นางในวรรณคดี "ศกุนตลา"
ศ กุ น ต ล า...
พระราชนิพนธ์......... ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครรำ
เมื่อ พ.ศ.2455 โดยนำเนื้อเรื่องมาจากวรรณคดีอินเดีย ซึ่งกาลิทาสรัตนกวี
ของอินเดียเป็นผู้ประพันธ์ขึ้น พระองค์ทรงมีกลวิธีการประพันธ์ที่มีบทพากษ์และ
บทเจรจาแทรกไว้ด้วย อันเป็นรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากบทละครรำของไทยในอดีต
"ศกุนตลา" ...เป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ
กล่าวถึงเรื่องราวความรักระหว่างศกุนตลาธิดาเลี้ยงของฤษีกัณวะ
เป็นผู้มีความงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง กับท้าวทุษยันต์กษัตริย์ผู้มีคุณธรรม
แต่ความรักของคนทั้งสองต้องพบอุปสรรค เนื่องมาจากผลคำสาปของฤษีทุรวาส
การดำเนินเรื่องมีความสนุกสนานชวนให้ติดตาม ทั้งยังมีโวหารที่ไพเราะงดงาม
ช่วยเพิ่มอรรถรสในการอ่านให้มีมากยิ่งขึ้น
เนื้อเรื่องโดยย่อ
ศกุนตลา เรื่องราวของนางในวรรณคดีนี้เริ่มจาก พระวิศวามิตร
เกิดนึกอยากมีฤทธิ์มากๆจึงสละราชสมบัติ ออกบำเพ็ญตบะในป่าจนแก่กล้ายิ่ง
ทำให้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อนไปทั่ว พระอินทร์คิดแก้ไข โดยให้นางฟ้าเมนกา
ลงมาใช้ความงามยั่วยวน เพื่อทำให้พระฤาษีตนนี้ไม่มีกะจิตกะใจจะบำเพ็ญเพียร
ทั้งสองจึงครองคู่กัน จนกระทั่งมีธิดามาคนหนึ่ง
พอดีกับตอนนั้นพระวิศวามิตรที่ผ่านพ้นระยะข้าวใหม่ปลามันเกิดได้คิด
จึงบอกนางเมนกากลับสวรรค์......ส่วนพระองค์ก็ออกไปจักรวาล
ทิ้งพระธิดาน้อยๆอยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง ดีที่ได้พวกนกคอยเลี้ยงดู
เมื่อพระกัณวดาบสมาพบเข้า จึงให้นางนามว่า ศกุนตลา
ซึ่งแปลว่า นางนก และนำกลับไปเลี้ยงดูอย่างธิดาที่อาศรมของตน
ต่อมานางเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้
ดังคำบรรยายที่ว่า...
ดูผิวสินวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น
สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา งามโอษฐ์ดังใบไม้อ่อน
งามกรดังลายเลขา งามรูปเลอสรรขวัญฟ้า งามยิ่งบุปผาเบ่งบาน
(ภาพศกุนตลาจากจินตนาการครูเหม เวชกร ศิลปินจิตรกรชาวไทย)
แล้ววิถีชีวิตของนางได้มาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เมื่อได้พบกับท้าวทุษยันต์
กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ แล้วบังเอิญตามกวาง
มาถึงบริเวณใกล้เคียง จึงแวะมายังอาศรม หมายพระทัยจะมานมัสการพระกัณวดาบส
แต่ในตอนนั้นพระกัณเวดาบสไม่อยู่ เนื่องจากเดินทางไปบูชาพระเป็นเจ้าที่เทวสถานโสมเตียรถ์
เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่นาง พวกปีศาจมารร้ายได้ถือโอกาสเข้ามาอาละวาดที่อาศรม
รังควาญการบำเพ็ญเพียรของเหล่าพราหมณ์ผู้ศิษย์ พระกัณเวดาบส ท้าวทุษยันต์เสด็จมา
ปราบปีศาจได้สำเร็จเมื่อท้าวทุษยันต์มีโอกาสอยู่ตามลำพัง ทั้งสองได้เป็นของกันและกัน
หลังจากทุกอย่างเป็นไปตามจุดมุ่งหมายแล้ว ท้าวทุษยันต์ได้มอบแหวนวงหนึ่งแก่นาง
แล้วรีบเดินทางกลับบ้านเมือง เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาสผู้มีปากร้าย ได้มาเรียกนางที่หน้าประตู
แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลังป่วยเป็นไข้ใจ จึงไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธ
สาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโหแล้ว เพราะรู้ว่านางไม่ได้
จนใจแสดงอาการไม่เคารพกับตนจึงให้พรกำกับแก่นางว่า หากคนรักของนางได้เห็นของ
ที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้ พระกัณดาบสได้ทราบเรื่องราวต่างๆของนางกับ
ท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีอภิเษก ในระหว่างทางที่ไปนางได้ทำ
แหวนที่ท้าวทุษยันต์ประทานให้ตกหายไปในแม่น้ำ เกุมภิล ชาวประมงจับได้ปลา
ที่กลืนแหวนนั้นไปจึงนำไปถวาย เมื่อท้าวทุษยันต์เห็นก็ได้สติจำเรื่องราวต่างๆ ได้
(ภาพศกุนตลาไม่แน่ชัดว่าจากจินตนาการของ ทวีปวร หรือไม่)
สุดท้าย ท้าวทุษยันต์ก็ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนาน
ด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพมารดร แล้วทั้งสองก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
(ตอนที่นางไปหาท้าวทุษยันต์นางทรงครรภ์แก่ นางได้กำเนิดพระโอรสทรงพระนามว่าพระภรต)
เพลงศกุนตลา ผู้แต่งคำร้องได้รับแรงบันดาลใจ
มาจากวรรณคดีเรื่อง ศกุนตลา พระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นตอนที่ท้าวทุษยันต์ชมโฉมนางสกุนตลา
ประพันธ์คำร้อง ครูทวีป วรดิลก (ทวีปวร)
(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2538)
ประพันธ์ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน
ศกุนตลา ขับร้องโดย ครูเพ็ญศรี พุ่มชูศรี
ศกุนตลา ขับร้องโดย คุณบุษยา รังสี
เพลง : ศกุนตลา
ประพันธ์คำร้อง ครูทวีป วรดิลก (ทวีปวร)
(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2538)
ประพันธ์ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน
นางฟ้าแมกฟ้าฤาโฉน
เดินดินนางเดียวเปลี่ยวใจ
นางไม้ แมกไม้มิได้ปาน
น้ำค้าง ค้างกลีบกุหลาบอ่อน
คือเนตรบังอรหยาดหวาน
โอษฐ์อิ่ม พริ้มรัตน์ชัชวาลย์
เพลิงบุญ อรุณกาลผ่านทรวง
ศกุนตลา
นางฟ้าแมกฟ้าจากสรวง
คลื่นสมุทรสุดฤทัยไหวปวง
คือทรวงนางสะท้อนถอนใจ
ยอดมณีศรีศิลป์ปิ่นสวรรค์
หล่อหลอมจอมขวัญผ่องใส
คือแก้วแพร้วพร่างกระจ่างใจ
อาบไอ อมฤต นิจนิรันดร์...
(เครดิตเนื้อเพลงจาก::http://www.trueplookpanya.com)
ซ้ำขออภัยค่ะ