หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ทำไมต้องเรียกวันมาฆบูชา !!!

เนื้อหาโดย Monike

วันมาฆบูชา

. ความหมายของวันมาฆบูชา

          คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน ๓ ย่อมาจากคำว่า "มาฆปูรณมี" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ คือ เดือน ๓ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์”

 

. การกำหนดวันมาฆบูชา

          การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส     คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

 

. ความสำคัญวันมาฆบูชา

          ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา ๙ เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" ทั้งนี้ในวันมาฆบูชาได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง ๔ ประการ อันได้แก่

          ๑) วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

          ๒) มีพระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ           เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          ๓) พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖ ได้แก่

                    (๑) อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้

                    (๒) ทิพพโสต มีหูทิพย์

                    (๓) เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้

                    (๔) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้

                    (๕) ทิพพจักขุ มีตาทิพย์

                    (๖) อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

          ๕) พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

          และเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์ ๔ ประการข้างต้น ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ

          จาตุร แปลว่า ๔

          องค์ แปลว่า ส่วน

          สันนิบาต แปลว่า ประชุม

          ดังนั้น "จาตุรงคสันนิบาต" จึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" นั่นเอง

         

. หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

          หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

          ๑) หลักการ ๓

          (๑) สพฺพปาปสสฺ  อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง

          (๒) กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำความดีให้ถึงพร้อม   

          (๓) สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว

          ๒) อุดมการณ์ ๔

          (๑) ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขันติคือความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง

          (๒) ปพฺพชิโต  ปรูปฆาตี  บรรพชิตคือนักบวช ผู้ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ 

          (๓) สมโณ  โหติ  ปรํ วิเหฐยนฺโต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

          (๔) นิพพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง

          ๓) วิธีการ ๖

          (๑) อนูปฆาโต การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย  

          (๒) ปาติโมกฺเข จ สํวโร ความสำรวมในพระปาติโมกข์

          (๓) มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร

          (๔) ปนฺตญฺจ สยนาสํ ที่นอนที่นั่งอันสงัด

          (๕) อธิจตฺเต จ อาโยโค การประกอบความเพียรในอธิจิต

          (๖) เอตํ  พุทธาน  สาสนํ ธรรมหกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 

. ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

          พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

          ประเทศไทยเริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติในวันมาฆบูชาเป็นครั้งแรกในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งมีการประกอบพิธีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ในพระบรมมหาราชวังก่อน โดยมีพิธีพระราชกุศลในเวลาเช้า นมัสการพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวรวิหารและวัดราชประดิษฐ์ จำนวน ๓๐ รูป ฉันภัตตาหารในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (พระแก้ว)

          เมื่อถึงเวลาค่ำ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ทรงจุดธูปเทียนนมัสการ พระสงฆ์ทำวัตรเย็นและสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ เมื่อสวดจบทรงจุดเทียน ๑,๒๕๐ เล่ม รอบพระอุโบสถ มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลี และภาษาไทย ส่วนเครื่องกัณฑ์ประกอบด้วยจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึงและขนมต่าง ๆ เมื่อเทศนาจบ พระสงฆ์ ๓๐ รูป สวดรับ

          ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปี แต่มีการยกเว้นบ้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เนื่องจากบางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกแห่ง นอกเหนือจากภายในพระบรมมหาราชวัง

          ต่อมาการประกอบพิธีมาฆบูชาได้แพร่หลายออกไปภายนอกพระบรมมหาราชวัง และประกอบพิธีกันทั่วราชอาณาจักร ทางรัฐบาลจึงประกาศให้เป็นวันหยุดทางราชการด้วย เพื่อให้ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้ไปวัด เพื่อทำบุญกุศลและประกอบกิจกรรมทางศาสนา นอกจากนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ รัฐบาลไทยประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็นวันกตัญญูแห่งชาติอีกด้วย

 

. กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

          การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชาคือ คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียนไปเวียนเทียน 3 รอบที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียนนั้นจะเวียนขวา จำนวน 3 รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่นั้นให้ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนควรบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตามสถานที่ต่างๆ และรักษาศีล สำหรับตามบ้านเรือน สถานที่ราชการ จะมีการประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 

. กิจกรรมส่งเสริมวันมาฆบูชา

          ๑) กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษา

          ในสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่ง โดยภายในสถานศึกษาควรมีการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันมาฆบูชา เช่น จัดนิทรรศการให้ความรู้ ประกวดเรียงความ ตอบปัญหาธรรมะ บรรยายธรรม หรือร่วมกันทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน บำเพ็ญกุศล อีกทั้งประกาศเกียรติคุณนักเรียนผู้ทำประโยชน์ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

          ๒) กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน

          ควรประชาสัมพันธ์ในที่ทำงาน และจัดให้มีการบรรยายธรรม หรือร่วมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน ร่วมทำบุญ บำเพ็ญกุศลร่วมกัน

          ๓) กิจกรรมเกี่ยวกับสังคม

          ภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น วัด มูลนิธิ สมาคม สื่อมวลชน สนามบิน สถานีรถไฟ ฯลฯ ควรช่วยกันประชาสัมพันธ์ความสำคัญของวันมาฆบูชา อาจเป็นการพิมพ์เอกสารให้ความรู้ จัดให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ช่วยกันรณรงค์ให้เลิกอบายมุข แต่รณรงค์ให้ช่วยกันทำประโยชน์ต่อสังคมแทน อาจช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดที่สาธารณะ ฯลฯ

 

. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดกิจกรรมในวันมาฆบูชา

          พุทธศาสนิกชนจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป

เนื้อหาโดย: Monike
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Monike's profile


โพสท์โดย: Monike
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
VOTED: Tabebuia, plangchompoo, PRP, ginger bread, อย่ามาดราม่า, Monike
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
4 ความลำบากของพ่อแม่ในยุคนี้ไขปริศนา! ปลายทางของ "รถดูดส้วม"..เขาเอาไปเทที่ไหนแปลปกสลากสัญจร จังหวัดชัยนาท งวด 1 มิถุนายน 2567ประเทศที่ร้อนที่สุดในโลกกระบี่ : พบพะยูน 3 ตัว มีลูกพะยูนตัวน้อย ว่ายน้ำเคียงข้าง หากินบริเวณหน้าหาดนพรัตน์ธาราก๊วยเตี๋ยวเรือ อาหารอร่อยที่มีเอกลักษณ์น่าจดจำของคนไทยเจออีกแล้ว "เศียรพระพุทธรูปริมน้ำโขง" ที่ลาวสุดยอด!นักเรียนโรงเรียนบ้านก่องาม -ทุ่งใหญ่สอบโอเน็ตวิชาภาษาอังกฤษได้ 100 คะแนนเต็มทำไมถึงมีความเชื่อแปลกๆเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เจออีกแล้ว "เศียรพระพุทธรูปริมน้ำโขง" ที่ลาวภูเก็ตคว้าแชมป์โลก! ไม่ใช่แค่ทะเลสวย แต่ปังทุกด้านก๊วยเตี๋ยวเรือ อาหารอร่อยที่มีเอกลักษณ์น่าจดจำของคนไทยยูเครนเปิดโอกาสให้นักโทษเกณฑ์ทหาร
ตั้งกระทู้ใหม่