ทำนาวิถีชาวนาพม่า ตามประสาคนจนที่ไม่มีหนี้
พม่าประกาศตนจะกลับมาทวงบันลังก์ผู้นำด้านการส่งออกข้าวเมื่อ 50 ปีที่แล้ว คืนกลับมาเป็นอันดับ 1 ให้ได้ โดยเมื่อปี 2554 นั้นครองตำแหน่งที่ 7 ผลิตข้าวได้ 29 ล้านตัน รองจากไทยและเวียดนาม ประกอบกับการเปิดประเทศหลังจากปิดไปกว่าครึ่งศตวรรษ
+ ชัยภูมิในการผลิตข้าวก็ดี จากตัวเลขปี 2557 พบว่าพม่ามีพื้นที่ปลุกข้าว 47 ล้านไร่ ขณะที่ไทยมี 80 ล้านไร่
+ ลุ่มน้ำอิรวะดีที่สมบูรณ์ทำให้สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2-3 ครั้ง
+ ได้การช่วยเหลือจากอีรี่ ด้านวิจัยข้าวและเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนาสายพันธ์ข้าวผสม เป็นข้าวที่สามารถปลูกได้ตามพื้นที่แตกต่างกัน ทางเหนือที่มีอากาศแห้งแล้ง หรือทางใต้ที่มีฝนตกชุก น้ำท่วมขังตลอดเวลา และข้าว Suanna Subl ที่ทนต่อสภาพน้ำเค็มในแปลงนา โดยตั้งแต่ปี 2508 ถึงปัจจุบัน อีรี่มีพันธ์ข้าวกว่า 69 พันธ์แล้ว ยังไม่รวมเทคโนโลยีต่างๆ ที่อีรี่ร่วมกับประธานธิบดีเต็งเส่ง ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์เกษตรกว่า 400 คนได้ความรู้ เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดต่อยังชาวนา ทั้งนี้ยังรวมมือกับภาคเอกชนหลายองค์กรทำแผนพัฒนานี้เป็นรูปร่างตั้งแต่เดือน ก.ย. 2556
กว่า 80 เปอร์เซนต์ของพื้นที่นาในพม่า เป็นพันธ์ข้าวของอีรี่ จะกลายเป็นข้าวที่ใช้ส่งออกยังทั่วโลก
แต่การทำนาที่พม่านั้นยังไม่ได้นำเครื่องจักรมาใช้แพร่หลายเหมือนไทย จึงทำให้เราเห็นการใช้ควายทำนาดาษดื่น ซึ่งชาวพม่าเองก็ไม่ได้เดือดร้อน ดิ้นรนเป็นหนี้ไปซื้อหาเครื่องจักรยักษ์ใหญ่มาทำนาแต่อย่างใด
มากสุดก็แค่นี้
Photo-Aung Thu Nyein (Eleven Media group)
สจจ.อุบลราชธานี
ที่มาของข้อมูล หนังสืออู่ข้าวอู่น้ำเคหะเกษตร ฉบับเดือนมีนาคม 2557