ไขข้อข้องใจ ทำไม New Vios ชนกับมอเตอร์ไซด์ Honda Dream แล้วถึงยุบเยอะ
จากข่าวนี้ก็มีคนถามกันเยอะมาก แต่คุณ Ex_Machina ได้ตอบไว้ 6 ข้อสำคัญๆคือ
ถาม: ชนมอไซค์คันแค่นี้เองทำไมยุบเยอะจัง
ตอบ: ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าโครงสร้างความปลอดภัยรถยนต์แบ่งเป็นหลายๆส่วน
อย่างในรูปสีแดงเป็นแค่เปลือกพลาสติก+เหล็กแผ่นบางๆปั๊มขึ้นรูปเพื่อความสวยงาม
ส่วนสีเงินคือ body frame หรือเป็นโครงสร้างหลักของรถ
ผมของแบ่ง zone หลักๆออกเป็น 4 Zone
Zone A: คือแถมสีชมพูในรูป เขาเรียก Pedestrian protection
ประกอบไปด้วยเปลือกกันชนพลาสติกด้านหน้า+ช่องว่าง(ครับฟังไม่ผิดช่องว่างนี่แหละ)+ฝากระโปรงแบบซับแรงได้ เพื่อปกป้องคนถูกชนให้บาดเจ็บน้อยที่สุด
การออกแบบรถยนต์สมัยใหม่ไม่ใช่คิดแต่ผู้โดยสารปลอดภัยอย่างเดียว ต้องคิดเผื่อคนที่ถูกชนด้วย
นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมรถสมัยใหม่กันชนเป็นพลาสติกกันหมด ฝากระโปรงดูยับง่าย เพื่อปกป้องคนเดินถนนนั่นเอง
ดูวีโอแล้วจะเข้าใจ
ถาม:แล้วทำไม dream มันคาอยู่ได้ ไม่ล้มล่ะ
ลองมาดูโครงสร้าง dream กับ vios ดูนะครับ
การชนในลักษณะนี้ คานหน้าของ vios เข้าไปเสียบอยู่ระหว่างเฟรมของมอไซค์พอดี
เรียกได้ว่าชนที่ความเร็วพอเหมาะ หากเบากว่านี้มอไซค์ก็อาจเสียหลักล้มได้ ชนแรงไปมอไซค์ก็กระเด็น
ชน ณ ความเร็วขณะนี้ มันพอดีทำให้ vios เสียบคาไว้ ช่วยพยุงไม่ให้มอไซค์ล้ม
ถาม: โหพี่ ยับขนาดนี้ก็ซ่อมแพงอ่ะดิ
ตอบ: อย่างที่บอกไปว่ากันชนเป็นเปลือกพลาสติก ฝากระโปรงก็เป็นแหล็งบางๆ ซ่อมก็แค่หลักพันหลักหมื่น
แต่ถ้าคนถูกชนเสียชีวิต ช่วยค่าศพ 5 แสนอาจจะไม่พอด้วยซ้ำไป มีที่ขายที่ มีนาขายนา เงินไม่พอเผลอๆติดคุกอีก
รถซ่อมได้ คนซ่อมไม่ได้
ถ้าเอ็งเป็นคนถูกชนมั่งก็ลองคิดดูว่าจะเอาคันซ้ายหรือขวา คิดเอาเอง
ถาม: ถ้ามันชนมอไซค์แล้วยุบขนาดนี้ แล้วชนรถยนต์ด้วยกันล่ะ ไม่ตายเหรอ?
ตอบ : เมื่อพลังงานโมเมนตัมได้ผ่าน Zone A มาแล้วก็จะเป็นหน้าที่ของ Zone B และ Zone C ที่ทำงานร่วมกัน
Zone B นี่แหละที่เป็นโซนที่ต้องรับภาระ เรียกได้ว่าเป็นเมืองหน้าด่าน
Zone B ฝรั่งมันเรียก Crumple Zones ส่วน Zone C เรียก Safety Cage หรือ Passenger Safety Zone
Zone B หน้าที่หลักของมันก็คือ เมื่อแรงปะทะจากการชนมาถึง Zone B มันจะทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากการชนไว้ให้ได้มากที่สุด
พลังงานจะถูกเปลี่ยนไปในรูปของ หัก,บิด,งอ ดังนั้นโซนนี้เขาออกแบบเพื่อให้มันยุบได้
และถ่ายพลังงานที่เหลือไปยังส่วนต่างๆของตัวถัง Zone C ที่ประกอบด้วยเหล็ก High Tensile Steel
เช่น เสาA,พื้นห้องโดยสาร ดังในรูป(ดูลูกศร)
ถาม: Zone B ยุบขนาดนี้ มันดูดซับพลังงานได้ยังไง
ตอบ: Zone B มันก็เหมือนกับ เทียบง่ายๆติดสริงไว้บนฝ่ามือ กับติดแท่งเหล็กแข็งๆไว้บนฝ่ามือ ถามว่าเวลาถูกชนอันไหนเจ็บมือกว่ากัน
Zone นี้เขาผ่านการออกแบบผ่านการคำนวณและทดลองมาแล้วนับไม่ถ้วน
ต้องมั่นใจในระดับนึงแหละ ถึงปล่อยมาให้ถึงมือผู้บริโภคได้
แล้วก็มาถึง Zone C ที่เหมือนห้องขัง(ห้องผู้โดยสารนั่นแหละ) ส่วนนี้จะสำคัญที่สุด
จะประกอบไปด้วยเหล็ก High Tensile Steel
ที่ทนต่อแรงดึงสูง ทำหน้าที่ทำให้ห้องโดยสารเสียรูปให้น้อยที่สุด
เพราะถ้าเสียรูปผู้โดยสารนั่นแหละก็จะบาดเจ็บหนักจากการกระแทก
ถาม: อ้าวไหนบอกมี 4 Zone แล้ว Zone ที่ 4 ล่ะ
ตอบ: Zone ที่4 คือ ยมโลกครับ
เมื่อ Zone C ยังเอาไม่อยู่ก็ไม่เหลือละครับ ถึงวิศวะกรจะออกแบบมาดีขนาดไหน ก็มีข้อจำกัด
แรงโมเมนตัม P = mv พลังงานการชนมันผันตรงต่อความเร็วครับ
ดังนั้นจะรอดไม่รอดอยู่ที่เท้าเราทั้งนั้นครับ มาเร็วปานสายฟ้า ใครก็ช่วยไม่ได้ครับ
หมดเวลาแล้วครับต้องรีบเอาแหไปหาหนอนพรีเมียมเอามาให้ไก่ที่บ้าน-
ถ้าใครไม่เข้าใจอยากได้ที่มันปลอดภัยกว่านี้ก็หลังไมค์มาได้
เดี๋ยวส่งสติกเกอร์ไก่ที่บ้านไปให้ เอาไว้แปะรถให้เป็นศิริมงคล
หลักการวิศวะไม่ต้อง เอาไอ้ไก่มงคลนี่แหละ 555
ปล
ผมไม่ได้เป็นสาวก vios นะ ใครอยากให้เป็น ก็โอนเงินมาให้หน่อย 555 อยากได้
แต่ที่บ้านมี dream คุรุสภา ในตำนาน ป่านนี้ยังวิ่งปุเลงๆ ได้อยู่เลย สุดยอด