การบวชสำคัญอย่างไร
การบวชสำคัญอย่างไร
ประเพณีของคนไทยเรา ที่นับถือพระพุทธศาสนา ส่วนมากนิยมให้ลูกหลาน ได้เข้าสู่การบรรพชาอุปสมบท เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถึงแม้ว่า จะดำรงภาวะของความเป็นนักบวช เพียงชั่วระยะเวลาอันเล็กน้อย ก็ยังมีความพอใจในภาวะเช่นนั้น ในการบวช คนโบราณ ถือว่าคนที่ยัง ไม่ได้บวชเรียน เป็นคนที่ไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้ที่ยังไม่ควรแก่การครองเรือน
ผู้ชายทุกคนเมื่ออายุครบแล้วจะต้องบวช การบวชถือว่าเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้ดีมีศีลธรรม และเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดา
ผู้ให้กำเนิด ดังนั้นการบวชจึงถือว่า เป็นประเพณีที่จำเป็นสำหรับลูกผู้ชายทุกคน
เรื่องประเพณีบวชเป็นภูมิปัญญาของคนไทยอย่างน้อยที่สุด ก็จะได้ประโยชน์หลายประการ เช่น
๑.มีผู้สืบทอดอายุพระศาสนาด้วยการบวชเรียน
๒.ช่วงวัยดังกล่าวถือว่าอยู่ในช่วง "เลือดร้อน" หากได้บวชอยู่ในร่มเงาของผ้ากาสาวพัตร์ก็ช่วยประกันภัยต่าง ๆ ได้พอสมควร โดยเฉพาะภัย
ที่เกิดเพราะความ "เลือดร้อน"
๓.ทำให้มีโอกาสได้ซึมซับคำสอนมากขึ้น อันจะช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในภายหน้าสืบต่อไป
๔.ทำให้พ่อแม่ ญาติพี่น้องได้มีโอกาสทำบุญเพิ่มขึ้น จะสังเกตเห็นว่า สังคมไทย พอลูกชายไปบวช คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ หรือเป็นญาติ ๆ ก็
มักจะมีโอกาสได้ทำบุญบ่อยขึ้นกว่าแต่ก่อน เช่น ตอนลูกชายไม่ได้บวช อาจจะไม่เคยใส่บาตรเลย แต่พอลูกชายบวช พ่อแม่ก็ได้ใส่บาตร หรือไปวัด
เป็นต้น นี่เป็นที่มาของคำว่า "เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์"
การบวช เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่างๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น
การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน ผู้ที่กำลัง
เตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช ในพระพุทธศาสนา
การบรรพชาเป็นสามเณร ตามพระวินัยบัญญัติ อนุญาตให้พระอุปัชฌาย์สามารถทำการบรรพชาได้โดยไม่ต้องประชุมสงฆ์ บรรพชา หมายถึง การบวชทั่วไป การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น
เสด็จออกบรรพชาอัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า
อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)
กุลบุตรที่จะเข้าบวชในพุทธศาสนา เป็นพุทธสาวกนั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติหลายประการด้วยกัน ในพระวินัยบัญญัติ ท่านห้ามบุคคล
๘ จำพวก มิให้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา คือ
