครก ขนาด 105 mm ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้ทหารอาร์เจนตินายอมแพ้

ธง Union Jack โบกสะบัดเหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์อีกครั้ง

สุสานของเหล่าทหารกล้าชาวอังกฤษเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก

เศษซากความรุนแรงที่เหลืออยู่

เศษซากความรุงแรงที่เหลืออยู่

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
BoOoOoM's profile


โพสท์โดย: BoOoOoM
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
VOTED: boonb, จืด ณ โพสท์จัง, Lay, BoOoOoM, uoon
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลิลลี่ เหงียน" สวนกลับ "ปู มัณฑนา"..อย่าลืมเอาเงินมาคืนกะxsี่ผู้มีพระคุณด้วยเงินดิจิทัลเฟส 3 คนทั่วไป เงินเข้าเมื่อไหร่ ได้เงินสดไหม วิธีเช็กสถานะทางรัฐอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"หวังเซียนเฉา นักการทูตผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง‘ขนม ศศิกานต์’ เลิก ‘ครูเต้ย อภิวัฒน์’ ทั้งที่เพิ่งคลอดลูก คนที่ 2 จากกันด้วยดี ไม่มีมือที่ 3
ตั้งกระทู้ใหม่