กู้เงินจากธนาคาร ช่วงไหนดี ?
การกู้เงินจากธนาคารนั้น มีสิ่งที่เราจะต้องคิดและวางแผน โดยการใช้ความรู้จากเศรษฐกิจเบ้องต้น
นั่นก็คือ "อัตราดอกเบี้ย" ที่จะมากหรือน้อยต่างกันตามภาวะเศรษฐกิจ ดอกเบี้ย คือราคาของการกู้เงิน
ถ้าดอกเบี้ยสูง ก็แปลว่าเราต้องจ่ายแพง ถ้าดอกเบี้ยต่ำ แปลว่าเราจ่ายต่ำ โดยที่เราสามารถทำนายได้
ว่าช่วงไหนดอกเบี้ยจะต่ำ หรือช่วงไหนที่ดอกเบี้ยจะสูง ได้จากภาวะเศรษฐกิจ ดังนี้
เศรษฐกิจของประเทศนั้น เติบโตได้จากปัจจัยเหล่านี้
1) การบริโภคภายในประเทศ (Total Consumption)
หมายถึง การซื้อของ การกิน การผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ใช้จ่าย ท่องเที่ยว ฯลฯ
เพราะเมื่อผู้คนใช้เงิน เงินก็จะหมุนไปสู่มือผู้ผลิต ผู้ผลิตก็จะมีเงินไว้จ้างงาน มีเงินซื้อวัตถุดิบ
ผู้คนก็มีงานทำ พ่อค้าแม่ค้าก็ขายของได้ และในที่สุดผู้คนก็จะมีเงินใช้ เป็นวัฎจักร
ดังนั้น เมื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ธนาคารต่างๆก็จะกระตุ้นให้คนกู้เงินไปใช้ เช่น บัตรเครดิตที่ผ่อนซื้อสินค้าต่างๆ
ดาวน์น้อน ผ่อนนาน เป็นต้น โดยธนาคารกลาง (แบงค์ชาติ) จะเป็นผู้วางนโนบายการเงิน หากนโนบายที่่ให้กู้ง่ายๆ
จะเรียกว่านโยบายผ่อนคลาย แต่ถ้าหากช่วงไหนคนใช้เงินมาก เศรษบกิจร้อน คนแย่งซื้อของกัน จนราคาของแพงขึ้นเรื่อยๆ
จะเรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้น ธนาคารกลางจะกำหนดนโยบายเชิงรัดกุม (กู้ยาก ดอกเบี้ยสูง ดาวน์สูง)
โดยปกติ การเจริญเติบโตของเศรษบกิจ จะทำให้มีเงินเฟ้อโดยธรรมชาติ ที่ 2-3 %
โดยเกิดจาการที่มีคนซื้อของมากขึ้น ลงทุนมากขึ้น วัตถุดิบต่างๆจึงถูกซื้อมากขึ้น แย่งกันซื้อมากขึ้น ราคาของจึงสูงขึ้น
ค่าแรงก็ต้องสูงขึ้นตาม เพื่อให้คนมีกำลังซื้อต่อไป ดังนั้นการวางแผนการเงิน ต้องคิดถึงเงินเฟ้อเสมอ
เงินร้อยบาทในวันนี้ อาจจะซื้อข้าวได้แค่จานเดียวในวันหน้า
2) การลงทุน (Total invesment)
หมายถึง การลงทุนของภาคธุรกิจ เช่นเปิดโรงงาน เปิดบริษัท
เพราะมีภาคธุรกิจเปิดโรงงาน ก็คือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จ้างงานผู้คน จ่ายเงินเดือนผู้คน
ช่วงไหนที่เศรษฐกิจไม่ดี ไม่ค่อยโต ธนาคารก็จะปล่อยกู้ง่ายๆ เพื่อกระตุ้นให้คนลงทุนมากๆ
โดยนโยบายการกำหนดดอกเบี้ยนั้น มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย
3) การใช้จ่ายของรัฐบาล
หมายถึงการที่รัฐบาลจ่ายเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ
โดยในปี 2556 รัฐบาลจะจ่ายเงินประมาณปีละ 2.4 ล้านล้านบาท
โดยส่วนใหญ่เป็นเงินจ่ายประจำประมาณ 2 ล้านล้านบาท เช่น เงินเดือนข้าราชการ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดำเนินงานต่างๆ
โดยเงินส่วนนี้ก็จะทำให้ข้าราชการมีเงินไปจับจ่ายใช้สอยอีกที และอีกประมาณ 3 แสนล้านบาท คืองบประมาณการลงทุน
เช่น สร้างถนน สร้างทางด่วน สาธารณูปโภค โรงพยาบาล โรงเรียน โดยเงินส่วนนี้จะช่วยจ้างงานคน และเป็นการวางโครงสร้าง
ให้ประเทศมีความเจริญพื้นฐาน มีถนนไว้สำหรับขนส่ง และบุกเบิกความเจริญสู่ท่องถิ่น กระจ่ายหัวเมืองใหม่ๆ เป็นต้น
และอีกประมาณหลายหมื่นล้านบาท มีไว้ใช้หนี้ต่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก ธนาคารกองทุนระหว่างประเทศ
4) การส่งออกสุทธิ
หมายถึงการที่ประเทศไทยขายสินค้าให้ต่างประเทศ ดังนั้นเงินจึงเข้ามาในประเทศ
ยิ่งขายมาก ยิ่งรวยมาก โดยในโลกนี้ประเทศมหาอำนาจต่างร่ำรวยจากการส่งออก เช่น อเมริกา
ขายคอมพิวเตอร์ ไอโฟน ขายหนังออลิวู้ด ขายโฆษณาทาง Google facebook และขายอาวุธ
รวมทั้งเครื่องจักรต่างๆไปทั่วโลก หรือญี่ปุ่น เกาหลี ที่ขายทีวี ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า นาฬิกา ไปทั่วโลก
ประเทศเหล่านี้จึงร่ำรวยมาก อย่างไรก็ตามทุกประเทศก็ต้องมีการนำเข้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน
เหล็ก เครื่องอิเล็กทอรนิกส์ รวมทั้งสินค้าแบรนด์เนมทั้งหลายที่ายในห้าง ก็เกิดจากการนำเข้า การคำนวณการส่งออกสุทธิ
จึงต้องเอาส่งออก มาลบจาก นำเข้า นั่นเอง
http://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/home-loan/housing-loans