๑. บุคคลที่เป็นโรคอันสังคมรังเกียจ เช่น เป็นโรคติดต่อ รักษาไม่ค่อยจะหายเรื้อรัง ได้แก่โรค ๑. โรคเรื้อน ๒. โรคฝี ๓. โรคกลาก
๔. โรคหืด ๕. โรคลมบ้าหมู ๖. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาไม่หาย
๒. คนที่มีอวัยวะไม่สมบูรณ์ คือ บกพร่อง เช่น คนที่มือขาด เท้าขาด นิ้วมือนิ้วเท้าขาด หูขาด จมูกขาด (ไม่ว่าจะโดยกำเนิด หรือ จาก
อุบัติเหตุ) เป็นต้น คนอย่างนี้ตามพระวินัยบวชให้ไม่ได้
๓. คนที่มีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น คนที่มีมือเป็นแผ่น นิ้วมือติดกันไม่เป็นง่าม คนค่อม คนเตี้ย คนปุก (เท้าปุก) (รวมทั้ง คนที่มีอวัยวะผิด
ไปจากคนปกติ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม) เป็นต้น บวชไม่ได้
๔. คนที่พิกลพิการ คือ คนตาบอดตาใส คนที่เป็นง่อย คนมือเท้าหงิก คนกระจอกเดินไม่ปกติ และ คนหูหนวก เป็นต้น
๕. คนที่ทุพพลภาพ เช่น คนแก่ง่อนแง่น คนที่มีกำลังน้อย ไม่อาจทำกิจการต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ เป็นต้น เช่น กิจในการซักจีวร ย้อมจีวร
เป็นต้น คนอย่างนี้ห้ามบวช
๖. คนเกี่ยวข้อง หมายถึง คนที่มีพันธะผูกพัน เช่น คนที่บิดามารดา ไม่อนุญาติ คนที่มีหนี้สิน คนที่มีภรรยาแล้ว ภรรยาไม่อนุญาต ก็บวชไม่ได้
๗. คนเคยถูกอาชญาหลวง มีหมายปรากฎอยู่ ในสมัยก่อน ส่วนมากถูกเฆี่ยนหลังลาย หรือ คนที่เป็นนักโทษ ถูกสั่งหมายโทษเอาไว้ คนอย่าง
นี้บวชไม่ได้
๘. คนที่ประทุษร้ายต่อสังคม เช่น โจรผู้มีชื่อเสียง โด่งดัง ก็บวชไม่ได้ เป็นต้น
นี่แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่จะเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาได้นั้น ต้องเป็นคนสมบูรณ์จริง ๆ ตามลักษณะของพระวินัยดังนั้น การบวชนั้น จึงมิใช่บวชกัน
ได้ง่าย ๆ ความยากลำบากอย่างนี้ ส่วนมากเราไม่ได้คิดกันมาก่อน แต่ถ้าเราคิดกันให้มากแล้ว เราจะเห็นว่าการที่เรามีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์มี
อวัยวะครบทุกส่วน ไม่บกพร่อง นับว่าเป็นโชคลาภอันประเสริฐสุดแล้ว
เมื่อบวชแล้ว ก็ไม่ใช่เสร็จแค่นั้นแล้วมาอยู่เฉย ๆ แต่การบวชเป็นการเริ่มต้นเท่านั้น จะต้องเพียรพยายามปฏิบัติเพื่อบรรลุผลที่เป็นจุดหมาย
ของการบวชต่อไป การที่จะบรรลุผลของการบวช ก็ต้องมีการ “เรียน” คือ ศึกษาฝึกหัดพัฒนาชีวิตของเรา ทั้งกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ดีให้
ประณีต ให้เจริญงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกว่าจะละบาปกุศลได้หมด และเจริญกุศลให้เต็มที่ หลุดพ้นจากกิเลสและปวงทุกข์ มีชีวิตจิตใจที่บริสุทธิ์
ผ่องใส เป็นอิสระ สงบสุขอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “บวชเรียน” หมายความว่า บวชเพื่อเรียน หรือว่าการบวชก็คือชีวิตแห่งการเรียน
