เกร็ดความรู้เกี่ยวกับธนบัตรของญี่ปุ่น (ธนบัตรที่ไร้ค่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับธนบัตรของญี่ปุ่น (ธนบัตรที่ไร้ค่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2)
ธนบัตรที่ญี่ปุ่นเตรียมออกใช้ในดินแดนที่ถูกยึดครองสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2485-2487
เพื่อทดแทนการขาดแคลนธนบัตรท้องถิ่น ใช้กระดาษคุณภาพต่ำ ไม่มีหมายเลขกำกับ จึงปลอมได้ง่าย
การถูกบังคับใช้ในประเทศที่ยึดครอง โดย “The Japanese Government” รับประกันว่าเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย
แต่ไม่ได้รับความนิยม จึงเป็นเงินที่ไร้ค่าไปในที่สุด เหมือนแบงก์มิกกี้เม้าส์
ธนบัตรเหล่านี้เตรียมใช้ในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปินส์, มาเลย์เซีย, อินโดนีเซีย, พม่า ใช้ภาษาอังกฤษและภาพสถานที่สำคัญบนแบงก์
ใช้หน่วยเงินตราตามประเทศที่จะนำไปใช้ เช่น ฟิลิปินส์ใช้คำว่า "เปโซ" มาเลเซียและสิงคโปร์ ใช้คำว่า"ดอลล่าร์"
พม่าใช้คำว่า "รูปี" อินโดนีเซียใช้คำว่า"กิลเดอร์" เป็นต้น
ความหมายของตัวอักษรตัวแรกที่ปรากฏบนธนบัตร B = Burma, M = Malaya, P = Philippines, S = Sumatra (Netherlands Indies)
ปัจจุบันธนบัตรเหล่านี้ยังมีอยู่มากในมือพ่อค้าแบงก์เก่าโดยเฉพาะธนบัตรที่เตรียมใช้ในพม่า แม้ว่าจะพิมพ์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 65 ปี
เมื่อปริมาณยังเหลืออยู่มากย่อมไม่มีราคาค่างวดในการหามาสะสม ผมเคยไปถามพ่อค้าของเก่า
บอกว่าที่ร้านของเขายังมีธนบัตรแบบนี้เหลือเป็นกระสอบ น่าทึ่งมากว่าในช่วงเวลานั้นคงพิมพ์ออกมาจนนับไม่หวาดไม่ไหว
เคยได้ยินเรื่องเล่าว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นจ้างให้เรือชาวบ้านขนสินค้าล่องไปตามแม่น้ำลำคลอง
เมื่อถึงที่หมาย ทหารจ่ายเงินเป็นกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ในแผ่นนั้นมีภาพพิมพ์แบงก์หลายฉบับ ให้เจ้าของเรือไปตัดใช้เอง
เจ้าของเรือรับเงินแล้วไม่รู้จะเอาไปใช้ที่ไหน กลายเป็นเศษกระดาษไป
.
.
.
.
.
ปล.ทางภาคใต้ปัจจุบันยังพอหาเงินชนิดนี้ได้อยู่ครับ สมัยก่อนได้ยินว่า สมัยนั้นเค้าให้เด็กใช้เล่นขายของกัน