“เป็นอะไรก็ไม่สู้เป็นตัวเอง”
กบตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในสระใกล้กุฏิของพระในวัดแห่งหนึ่ง ทุกเช้ามันจะโดดออกจากสระขึ้นไปหมอบอยู่ริมทางเดิน มันเห็นพระเดินออกไปบิณฑบาตและเห็นโลกกว้างทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งมันเห็นพระออกไปบิณฑบาตไม่นานก็กลับวัดพร้อมกับมีข้าวเต็ม บาตรมีกับข้าวและขนมเต็มย่าม มันจึงคิดว่า
“เออ...เป็นพระนี่ก็ดีเหมือนกันนะ ดีกว่าเราเป็นไหนๆ แค่เดินเข้าบ้านไปชั่วโมงเดียวก็ได้อาหารมากมาย” >>
หลักจากพระฉันอาหารเสร็จแล้ว ท่านก็นำเศษข้าวมาโปรยให้ฝูงไก่กิน กบเห็นเข้าก็คิดอยากเป็นไก่ขึ้นมา >>
“อ๊ะ เป็นไก่นี่ดีกว่าเป็นพระอีก ไม่ต้องเดินไปหากินไกลๆ ถึงเวลาพระก็มาโปรยข้าวให้กิน สบายดีจริงๆ” >>
ทันใดนั้นมีหมาวัดตัวหนึ่งเห็นไก่กำลังจิกอาหารกินอย่างเพลิดเพลินจึงวิ่งมาไล่ไก่จนแตกกระเจิงไป กบเห็นเข้าก็อยากจะเป็นหมาขึ้นมาอีก >>
“เป็นหมานี่ก็ไม่เบา เป็นฮีโร่ไล่ไก่เล่นสนุกดี ทำอย่างไรเราจึงได้เป็นหมาได้หนอ” >>
ขณะกำลังคิดเพลินๆ อยู่ เด็กวัดคนหนึ่งเห็นหมาไล่ไก่เข้าก็คว้าไม้ไล่ตีหมาร้องลั่นวัดไป กบเห็นเข้าถึงกับสะดุ้งโหยง คิดว่า “โธ่เรานึกว่าเป็นหมาจะเก่ง ที่แท้ก็สู้เด็กไม่ได้ ขนาดเป็นเด็กหมายังกลัวถ้าเป็นผู้ใหญ่คงปราบอะไรได้ทั้งหมด เราน่าจะเป็นคนดีกว่า” กบคิดเตลิดไปอีก >>
หลักจากเด็กวัดไล่ตีหมาแล้วก็มานั่งหอบอยู่บนม้านั่งใต้ร่มไม้ ขณะนั้นมีแมลงวันหลายตัวมาตอมแข้งตอมขา เด็กวัดจึงปัดแมลงวันให้วุ่นไป เมื่อสู้ไม่ไหวทนรำคาญไม่ได้ก็ลุกหนีไปพลางบ่นว่า >>
“รำคาญจริง ตอมได้ตอมดีไอ้พวกแมลงวันนี่” >>
กบได้ยินเสียงบ่นก็เลิกคิดเป็นคนทันที สู้เป็นแมลงวันไม่ได้ “หนอยเป็นคนนึกว่าจะเก่ง ที่แท้ก็แพ้แมลงวันตัวเล็กนิดเดียว เป็นแมลงวันท่าจะดีเป็นแน่” >>
กำลังคิดเพลินอยู่นั้น แมลงวันตัวหนึ่งบินผ่านหน้ามันไปพอดีมันจึงใช้ลิ้นตวัดแมลงวันตัวนั้นเข้า ปากไปด้วยสัญชาตญาณ พอได้สัมผัสแมลงวันเท่านั้น ตัณหาของกบก็สะดุดกึก มันได้ดวงตาเห็นข้อสัจธรรม ถึงกับรำพึงว่า “เป็นอะไรก็ไม่สู้เป็นตัวเอง” >>
เรื่องนี้สื่อความให้เห็นว่า
อันความอยาก เช่น อยากได้ อยากมี อยากเป็น ที่ภาษาพระเรียกว่าตัณหานั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีจุดจบ หาฝั่งไม่เจอ เพราะเป็นเรื่องของใจ ใจจึงคิดอยากเรื่อยไป นี่เป็นธรรมดา
ถ้าหากรู้ทันไม่หลงละเมอไปกับตัณหาที่เกิดขึ้นก็จะไม่เดือดร้อนอะไรมาก หากปล่อยให้มันมีอำนาจเหนือใจเหนือความรู้สึกก็จะยุ่งวุ่นวายไม่เลิก อันที่จริงความอยากนั้นเกิดจากความหิวและความไม่รู้จริง คิดแต่เพียงว่าที่ตัวเองเป็นหรือที่ตัวมีนั้นไม่ดี ยังไม่สมบูรณ์แบบ สู้เป็นอย่างนั้นไม่ได้ สู้มีอย่างนี้ไม่ได้
แต่ถ้ารู้ความจริงว่าไม่ว่าจะอะไรล้วนมีดีและมีเสีย ล้วนมีข้อดีข้อด้อยอยู่ในตัวทั้งสิ้น ไม่มีอะไรดีอย่างเดียวหรือเสียอย่างเดียว ก็จะผ่อนเพลาความอยากลงได้ และหากยอมรับภาวะที่ตัวเองเป็นอยู่และพยายามพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ก็ย่อมประจักษ์ว่าเป็นอะไรก็สู้เป็นตัวเราและเป็นตัวของตัวเองไม่ได้เลย
รูปประกอบจาก : อินเทอร์เน็ต
ซ้ำขออภัยค่ะ