เกาะเกร็ด ความจริง…ปากเกร็ด นั้นเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี
ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หลังจากได้ดำเนินการขุดคลองมหาชัยได้แล้วเสร็จในปี จ.ศ.๑๐๘๓ แล้ว ในปีถัดมาได้มีพระราชดำริให้ขุดคลอง เตร็ดน้อย ลัดคุ้งปากคลองบางบัวทอง ซึ่งอ้อมมาให้เป็นเส้นตรง จากบริเวณใกล้ๆ ท่าเรือปากเกร็ด ตรงไปผ่านหน้า วัดสนามเหนือ วัดกลางเกร็ด
ไปทางวัดเชิงเลนซึ่งแต่แรกขุดนั้นเป็นคลองลัดเกร็ด (หรือเตร็ด หมายถึงลำน้ำเล็กลัดเชื่อม ลำน้ำสายใหญ่สายเดียวกัน ) นั้น มีขนาดกว้างเพียง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๒๙ เส้น แต่เนื่องจากแรงของกระแสน้ำที่ไหลพัดผ่านนั้นแรงมาก จึงได้พัดเซาะตลิ่งพัง และขยายความกว้างขึ้นมา จนในปัจจุบันจึงได้กลายเป็น แม่น้ำลัดเกร็ดไปแล้ว และพื้นที่บนแผ่นดินเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นออกไป โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านเป็นรูปเกือกม้า ก็กลายเป็นเกาะไป จึงเรียกว่า เกาะเกร็ด ส่วนตรงปากทางที่ขุดก็เรียกว่า ปากเกร็ด
ด้วยประการฉะนี้ ความจริงปากเกร็ดนั้นเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่หลายแห่ง อาทิเช่นที่ วัดกู้ วัดตำหนักใต้ หรือ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เป็นต้น และในละแวก ปากเกร็ด ก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่ สำคัญ เช่น วัดบ่อ ท่าเรือปากเกร็ด ตลาดริมทางเท้าที่อยู่บริเวณใกล้เคียง วัดสนามเหนือและวัดกลางเกร็ด ถ้าจะข้ามไปยัง เกาะเกร็ด ก็จะได้ชม วัดวาอาราม พิพิธภัณฑ์ฯ ศูนย์การผลิตเครื่องปั้นดินเผา ชมสินค้าและวิถีชีวิตชาวมอญแถบนั้น ซึ่งอยู่กันอย่างเรียบง่ายและดำรงรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิม ถ้าท่าน ล่องเรือ รอบๆ เกาะ ก็สามารถแวะบ้าน ขนมหวานในคลองบางบัวทองเพื่ออุดหนุน ขนมหวานแบบไทยๆ รสชาติอร่อยด้วย ..
สำหรับชาวกรุงเทพ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวง คือ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นชุมชนที่เจริญมาตั้งแต่ ปลายสมัยอยุธยา วัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นบนเกาะเป็นโบราณสถานที่สวยงามสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น มีฐานะเป็นตำบลแบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดลำน้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลมยื่นไป ตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2265 เรียกคลองนี้ว่า “คลองลัดเกาะน้อย” ต่อมากระแสน้ำได้เปลี่ยนทิศทางทำให้คลองขยายกว้างขึ้น เพราะถูกแรงของกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงกลายเป็นแม่น้ำและเกาะเกร็ดมีสภาพเป็นเกาะเช่นปัจจุบัน
เกาะเกร็ด เป็นเกาะกลางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในท้องที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,625 ไร่ เป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นส่วนใหญ่
เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คลองลัดดังกล่าวเรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” หรือ “คลองเตร็ดน้อย” ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมตอนหนึ่งว่า
“…ในปีขาล จัตวาศก ทรงพระกรุณาโปรดให้พระธนบุรีเป็นแม่กอง เกณฑ์พลนิกายคนหัวเมืองปากใต้ให้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อย ลัดคุ้งบางบัวทองนั้นคดอ้อมนัก ขุดลัดตัดให้ตรง พระธนบุรีรับสั่งแล้วถวายบังคมลามา ให้เกณฑ์พลนิกายในบรรดาหัวเมืองปากใต้ได้คน ๑๐,๐๐๐ เศษ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อยนั้นลึก ๖ ศอก กว้าง ๓ วา ยาวทางไกลได้ ๒๙ เส้นเศษ ขุดเดือนเศษจึ่งแล้ว…“
ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศเนื่องจากไหลทางตรงได้สะดวกกว่าและกัดเซาะตลิ่งทำให้คลองสายนี้ขยายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุในโฉนดชื่อว่า เกาะศาลากุล ตามชื่อวัดศาลากุลที่สร้างโดยเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล) ตั้งแต่สมัยธนบุรี ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ด จึงเรียกเป็นเกาะเกร็ด
จนกระทั่งผ่านไปกระแสน้ำได้ค่อย ๆ เซาะฝั่งคลองน้อยให้ใหญ่ขึ้น จนส่วนที่เป็นแหลมถูกตัดขาดจากแผ่นดินและกลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำในที่สุด
ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หลังจากได้ดำเนินการขุดคลองมหาชัยได้แล้วเสร็จในปี จ.ศ.๑๐๘๓ แล้ว ในปีถัดมาได้มีพระราชดำริให้ขุดคลอง เตร็ดน้อย ลัดคุ้งปากคลองบางบัวทองซึ่งอ้อมมากให้เป็นเส้นตรง จากบริเวณใกล้ๆ ท่าเรือปากเกร็ด ตรงไปผ่านหน้า วัดสนามเหนือ วัดกลางเกร็ด ไปทางวัดเชิงเลนซึ่งแต่แรกขุดนั้นเป็นคลองลัดเกร็ด(หรือเตร็ดหมายถึงลำน้ำเล็กลัดเชื่อมลำน้ำสายใหญ่สายเดียวกัน ) นั้น มีขนาดกว้างเพียง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๒๙ เส้น แต่เนื่องจากแรงของกระแสน้ำที่ไหลพัดผ่านนั้นแรงมาก จึงได้พัดเซาะตลิ่งพังและขยายความกว้างขึ้นมา จนในปัจจุบันจึงได้กลายเป็น แม่น้ำลัดเกร็ด ไปแล้ว และพื้นที่บนแผ่นดินเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นออกไปโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเป็นรูปเกือกม้า ก็กลายเป็นเกาะชัดเจนขึ้น จึงถูกเรียกว่า “เกาะศาลากุน” เรียกตามชื่อวัดศาลากุน ส่วนตรงปากทางที่ขุดก็เรียกว่า “ปากเกร็ด”
ต่อมาเมื่อมีการตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้น “เกาะศาลากุน” จึงถูกยกฐานะเป็น “ตำบลเกาะเกร็ด” มี 7 หมู่บ้าน ประชาชนในเกาะเกร็ดเป็นชาวไทยเชื้อสายรามัญเดิมเป็นส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ ทำสวน ค้าขาย และทำเครื่องปั้นดินเผา ประชาชนยังคงรักษา และอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีชาวรามัญไว้อย่างมั่นคง
โพสท์โดย: ภูดิศ เรืองเดชมนตรี