เทคนิค 6 ข้อในการเดาข้อสอบแบบมืออาชีพ
ในการทำข้อสอบ ย่อมมีบ้างที่บางข้อเราทำไม่ได้ เนื่องจากอ่านหนังสือมาไม่ตรงกับข้อสอบหรือเหตุผลใดก็แล้วแต่ จนทำให้ต้องจำใจมั่วข้อนั้นไป แต่ถึงอย่างนั้นจะให้มั่วแบบสุ่มสี่สุ่มห้าก็คงจะไม่ใช้ความคิดที่ดีสักเท่าไหร่
บทความนี้ผมจึงมี เทคนิคในการเดาข้อสอบแบบมืออาชีพ มาฝากเพื่อนๆกัน เผื่อว่าไปเจอข้อสอบข้อใดที่ทำไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าเทคนิคนี้จะช่วยได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์นะ เพราะฉะนั้นอย่าคาดหวังกับเทคนิคนี้มาก จนถึงกับไม่อ่านหนังสือไปสอบหล่ะครับ
1. ตัดช้อยส์
ตัดตัวเลือกที่ดูไม่น่าเกี่ยวข้อง หรือไม่ใช่แน่ๆ ออกไป ถ้าตัดได้ถึง 2 ข้อก็จะเพิ่มโอกาสถูกให้เรา 50% เลยทีเดียว กลับกันหากเราเดาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ตัดช้อยส์โอกาสถูกจะมีเพียง 25% หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น
2. “ไม่มีข้อใดถูก” มักเป็นตัวเลือกหลอก
แนะนำว่าถ้ามีช้อยส์นี้ขึ้นมาให้ตัดออกไปได้เลย เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูก ที่สำคัญคือ ถ้าตั้งโจทย์มาแล้วแต่ไม่มีข้อถูกในนั้น นักเรียนก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เรียกว่าเป็นช้อยส์ที่เกิดมาเพื่อหลอกโดยเฉพาะ
ส่วนตัวเลือก “ถูกทุกข้อ” อันนี้ค่อยมีโอกาสเป็นไปได้ แต่ถ้าเกิดมีตัวเลือก “ไม่มีข้อใดถูก” กับ “ถูกทุกข้อ” พร้อมกัน ไม่น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ สามารถดูช้อยส์ 2 ข้อที่เหลือแล้วเลือกตอบได้เลย
3. คำตอบที่แย้งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก
ลองสวมบทบาทคนออกข้อสอบดู เมื่อใส่คำตอบที่ถูกไปแล้ว พอคิดคำตอบที่ผิดขึ้นมาก็มักจะสร้างคำตอบที่ตรงกันเอาไว้ก่อน เรียกว่าเป็นช้อยส์คู่ขนาน เช่น คำตอบที่ลงท้ายว่า “มากขึ้น – ลดลง” เป็นต้น อยู่ที่ว่า 2 ช้อยส์ที่ตรงข้ามกันนั้นเราจะรู้คำตอบหรือเปล่า
4. ช้อยส์ที่มีความหมายเหมือนกัน ตัดทิ้งได้เลย
ช้อยส์ที่มีเนื้อหาหรือความหมายเหมือนกันให้ตัดทิ้ง เพราะถ้าข้อนึงถูก อีกข้อนึงก็ต้องถูก ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ เช่น
ข้อใดคือประโยชน์ของวิตามินเอ?
ก.บำรุงสายตา
ข.บำรุงกระดูก
ค.บำรุงฟัน
ง.ป้องกันหวัด
จะเห็นว่า จริงๆ แล้วกระดูกและฟันมันก็คล้ายๆ กัน ถ้าเกิดมันต้องตอบฟัน กระดูกก็จะต้องตอบด้วย เพราะฉะนั้นจะแยกกันไม่ได้ ดังนั้นตัดออกได้เลยทั้งสองช้อยส์
5. ข้อที่ทำไม่ได้ ให้ข้ามไปก่อน
ถ้าหากว่าข้อใดทำไม่ได้จริงๆ ใช้วิธีข้างต้นก็ยังไม่ช่วย อย่าดันทุรังฝืนทำต่อไป ให้ข้ามไปทำข้ออื่นก่อน เพราะจะเสียเวลาโดยใช่เหตุ
6. ทิ้งดิ่ง
เมื่อข้อที่เหลือไม่สามารถตัดช้อยส์ได้ ก็ให้ทิ้งดิ่ง โดยมีหลักการเลือกข้อที่จะทิ้งดิ่งว่า ต้องเป็นข้อที่มีคำตอบน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าอาจารย์บางท่านจะไม่ได้ยึดหลักเฉลี่ยช้อยส์ให้เท่ากัน แต่ก็เชื่อว่ามีหลายท่านนะคะที่ยังใช้หลักนี้อยู่ครับ
ข้อมูลจาก: dek-d