เคล็ดวิธีทำตลาดนัดบน “ที่ดินเปล่า” ให้รวย
ทางเลือกหนึ่งของการใช้ประโยชน์ที่ดินเริ่มแรกที่นิยมทำกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ก็คือ “ลงทุนทำตลาดนัดแบบลานโล่ง (Bazaar)” นั่นเอง ที่ใครๆ มักชอบทำกันเนื่องจากทำได้ง่าย ใช้เงินลงทุนน้อย อีกทั้งทำแล้วยังมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำอีกด้วย
ใน โอกาสนี้จึงขอพามารู้จักกับเคล็ดวิธีลงทุนทำตลาดนัดแบบลานโล่ง ซึ่งในแวดวงการลงทุนอสังหาริมทรัพย์จัดให้เป็นกลยุทธ์สร้างรายได้ชั้นดีรูป แบบหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้สำหรับจ่ายภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการถือครองได้เป็นอย่างดี
อีก ทั้งยังเป็นกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงในอนาคต (Hedge) ได้ด้วย เพราะเท่ากับเป็นการทดลองทำธุรกิจบนที่ดินนั้นๆ เพื่อดูความเป็นไปได้และความคุ้มค่าว่าทำเลที่ดินนั้นๆ จะสามารถทำอะไรต่อไปได้บ้าง และมีโอกาสพัฒนาต่อไปได้อีกหรือไม่
ในทาง ปฏิบัติแล้วตลาดนัดแบบลานโล่งเป็นแนวคิดที่เหมาะมาก กับการประยุกต์ใช้กับที่ดินในแถบต่างจังหวัดที่อยู่ห่างใจกลางเมืองไม่เกิน 2 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเดินทางไปมาได้สะดวก ทำแล้วมักประสบความสำเร็จได้ดี เพราะคนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ชอบจับจ่ายซื้อของที่ตลาดแบกับดินกัน
โดย การทำตลาดนัดนี้อาจทำได้ทั้งรูปตลาดเปิดลานโล่งหรือแบบถาวรก็ได้ แต่หากเป็นในต่างจังหวัดแล้ว ตลาดนัดแบบเปิดโล่งดูจะเหมาะที่สุด เพราะทำง่ายอีกทั้งยังใช้งบลงทุนไม่มาก เนื่องจากไม่เน้นความหรูหรา แต่จะเน้นที่ความสะอาด พื้นเทปูน ไฟสว่าง เพื่อขจัดปัญหาการฉกชิงวิ่งราวเป็นสำคัญ
ทำเลที่เหมาะสมกับการทำตลาด นัดอาจไม่จำเป็นต้องอยู่ติดใจกลางเมืองหรือย่านค้าขาย แต่ก็ไม่ควรห่างมากจนเกินไป ทั้งนี้ความสะดวกสบายถือเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง แม้จะอยู่ไกลแหล่งชุมชนแต่ถ้าเดินทางสะดวกคนก็ยินดีจะมา โดยควรต้องมีสถานที่จอดรถให้พร้อม
ปกติการลงทุนทำธุรกิจตลาดนัดที่ทำ กันจะมี 2 ลักษณะ คือลักษณะแรกทำในที่ดินที่ตัวเองมีอยู่แล้ว และลักษณะที่สองเป็นการดำเนินการในที่ดินของคนอื่น สำหรับกรณีเป็นการลงทุนทำในที่ดินของคนอื่นจะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกน้อยมาก เพียงไม่เกิน 200,000 บาทต่อการจัดตลาดนัด 1 แห่งเท่านั้น
ขั้นตอน การดำเนินการจะเริ่มจากการสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม โดยดูทำเลและลักษณะลานดินว่าสามารถปรับและพัฒนาได้หรือไม่ เมื่อแน่ใจแล้วก็จะเจรจาขอทำข้อตกลงเงื่อนไขกับผู้ถือครองที่ดินต่อไป
ปกติ ข้อตกลงระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้จัดตลาดมักอยู่ในลักษณะ Win-Win ด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือเน้นทำธุรกิจร่วมและแบ่งผลตอบแทนจากค่าเช่าแผงค้าและส่วนอื่นร่วมกัน นอกจากนั้นยังต้องกำหนดข้อตกลงในเรื่องความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่าย ที่ต้องระบุให้ชัดเจนด้วย
สำหรับในเรื่องการจัดการตลาดนัดขนาดพื้นที่ ขายที่เหมาะสมควรมีขนาดตั้งแต่ 2 ไร่ขึ้นไป ซึ่งโดยทั่วไปจะจัดพื้นที่แผงค้าได้ประมาณ 150-200 แผง โดยเคล็ดลับการทำตลาดจะต้องวัดขนาดโดยรวมทั้งหมดออกมาก่อน จากนั้นจึงค่อยจัดวางผัง กำหนดรูปแบบว่าสินค้าใดควรตั้งวางบริเวณใด แยกหมวดหมู่ให้ชัดเจน ทั้งนี้ขนาดของแผงค้าไม่ควรเล็กเกินไป ปกติจะกำหนดที่ความกว้าง 3 เมตร ยาว 3.50 เมตร และแบ่งช่องทางเดินให้กว้างขวางสะดวกต่อผู้เข้ามาจับจ่ายสินค้า
วัน เวลาเปิดปิดบริการตลาดนัดก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนต่อความสำเร็จเช่นกัน ปกติการกำหนดจะขึ้นอยู่กับลักษณะและกิจวัตรประจำวันของคนในท้องที่เป็นสำคัญ ซึ่งเคล็ดลับอยู่ตรงที่จะต้องมีกำหนดเปิดขายตามเวลานั้นๆ เป็นประจำเพื่อให้คนรับรู้และคุ้นเคย ทั้งนี้การกำหนดเวลาการเปิดขายของอาจทำได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสมของ แต่ละพื้นที่ เช่น
* วันศุกร์-อาทิตย์ ช่วงเย็น
* วันจันทร์-อังคาร ช่วงเย็น
* วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00-24.00 น.
* เปิดวันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ เวลา 15.30-21.00 น.
* เปิดให้บริการ 7 วันตลอดสัปดาห์ โดยมีสินค้าแตกต่างกันไปในแต่ละวัน เพื่อสร้างความโดดเด่นให้ตลาดทุกวัน เช่น วันพฤหัสบดีเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและของแต่งบ้าน
การโฆษณาประชา สัมพันธ์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของตลาดนัดมากเช่น กัน ปกติจะใช้วิธีขึ้นป้ายขนาดใหญ่ให้สะดุดตามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พิมพ์แผ่นพับ ใบปลิวแจกจ่ายในสถานศึกษา โรงพยาบาล แหล่งชุมชนและตามตลาดต่างๆ
นอกจากนั้นอาจซื้อสื่อโฆษณาผ่านวิทยุท้อง ถิ่น ซึ่งโดยปกติระยะเวลาโฆษณาประชาสัมพันธ์ประมาณ 1 เดือนจะเสียค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100,000 บาท ครบปีมักนิยมจัดโปรโมชั่นภายในตลาดเพื่อช่วยสร้างสีสันจูงใจลูกค้าและผู้ค้า
สำหรับ ในกรุงเทพฯ แล้วการทำตลาดนัดจะใช้เงินลงทุนสูงกว่าการจัดตลาดนัดในต่างจังหวัดมาก เพราะต้องเน้นรูปแบบตกแต่งและรูปแบบการจัดตั้งแผงค้าให้เป็นสีสันเพื่อดึง ลูกค้าให้เข้ามา