วัฒนธรรมเครื่องแต่งกายผ้าเตี่ยวของญี่ปุ่น
ต้องบอกว่านี่คือสาระ ที่ผมได้ไปค้นหาข้อมูล แปลความหมาย แล้วนำมาเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย และเรียนรู้ถึงความเป็นมาของเรื่องราวเหล่านี้
โดยผมจะดูแลควบคุมให้มีเนื้อหาเหมาะสมให้ได้มากที่สุด หากมีเนื้อหาที่ที่ดูล่อแหลม หรือเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดมากขึ้นมาก็ตาม
ผ้าเตี่ยวที่ถือว่าเป็นต้นตำหรับ ที่ยังมีคนนิยมนุ่งอยู่ และมีอิทธิพลไปทั่วโลก นั่นคือ "ฟุนโดชิ" Fundoshi (ふんどし)
ถือว่าผ้าเตี๋ยวชนิดนี้มีที่มาชัดเจน ซึ่งสวมใส่กันมานับ 1,000 ปีตั้งแต่สมัยเอโดะ ก่อนจะถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยในสมัยโบราณ ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถสวมใส่ได้ แต่ในปัจจุบันผู้หญิงก็สามารถสวมใส่ได้เช่นเดียวกัน
ฟุนโดชิในยุคแรกๆ จะใช้ผ้าผืนใหญ่ๆ ความกว้าง 1 ชาคุ (34 เซนติเมตร) ยาว 6 ชาคุ (2.3 เมตร) โดยประมาณ
มีขั้นตอนการนุ่งที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน แต่เชื่อได้ว่าการนุ่งในลักษณะดังกล่าวจะมีความกระชับ และมีโอกาสน้อยมากที่ผ้าทั้งผืนจะหลุด
ซึ่งฟุนโดชิชนิดนี้เรียกว่า "โรคุชาคุ ฟุนโดชิ" (Rokushaku Fundoshi)
ตัวอย่างฟุนโดชิแบบโรคุชาคุ
วิธีการนุ่งห่ม
ฟุนโดชิในยุคหลังๆ ได้มีการพัฒนารูปแบบการนุ่ง เพื่อลดความยุ่งยากในการสวมใส่ ที่เห็นกันบ่อยๆ ก็จะเป็น "เอชชุ ฟุนโดชิ" (Ecchu Fundoshi)
ฟุนโดชิประเภทนี้จะมีส่วนประกอบติดกันเป็นผืนเดียว การนุ่งนั้นก็แค่ผูกเชือกคาดเอว ย้ายส่วนแถบผ้าไปไว้ด้านหลัง
แล้วดึงแถบผ้าลอดระหว่างขามาข้างหน้า ปกปิดจุดสำคัญของร่างกาย จากนั้นนำเอาผ้าส่วนที่เหลือลอดขึ้นเชือกผูกเอว
ดึงให้ตึงๆ กระชับ แล้วปล่อยลง ก็เป็นอันเสร็จ ย่นระยะเวลาการนุ่งได้ครึ่งหนึ่งก็ว่าได้
ตัวอย่างฟุนโดชิแบบเอชชุ
วิธีนุ่งห่ม
เทศกาลนี้จัดที่ศาลเจ้ามิมุสุบิ ในจังหวัดชิบะครับ จากคาวาซากิ
บ่อสี่เหลี่ยมตรงกลางนี่เป็นแปลงปลูกข้าวศักดิ์สิทธิ์ครับ เทศกาลเขาจัดตอนบ่ายโมงถึงบ่ายสามครับ
พอถึงเวลา เราก็ได้ยินเสียงคนวิ่งมาจากบนเขา และแล้วก็แห่กันลงมา เหล่าผู้ร่วมงานที่มีตั้งแต่รุ่นหนุ่มๆ ไปจนถึงลุงๆ
ก็ทยอยกันวิ่งลงไปกันจนหมด แล้วก็ปีนขี่หลัง แบ่งทีมเล่นเกมกันกลางบ่อนั่นแหละ เกมก็เล่นกันง่ายๆ คือให้จับคู่ขี่หลังกัน
แบ่งเป็นสามทีม แล้วก็ตะลุมบอนกันตรงกลางบ่อ แล้วก็อัดกันนัวเนียจนไม่รู้ว่าจะแบ่งทีมไปทำไม
เขาเชื่อกันว่าการเล่นแบบนี้ เป็นเหมือนการสวดอ้อนวอนเทพเจ้าไปในตัว ให้พืชผลปีนี้อุดมสมบูรณ์
เหล่าชาวเตี่ยวทั้งหลายที่สาดโคลนรอบแรกกันเสร็จแล้ว วิ่งกลับขึ้นเขาที่ศาลเจ้า แล้วก็วิ่งลงเขากลับไปทำพิธีในบ่อโคลนกันใหม่อีกรอบ
พอเหนื่อยแล้วก็วิ่งกลับขึ้นมาผิงไฟอีก แล้วก็กลับลงไปเรื่อยๆ หลายรอบอยู่เหมือนกัน
มีทีมงานทีวีมาสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงานด้วยครับ แอบฟังอยู่ข้างๆ เขาถามผู้ชายคนข้างล่างนี้ว่า
หลังจากที่ได้มาลองเข้าร่วมดูแล้ว (คงมาครั้งแรกมั้ง) รู้สึกเข้าใจจุดประสงค์ของงานนี้ขึ้นมารึเปล่า
ซึ่งพี่แกก็พยายามตอบแต่เสียงสั่นมาก ต้องคัทแล้วคัทอีก เพราะอากาศตอนนั้นเพียง 10 องศาเอง
http://vachalenxeon.exteen.com/20111030/entry-1
http://simpskwan.exteen.com/20120229/japan-ch-1