หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เรียนรู้ อยู่ร่วม บนความต่างของวัฒนธรรม

โพสท์โดย I sea u

/data/content/25574/cms/e_acopqrstuwz4.jpg

          กระแสสังคมเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทกับสังคมไทยมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ด้านเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น แต่ด้านวัฒนธรรมก็มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางว่าเราจะสามารถอยู่ร่วมกันได้หรือไม่บนฐานวัฒนธรรมที่ต่างกัน

         “การอยู่ร่วมกันในสังคมที่ต่างมีความหลากหลายของวัฒนธรรม ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีศาสตร์และศิลป์ในการอยู่ร่วมกันจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข” รศ.ดร.โสภนา ศรีจำปา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย กล่าวในเวทีเสวนาอาเซียนหัวข้อ ศาสตร์และศิลป์ของการอยู่ร่วมกัน” จัดขึ้นโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

         รศ.ดร.โสภนา อธิบายว่า หากยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากประเทศประชาคมอาเซียนที่มีความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคมหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ โดยจากผลวิจัยของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย พบว่า ในอดีตคนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ส่วนใหญ่เริ่มจากการเข้ามาทำการค้าหรือการทำแรงงาน เกิดการสร้างชุมชนบนวิถีชาติพันธุ์ของตนเอง เช่น กลุ่มอินเดีย กลุ่มจีน กลุ่มไทย เป็นต้น ทำงานตามความถนัดความสามารถ และยังคงความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองไม่ทิ้งความเป็นตนเอง แต่ในขณะเดียวกันเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายก็มีความเคารพในอัตลักษณ์ของสังคมรอบข้าง

         นอกจากนี้ เรื่องของสิทธิเสรีภาพจะต้องให้อยู่บนฐานของกฏหมายร่วมกัน เช่น การเข้าถึงด้านบริการทางการแพทย์สาธารณสุขที่ปัจจุบันคนจากทุกเชื้อชาติสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน อีกประเด็นที่ประเทศมาเลเซียให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือ ด้านการศึกษา โดยมีการกำหนดนโยบายให้กลุ่มคนหลากหลายสามารถใช้ภาษาของชาติตนเอง ในการเรียนการสอนในประเทศ สามารถก่อตั้งโรงเรียนที่สอนด้วยภาษาของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ เยาวชนบุตรหลานของชาติพันธุ์ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าเรียนในเฉพาะโรงเรียนของชาติตนเอง แต่สามารถเลือกศึกษาได้ในทุกโรงเรียนโดยไม่มีข้อจำกัด และนี่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนในประเทศมาเลเซียสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมหลากวัฒนธรรม

       /data/content/25574/cms/e_fgkqrtuwx257.jpg สังคมไทยจะต้องมีการปรับตัวอย่างไร?

        ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษา และวัฒนธรรมเอเชีย ให้คำตอบว่า การจัดการสังคมที่มีหลากหลายจะต้องเริ่มที่การปรับทัศนคติของเจ้าบ้าน ต้องมีการยอมรับในความหลากหลายของความแตกต่าง โดยใช้พื้นฐานทางหลักธรรมศาสนา ทั้งเรื่องของความเอื้ออาทร ช่วยเหลือเกื้อกูล รวมถึงให้โอกาสกับทุกกลุ่มได้แสดงอัตลักษณ์ของตนอย่างเสรี มีความเคารพซึ่งกันและกัน อยู่บนวิถีของคุณธรรมร่วมกัน

       สำหรับภาครัฐ ก็ควรจะมีการปรับนโยบายให้สอดคล้องกับวิถีศาสนาวัฒนธรรมของคนทุกกลุ่ม ควบคู่ไปกับการยอมรับ รวมทั้งส่งเสริมวิถีการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างโอกาสการศึกษาให้ครอบคลุม เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่จะพัฒนาประเทศ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้สังคมที่มีความหลากหลายสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสันติ ความเข้าใจ อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมสุขภาวะได้

       แม้ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างในสังคมเดียวกันจะมีอยู่ทั่วไป แต่หากมีระบบการจัดการที่มีคุณภาพ การเคารพและยอมรับซึ่งความแตกต่าง มีความไว้ใจและมีความปรารถนาดีต่อกัน สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้ประชาชนทุกชาติพันธุ์ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

 

        เรื่องโดย : กิดานัล กังแฮ Team Content www.thaihealth.or.th

 

        ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ที่มา:
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 


โพสท์โดย: I sea u
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ประเทศที่มีปริมาณทองคำสำรอง มากที่สุดในเขตภูมิภาคอาเซียน"ปราชญ์ สามสี" ฉะ "โน้ส อุดม" เอาแม่มาหาแดก ตลกร้าย ทำลายคุณค่า ดังแล้วลืมความเป็นคน เริ่มไม่น่ารัก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ดวงมี..แต่แขนสั้นไปหน่อย ?🤤😲แขกงานแต่งอึ้ง!! หลังเจ้าสาวถอดชุดกลางงานแต่งสาขาอาชีพข้าราชการในประเทศไทย ที่ประสบปัญหาหนี้สินมากที่สุด"ปราชญ์ สามสี" ฉะ "โน้ส อุดม" เอาแม่มาหาแดก ตลกร้าย ทำลายคุณค่า ดังแล้วลืมความเป็นคน เริ่มไม่น่ารักสายพันธุ์ปลาชนิดหายากมาก ที่พบได้เฉพาะในเขตประเทศไทย
ตั้งกระทู้ใหม่