10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย
นนี้บ้านเรากำลังมีทีวีดิจิตอลที่จะทำให้ภาพของทีวีคมชัดมากขึ้นมีช่องเพิ่มขึ้นแต่ดูอะไรๆมันช่างยุ่งยากวันนี้เลยมี 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทีวีดิจิตอลมาฝากกัน
1. เรื่องเสารับสัญญาณ
เสาอากาศสำหรับทีวีดิจิตอลสามารถใช้แบบในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้แต่การรับสัญญาณภายในบ้านอาจกระทำได้ถ้ารับในเขตตัวเมือง (โดยทั่วไปคือในเขตเทศบาลเมืองขึ้นไป) โดยแนะนำให้รับในห้องที่เป็นห้องเปิดคือมีหน้าต่างหรือประตูโดยเสาอากาศภายในควรเป็นแบบมี booster ขยายสัญญาณหรือที่เรียกว่าเป็นแบบ active antenna ซึ่งจะรับการจ่ายไฟกระแสตรง 5V มาจากตัว Set-Top Box ซึ่งการติดตั้งเสาอากาศใกล้ๆกับหน้าต่างก็อาจจะช่วยการรับสัญญาณได้ดีขึ้น
2. ระบบการรับสัญญาณ
ทีวีดิจิตอลที่ไทยใช้ส่งระบบ DVB-T2 ซึ่งเป็นระบบ Mpeg4 ทีวีทุกระบบรับได้โดยใช้กล่องรับสัญญาณระบบ DVB-T2 หากทีวีของท่านมีช่อง HDMI ภาพที่ออกมาจะก็จะชัดกว่าการเสียบสาย AV เป็นอย่างมาก (ระบบส่งสัญญาณโทรทัศน์ DVB-T2 กับมาตรฐานทางเลือกในการบีบอัดสัญญาณภาพหรือเสียงในแบบ MPEG2 หรือ MPEG4 เป็นคนละอย่างกันแต่โดยทั่วไปการส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลในระบบ DVB-T2 ทั่วโลกในปัจจุบันมักจะเลือกใช้มาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพแบบ MPEG-4/H.264 AVC และมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณเสียงแบบ MPEG-4/HE AACv2 ซึ่งแพร่หลายและให้ประสิทธิภาพสูงกว่า MPEG-2 มากซึ่งในไทยก็เลือกใช้มาตรฐานทางเลือกนี้เช่นกัน) ทีวีดิจิตอลส่งระบบ DVB-T2 ดังนั้นถ้ากล่องเป็นระบบ DVB-T จะรับสัญญาณไม่ได้โดย Set-Top Box DVB-T2 ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะรองรับมาตรฐาน MPEG-4/H.264 AVC และ MPEG-4/HE AACv2 แต่ในการเลือกซื้อจะแนะนำให้สังเกตสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสอบมาตรฐานของกสทช. ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์รวมถึงโลโก้และมาสค๊อตดิจิตอลทีวีของกสทช.
3. การรับประกันและกฎของกสทช.
