หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นามสกุล

Share แชร์เนื้อหาโดย Spirit of Queen

 

                                           นามสกุล

นามสกุล คือ ชื่อบอกตระกูล (หรือสกุล) เพื่อแสดงที่มาของบุคคลนั้น ว่ามาจากครอบครัวไหน ตระกูลใด ธรรมเนียมการใช้นามสกุลปรากฏอยู่ทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศและวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละที่ก็อาจจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป

ในหลาย ๆ วัฒนธรรม (เช่น ทางตะวันตก ตะวันออกกลาง และในทวีปแอฟริกา) นามสกุลจะอยู่ในลำดับหลังสุดของชื่อบุคคล แต่ในบางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม) นามสกุลจะอยู่ในลำดับแรก ส่วนนามสกุลของไทยจะอยู่เป็นลำดับสุดท้ายเหมือนทางตะวันตก

ในบางวัฒนธรรม จะใช้นามสกุลในการเรียกขานในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น บารัก โอบามา (Barack Obama) จะถูกเรียกว่า คุณโอบามา (Mr. Obama) ไม่ใช่ คุณบารัก เป็นต้น

      นามสกุลในประเทศต่าง ๆ

       ประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ กฎหมายไทยกำหนดให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว จะต้องเปลี่ยนมาใช้นามสกุลสามี แต่ในปัจจุบัน ศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ขาดให้ผู้หญิงมีสิทธิในการเลือกใช้นามสกุลของตัวเองหรือของสามีได้ ซึ่งถือเป็นการให้สิทธิแก่สตรีตรงตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 30 ระบุไว้

ที่มา

เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,432 นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น นามสกุลแรกของประเทศไทย คือ สุขุม

การตั้งนามสกุล

เมื่อมีพระราชบัญญัติขนามนามสกุลฯ ขึ้น ราษฎรไทยจึงต้องตั้งนามสกุลสำหรับใช้ในครอบครัวหรือตระกูลของตน โดยมีความนิยมหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้

       ข้อกำหนดตามกฎหมายในการจดนามสกุลใหม่หรือเปลี่ยนนามสกุล

        ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อสกุลไว้ว่า

  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
  2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
  3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
  4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  5. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
  6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า "ณ" นำหน้าชื่อสกุล
  7. ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล

      นามสกุลในประเทศอื่น

ราชสกุล เป็นนามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลวงศ์ในพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ "นามสกุล" เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด โดยผู้สืบเชื้อสายจากราชสกุล เรียกว่า ราชนิกุล และสกุลอันสืบเนื่องมาจาก กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) นั้น เรียกว่า บวรราชสกุล

ส่วน ราชินิกุล หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (นับทางพระมารดา)

ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์ มีดังนี้

ราชตระกูล สาย พระปฐมบรมราชวงศ์ มี 6 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
นรินทรางกูร พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองจีน กรมหลวงนรินทรรณเรศร์
พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (พระเชษฐภคินี พระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)
หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
เทพหัสดิน พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์(พระองค์เจ้าตัน)
พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินี พระองค์รอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)
หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
มนตรีกุล พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 22 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
อิศรางกูร พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ หม่อมเจ้าชาย 26 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 41 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 15 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
เจษฎางกูร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (พระองค์เจ้าลา)
พระอนุชาต่างพระชนนี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
นรินทรกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (พระองค์เจ้าหญิงกุ)
พระน้องนางเธอต่างพระชนนี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์

ราชสกุล

ราชสกุล หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระมหากษัตริย์แห่ง พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งราชวงศ์จักรีนั้นราชสกุล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน โดยมักจะเป็นพระนามของพระราชโอรส และยังมีราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีก 18 ราชสกุล

สายรัชกาลที่ 1

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มี 8 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
ฉัตรกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉัตร กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 16 พระองค์
สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ดวงจักร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ดารากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดารากร กรมหมื่นศรีสุเทพ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ทัพพะกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับ กรมหมื่นจิตรภักดี หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
พึ่งบุญ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
สุทัศน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต หม่อมเจ้าชาย 12 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
สุริยกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 19 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 4 พระองค์
อินทรางกูร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับทิม กรมหมื่นอินทรพิพิธ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์