ในปัจจุบัน "ชีวิตเรา ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีโอกาสที่จะได้บวชตามพระวินัยบัญญัติ และ ปัจจุบันนี้ พระสัทธรรม ก็มีอยู่ เราทุกคนเกิดมาพบ
พระพุทธศาสนา จึงควรหาโอกาสบวชกันบ้าง สักครั้งหนึ่งในชีวิต ถึงแม้ว่าการบวชนั้น จะมิได้มุ่งหมาย ไปสู่ความหลุดพ้นทุกข์ อย่างแท้จริงก็ตาม"
ก็ยังนับว่าเป็นผู้ที่ได้ผ่านการอบรม จากสถาบันชั้นสูงของโลกมาแล้ว
อานิสงส์จากการบวชมีหลายอย่าง นับตั้งแต่พระสงฆ์ท่าน สวดญัตติ ยกเราเป็นพระภิกษุ ขึ้นไว้ในพระพุทธศาสนา เราก็ได้รับสมัญญาถึง ๔
อย่าง ดังต่อไปนี้ คือ
๑) คนทั้งหลายเรียกเราว่า “เป็นพระ” คำว่า พระ นี้แปลว่า “ผู้ประเสริฐ” เป็นคำยกย่องบุคคลที่มีคุณธรรมสูงส่ง เพราะ บุคคลเหล่านั้น เป็น
“ผู้มีศีลธรรม”
๒) ภิกษุ แปลว่า “ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร” ก็ได้ หรือผู้ “ทำลายความชั่ว มิให้มีปรากฏอยู่ในตัว” คือ เป็นผู้มีความสะอาดทางกาย ทางวาจา
และ ทางใจ เป็นเครื่องหมาย หรือ จะเรียกสั้น ๆ ว่า “ผู้มุ่งทำลายกิเลสก็ได้”
๓) บรรพชิต แปลว่า “ผู้งดเว้น” คือ เป็นผู้ทำลายล้างความชั่วได้สำเร็จนั้น จะต้องเป็นผู้งดเว้นจากความชั่วทางกาย วาจา เสียก่อนแล้ว
“บำเพ็ญความดี ด้วยการปฏิบัติธรรม โดยเว้นจากการเบียดเบียนตน และ ผู้อื่น” ให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้น จึงได้นามว่าเป็น “บรรพชิต”
๔) สมณะ ซึ่งแปลว่า “ผู้สงบระงับ” คือ “สงบ จากความชั่วร้ายต่าง ๆ สงบจากบาปธรรมต่าง ๆ” สมัญญาทั้ง ๔ ประการนี้ เราได้รับตั้งแต่
ชั่วโมงที่เป็นพระภิกษุ ชั่วโมงแรกแล้ว นี้เป็นอานิสงส์ที่เราเห็นกันอย่างชัด ๆ
พระภิกษุสงฆ์ นั้น เป็นบุคคลที่ช่วยเหลือสังคมได้ด้านหนึ่ง ซึ่งเราทุกคนที่ได้รับความรู้ ได้รับความเข้าใจ ทั้งได้รับความสุข ย่อมทราบกันได้
เป็นอย่างดีว่า เพราะมี "พระสงฆ์ แนะนำพร่ำสอน เป็นที่พึ่งทางใจ ของบุคคลที่ตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ระทม พระสงฆ์ นี่เองที่เป็นผู้แนะนำ
พร่ำสอน ให้มนุษย์เราที่ดำเนินชีวิต อยู่ในโลก มิให้เบียดเบียนกัน แต่ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สอนให้พวกเราชาวโลกดำเนินชีวิตไปสู่
ความสว่าง ให้เราหลีกหนี วิถีทางอันสกปรกโสโครก แล้วดำเนินชีวิตไปบนวิถีทางที่สะอาดหมดจด"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เพื่อนๆชาวโพสจัง กระทู้นี้คงเป็นกระทู้สุดท้ายของผม ผมต้องเข้าวัด วันที่8 เพื่อจะบวชวันที่ 12 นี้ และศึกเสร็จก็ไปทหารเลยผลัด1 ทอ1.คงไม่มีโอกาศได้มาโพสกระทู้ต่างๆแล้ว ขออารัตรนาบุญทุกๆคนให้มีความสุขร่มเย็นตลอดปี ไม่มีโรคภัยใดๆมากวนใจนะครับ ขอบคุณครับ