กสทชมีกฎว่าทุกช่องที่ออกอากาศทีวีดิจิตอลต้องส่งผ่านดาวเทียมได้ด้วยตามกฎ Must carry ของกสทช. เป็นการรับประกันว่าไม่ว่าประชาชนจะใช้เทคโนโลยีใดๆในการรับชมโทรทัศน์จะสามารถรับชมบริการโทรทัศน์ดิจิตอลที่ใช้คลื่นความถี่ซึ่งเป็นบริการทีใช้ทรัพยากรของชาติได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงดังนั้นใครมีกล่องรับสัญญาณดาวเทียมอยู่แล้วไม่ว่ายี่ห้อใดๆสามารถรับได้แน่นอนเพียงแต่ช่องไหนที่เป็นช่อง HD (ความคมชัดสูง) ในกรณีที่เครื่องรับทีวีไม่รองรับภาพระบบ HD ก็ยังสามารถรับชมช่อง HD ได้เพียงแต่จะได้ความคมชัดของภาพในแบบปกติ (SD = Standard Definition) เท่านั้น
4. ความสามารถในการใช้ร่วมกับเครื่องรับอื่น
ทีวีดิจิตอลสามารถใช้ร่วมกับเครื่องรับแบบอื่นๆได้อีกมากมายเช่น DVB-T2+DVD , DVB-T2+ Android , DVB-S2+DVB-T2 , DVB-T2 for Car เพราะเครื่องลักษณะข้างต้นเรียกง่ายๆว่าเป็นแบบลูกผสมหรือแบบ Hybrid เช่นแบบ DVB-T2/S2 ซึ่งอยู่ในมาตรฐานตระกูล DVB เหมือนกันจะรองรับสัญญาณทั้งระบบดิจิตอลภาคพื้นดินและระบบดาวเทียมเป็นต้น
5. ความแตกต่างของสัญญาณต่างประเทศกับไทย
ทีวีดิจิตอลแต่ละประเทศใช้ระบบไม่เหมือนกันหากนำทีวีหรืออุปกรณ์อื่นเข้ามาใช้คนละระบบกับของไทยก็จะใช้ไม่ได้เช่นของอเมริกาใช้ระบบ ATSC, ของญี่ปุ่นใช้ระบบ ISDB-T, ของจีนใช้ระบบ DTMB ดังนั้นในการเลือกซื้อจะแนะนำให้สังเกตสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสอบมาตรฐานของกสทช. ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์รวมถึงโลโก้และมาสค๊อตดิจิตอลทีวีของกสทช. เพื่อความชัวร์
6. ความได้เปรียบของดิจิตอลทีวี
ทีวีดิจิตอลจะได้เปรียบทีวีดาวเทียมคือหากมีการถ่ายทอดสดรายการกีฬาสำคัญๆทีวีดาวเทียมจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธ์การถ่ายทอดสดจึงทำให้จอดำแต่ทีวีดิจิตอลสามารถรับได้ปกติเพราะเป็นระบบ free tv แบบเดียวกับการใช้เสาหนวดกุ้งไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธ์การถ่ายทอดสด
7. การแบ่งช่องถ่ายทอดสัญญาณ
กสทชกำหนดให้ทีวีดิจิตอลมี 48 ช่องโดยที่มีทีวีท้องถิ่นของชุมชน 12 ช่องทีวีสาธารณะ 12 ช่องทีวีสำหรับภาคธุรกิจ 24 ช่องโดยใน 24 ช่องนี้ 17 ช่องจะเป็นมาตรฐานปกติ (SD) และอีก 7 ช่องเป็นมาตรฐานความคมชัดสูง (HD)
8. มีส่วนลด
กล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ที่จะนำคูปองมาเป็นส่วนลดได้ต้องได้การรับรองคุณภาพจากกสทชซึ่งรายละเอียดเรื่องนโยบายการแจกจ่ายคูปองและการใช้จะมีความชัดเจนในอนาคตอันใกล้แต่โดยทั่วไปในการซื้อแนะนำให้สังเกตสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสอบมาตรฐานของกสทช. ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์รวมถึงโลโก้และมาสค๊อตดิจิตอลทีวี (น้องดูดี) ของกสทช.
9. ราคาของกล่องสัญญาณ
ราคากล่อง set-top box รับสัญญาณทีวีดิจิตอลในช่วงแรกน่าจะอยู่ประมาณ 1000-1500 บาทหลังจากนั้นราคาน่าจะลดลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทั่วประเทศได้ใช้กล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวอย่างคลอบคลุมกันทั่วประเทศ
10. ระยะการส่งสัญญาณของดิจิตอลทีวี
ทีวีดิจิตอลในระยะเริ่มแรกจะมีปัญหาในการส่งสัญญาณดังนั้นช่วงแรกอาจรับสัญญาณยังไม่ได้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยในระยะแรกรับสัญญาณได้เพียงพื้นที่ที่อยู่ในรัศมี 100 กม. จากกรุงเทพฯซึ่งรัศมีครอบคลุมดังกล่าวเป็นรัศมีในช่วงการทดสอบ (trial) ที่ออกอากาศจากเสาส่งที่อาคารใบหยก 2 เท่านั้นนั่นเอง