สายรัชกาลที่ 2

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มี 20 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
กปิตถา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
กล้วยไม้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากล้วยไม้ กรมหมื่นสุนทรธิบดี หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
กุญชร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
กุสุมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุสุมา กรมหมื่นเสพสุนทร หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์
ชุมแสง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา หม่อมเจ้าชาย 10 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
เดชาติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง กรมพระยาเดชาดิศร หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ทินกร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
นิยมิศร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
นิลรัตน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลรัตน กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
ปราโมช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ หม่อมเจ้าชาย 29 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
พนมวัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ไพฑูรย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
มรกฎ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามรกฎ กรมขุนสถิตย์สถาพร หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
มหากุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโต กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
มาลากุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
เรณุนันทน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์
วัชรีวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากลาง กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
สนิทวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท หม่อมเจ้าชาย 21 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 31 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์
อรุณวงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวงษ์ กรมหลวงวรศักดาพิศาล หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
อาภรณ์กุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์

สายรัชกาลที่ 3

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 13 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
โกเมน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 3 พระองค์
คเนจร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคเนจร กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ หม่อมเจ้าชาย 17 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 พระองค์
งอนรถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
ชมพูนุท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุทกรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ชุมสาย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ปิยากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลดาวัลย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี หม่อมเจ้าชาย 14 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 25 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์
ลำยอง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ศิริวงศ์ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์ และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 4 พระองค์ และสถาปนาพระอัฐิเป็นสมเด็จพระบรมราชินี 1 พระองค์
สิงหรา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหรา กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ หม่อมเจ้าชาย 10 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 16 พระองค์
สุบรรณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบรรณ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
อรรณพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรรณพ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
อุไรพงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์

สายรัชกาลที่ 4

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 27 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
กมลาศน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร หม่อมเจ้าชาย 14 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 พระองค์
กฤดากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ [4]
เกษมศรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ หม่อมเจ้าชาย 18 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
เกษมสันต์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 43 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 25 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 3 พระองค์ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
คัคณางค์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
จักรพันธุ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 12 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 17 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 6 พระองค์
จันทรทัต พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 พระองค์ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
จิตรพงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
ชยางกูร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
ชุมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ไชยันต์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ดิศกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หม่อมเจ้าชาย 14 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 23 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
ทวีวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
ทองแถม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
ทองใหญ่ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
เทวกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ หม่อมเจ้าชาย 25 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 23 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
นพวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ภาณุพันธุ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 4 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 3 พระองค์
วรวรรณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ หม่อมเจ้าชาย 19 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์ และพระนางเธอ 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
วัฒนวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ศรีธวัช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 7 พระองค์
ศุขสวัสดิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช หม่อมเจ้าชาย 23 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
โศภางค์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
สวัสดิกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
สวัสดิวัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ หม่อมเจ้าชาย 22 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 6 พระองค์
สุประดิษฐ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์, หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
โสณกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์[8]
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์

สายรัชกาลที่ 5

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 15 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
กิติยากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ หม่อมเจ้าชาย 13 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ชั้นนัดดา สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ 1 พระองค์
ชั้นปนัดดา สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 1 พระองค์
รพีพัฒน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
ประวิตร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
จิรประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
อาภากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 3 พระองค์
บริพัตร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 4 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง (และลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน) 1 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ฉัตรไชย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 3 พระองค์
เพ็ญพัฒน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
จักรพงษ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ยุคล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 7 พระองค์
วุฒิชัย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 3 พระองค์
สุริยง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
รังสิต สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
มหิดล สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์
ต่อมาเสด็จขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ และเจ้าฟ้าหญิง 1 พระองค์
ชั้นนัดดา เจ้าฟ้าชาย 1 พระองค์ เจ้าฟ้าหญิง 3 พระองค์
ชั้นปนัดดา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์ (สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิง)
จุฑาธุช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง

สายรัชกาลที่ 7

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 1 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และเป็นพระราชโอรสบุญธรรมใน  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ทรงสมรสกับหม่อมมณี และเมื่อหม่อมมณีตั้งครรภ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระกรุณาพระราชทานนาม ศักดิเดชน์ จากพระนามาภิไธย ประชาธิปกศักดิเดชน์ เพื่อใช้เป็นชื่อราชสกุล แต่ทางคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไม่ยินยอมให้ใช้ โดยอ้างเรื่องสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ จึงมาใช้ "ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์" แทน

สายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 18 ราชสกุล ได้แก่

  • ราชสกุล สินสุข (สินศุข)
  • ราชสกุล จาตุรงคกุล
  • ราชสกุล รุ่งไพโรจน์
  • ราชสกุล ศิลานนท์
  • ราชสกุล โกมารกุล ณ นคร
  • ราชสกุล ณ นคร
  • ราชสกุล อินทรโยธิน
  • ราชสกุล คชวงศ์ (คชวงษ์)
  • ราชสกุล มหาณรงค์
  • ราชสกุล อินทรกำแหง
  • ราชสกุล อินทโสฬส
  • ราชสกุล อินทนุชิต
  • ราชสกุล เชิญธงไชย
  • ราชสกุล เนียมสุริยะ
  • ราชสกุล นิลนานนท์ (นินนานนท์)
  • ราชสกุล พงษ์สิน
  • ราชสกุล ศิริพร
  • ราชสกุล ชูกริส (ชูกฤส)

บวรราชสกุล

สายวังหน้า

สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท มี 4 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
นีรสิงห์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเณร หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ปัทมสิงห์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สังขทัต พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสังกะทัต กรมขุนนรานุชิต หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
อสุนี พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอสุนี กรมหมื่นเสนีเทพ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์

สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ มี 10 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
บรรยงกะเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประยงค์ กรมขุนธิเบศร์บวร หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
พยัคฆเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสือ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
ภุมรินทร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุมริน หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์
ยุคันธร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคันธร กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
รองทรง พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารองทรง กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
รังสิเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใย หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์
รัชนิกร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนิกร หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สหาวุธ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
สีสังข์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสีสังข์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
อิศรเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์

สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ มี 5 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
กำภู พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำภู หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
เกสรา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกสรา กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
อิศรศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ หม่อมเจ้าชาย 12 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์
อนุชะศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุช หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
นันทิศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์

สายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 11 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
สุธารส พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุธารส หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
วรรัตน์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
ภาณุมาศ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุมาศ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
หัสดินทร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหัสดินทร์ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์
นวรัตน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
ยุคนธรนนท์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคนธร หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
โตษะณีย์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโตสินี หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
นันทวัน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านันทวัน หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
พรหเมศ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรหเมศ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์
จรูญโรจน์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ หม่อมเจ้าชาย 13 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สายสนั่น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนั่น หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์

สายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ มี 9 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
วิไลยวงศ์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
กาญจนะวิชัย พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจโนภาสรัศมี กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
กัลยาณะวงศ์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
สุทัศนีย์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
วรวุฒิ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
รุจจวิชัย พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
วิบูลยพรรณ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิบูลยพรรณรังษี หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
รัชนี พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
วิสุทธิ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์

สายวังหลัง

สายสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระอนุรักษ์เทเวศร์

บวรราชสกุล ใน วังหลัง-สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มี 2 สกุล
ราชสกุลพระนามต้นราชสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
ปาลกะวงศ์ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปาน กรมหมื่นนราเทเวศร์ หม่อมเจ้าชาย 31 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 พระองค์
เสนีวงศ์ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 25 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 พระองค์

ราชินิกุล

สายสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ซึ่งมักเรียกรวมๆ กันไปว่า ราชินิกุลบางช้าง เพราะนิเวศสถานเดิมอยู่ ตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง (ซึ่งต่อมาจึงยกเป็นเมืองสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสงครามตามลำดับ ราชินิกุลก๊กใหญ่ คือ สกุลบุนนาค

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 1
สกุลต้นสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
ณ บางช้าง พระชนกทอง ณ บางช้าง  
ชูโต เจ้าคุณชายชูโต (พระเชษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)  
แสง-ชูโต เจ้าคุณชายชูโต (พระเชษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)  
สวัสดิ์-ชูโต เจ้าคุณชายชูโต (พระเชษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)  
บุนนาค เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)  

สายสมเด็จพระศรีสุลาไลยบรมราชชนนี

พระญาติวงศ์ ของสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุล รัชกาลที่ 3 ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลย และสายสกุล ศิริสัมพันธ์ สืบมาจาก ท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาไลย

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 2
สกุลต้นสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
ศิริสัมพันธ์ ท่านสาด  
ณ พัทลุง พระยาพัทลุง (ทองขาว)  

สายสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ที่เป็นราชินิกูลคือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเพชรบุรี (เรือง) ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าขรัวเงิน แซ่ตันพระชนกของพระองค์ ทั้งสองท่านเป็นชาวจีนเหมือนกัน บุตรพระยาเพชรบุรี (เรือง) คือเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี) เป็นต้นสกุลหลายสกุลด้วยกันจึงถือว่าสกุลเหล่านี้เป็นราชินิกุล

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 2
สกุลต้นสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
บุญ-หลง เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี)  
พลางกูร เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี)  

สายสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุลรัชกาลที่ 5 ฝ่ายพระชนนีนั้น เป็นชาวสวนบางเขน และสกุลอำมาตย์รามัญสายพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) ที่เกี่ยวดองกันกับสกุลรามัญสาย พระยาจักรีมอญ (กรุงธนบุรี) เชื้อสายราชินิกุล ที่มิใช่ขัตติยราชตระกูล เท่าที่ค้นได้จากหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ 5 คือ "สกุลสุรคุปต์"

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4
สกุลต้นสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
สุรคุปต์ พระยารัตนจักร (หงส์ทอง)  

สายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ซึ่งทางฝ่ายพระชนนีนั้น คือสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ท่านเป็นธิดาของท้าวสุจริตธำรง (นาค) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุล แก่ผู้สืบสายจากท้าวสุจริตธำรง ผู้เป็นราชินิกุล ว่า "สุจริตกุล"

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 5
สกุลต้นสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
สุจริตกุล ท้าวสุจริตธำรง (นาค)  

สายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 คือคุณถมยา พระอนุชาของพระองค์ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ชูกระมล" เพื่อเป็นนามสกุลสำหรับผู้ที่สืบจาก พระชนกชู ชูกระมล และพระชนนีคำ ชูกระมล และทายาทในอนาคต แต่คุณถมยา ถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยรุ่น สกุลนี้จึงสิ้นไป

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สกุลต้นสกุลข้อมูลเพิ่มเติม
ชูกระมล ชู ชูกระมล

 

นามสกุลพระราชทาน เป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 อย่างไรก็ตาม ได้มีการเลื่อนเวลาการบังคับใช้กฎหมาย 2 ครั้ง เพื่ออำนวยความการสะดวกแก่เจ้าพนักงานซึ่งจะทำทะเบียนและสะดวกแก่ผู้ที่จะเลือดตั้งนามสกุล โดยพระราชบัญญัติได้บังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลครั้งแรกเป็นจำนวน 102 นามสกุล เช่น นามสกุล "สุขุม" พระราชทานแก่ เจ้าพระยายมราช (ปั้น), นามสกุล "มาลากุล" พระราชทานแก่ พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เปีย) และ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม) และนามสกุล "พึ่งบุญ" พระราชทานแก่ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ) นามสกุลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้มีทั้งสิ้น 6464 นามสกุล แยกเป็น

      นามสกุลที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศ

     นามสกุลแยกตามรายอาชีพของผู้เป็นต้นสกุล

      ข้อมูลเพิ่มเติม

กาญจนาชีวะ พระราชทานแก่ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม) บำเรอเจ้า พระราชทานแก่ หลวงบำเรอบริภักดี (สนิท บำเรอเจ้า) ภายหลังเลื่อนเป็น พระยาบำเรอบริภักดี กับ หม่อมราชวงศ์มณีรัตน์ (เดชาติวงศ์) หังสสูต พระราชทานแก่ พระยาพิพิธโภคัย (เชฐ) บุตร พระยาสุธรรมไมตรี (ห้อง) บ่วงราบ พระราชทานแก่ เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ) นามเดิม พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ครุฑ) เจ้าเมืองชุมพร พี่ชาย พระยาสุธรรมไมตรี (ห้อง) เป็นต้น

 

สกุลที่ขึ้นต้นด้วย "ณ" เป็นนามสกุลพระราชทาน โดยพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า "ณ" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด

ต้นสกุล ณ

สกุล ที่ได้รับพระราชทาน
สกุลเลขที่พระราชทานสืบเชื้อสาย
ณ กาฬสินธุ์ ๑๑๙๐ พระยาไชยสุนทร (เก) กรมการพิเศษเมืองกาฬสินธุ์ มณฑลร้อยเอ็ด พระยาพิไชยสุนทร (เจ้าโสมพะมิตร์) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนแรก สืบสายทางอุปฮาด (หมาสุ่ย)
ณ จัมปาศักดิ์ ๑๖๑๘ เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบงหรือเบงคำ) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (เจ้าอุย) ซึ่งได้ขอเข้ามารับราชการในเมืองไทย โดยไม่ยอมอยู่ในบังคับของฝรั่งเศส สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) กษัตริย์ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ สืบสายทางสมเด็จเจ้ายุติธรรมธร (เจ้าคำสุก) เจ้าผู้ครองนครจัมปาศักดิ์ องค์ที่ ๑๑
ณ เชียงใหม่ ๑๑๖๑ มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙ องค์สุดท้าย พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ และเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๓
ณ ตะกั่วทุ่ง ๒๒๘๙ อำมาตย์โท หลวงราชภักดี (หร่าย) ยกกระบัตรมณฑลปัตตานี หลานทวด พระยาโลหะภูมิพิสัย ผู้สำเร็จราชการเมืองตะกั่วทุ่ง
ณ ถลาง ๐๗๔๒ พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี) กระทรวงมหาดไทย และพระอาณาจักรบริบาล (อ้น) กระทรวงมหาดไทย และพระพิไสยสุนทรการ (แปลง) ฃ้าหลวงตรวจการกรมสรรพากรนอก พระยาถลาง (ฤกษ์)
ณ นคร ๐๑๐๓ นายพลโท พระยาวรเดชศักดาวุธ (แย้ม) ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง พระราชธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู)
ณ น่าน ๑๑๖๒ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๔ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้าผู้ครองนครน่าน
ณ บางช้าง ๐๓๖๐ หลวงขจรเนาวรัฐ (หลำ) กระทรวงมหาดไทย กับหลวงพิพิธวรรณการ (ม้วน) ปลัดกรมกองการปกครอง กรมราชเลขานุการ เป็นบิดากับบุตร พระแม่กลอง (สอน) กับเจ้าคุณบางช้าง (แก้ว)
ณ ป้อมเพชร์ ๐๑๕๐ พระยาเพชร์ชฎ พระยาเพชร์ชฎ บรรดาศักดิ์เดิม พระสมุทบุรานุรักษ์ (ฃำ) ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรปราการ เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ป้อมเพชร กรุงศรีอยุธยา
ณ พัทลุง ๒๒๗๙ รองอำมาตย์เอก หลวงวิบูลย์บุรขันฑ์ (นพ) กรมการพิเศษเมืองพัทลุง พระยาพัทลุง (ขุน) บรรดาศักดิ์เดิม พระยาแก้วเการพพิไชย ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง สมัยกรุงธนบุรี
ณ พิศณุโลก พิเศษ หม่อมคัทริน หม่อมคัทริน พระชายาในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ภายหลังในรัชกาลที่ ๗ พระราชทานนามสกุลเป็น จักรพงศ์
ณ มโนรม ๒๗๗๐ หลวงวินิจสารา (ดวง) นายเวรกรมบัญชาการ กระทรวงนครบาล ผู้ว่าราชการเมืองมโนรม
ณ มหาไชย ๐๐๐๔ พระยาเทพทวาราวดี (สาย) อธิบดีกรมมหาดเล็ก พระยานรนารถภักดี ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ตำบลมหาไชย
ณ ร้อยเอ็จ ๑๑๘๙ พระยาขัติยะวงษา เอกาธิกสตานันท์ (ท้าวเหลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็ด เพี้ยพระลคร (ท้าวคำ) เชื้อสายพระยาขัติยวงศา (ท้าวทนต์) เจ้าเมืองร้อยเอ็จคนแรก โอรสของเจ้าจารยแก้วมงคล เจ้าเมืองท่งศรีภูมิ
ณ ระนอง ๒๓๔๕ อำมาตย์เอก พระยารัตนเศรษฐี (ยู่หงี) ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ชื่อเดิม ซู้เจียง แซ่คอ (คอซู้เจียง) ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง
ณ ลำปาง ๑๑๖๖ พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต (บุญทวงษ์) เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๓ พระเจ้าคำโสม พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๔
ณ ลำพูน ๐๘๖๖ พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (น้อยจักรคำ) เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐ องค์สุดท้าย เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑ และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓
ณ วิเชียร ๒๘๐๓ พระยาประเสริฐสงคราม (ใจ) จางวางกำกับราชการอำเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้ว่าราชการเมืองวิเชียรบุรี
ณ สงขลา ๐๑๐๘ พระยาพฤกษาภิรมย์ (ฑิตย์) เจ้ากรมสวนหลวง เจ้าพระยาสงขลา (หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ) ชื่อเดิม เหยี่ยง แซ่เหงา เจ้าเมืองสงขลา สมัยกรุงธนบุรี
ณ หนองคาย ๑๑๘๑ พระอนุชาติวุฒาธิคุณ วิบูลยศักดิ์ฯ(แพ) นายอำเภอเมืองเพ็ญ เมืองอุดรธานี พระประทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอธรรมา) เจ้าเมืองหนองคาย
ณ อุบล ๓๑๒๗ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ) กรมการพิเศษจังหวัดอุบลราชธานี พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศคนแรก บุตรเจ้าพระวรราชปิตา หลานเจ้าพระวรราชภักดี เมืองหนองบัวลำภู
สกุล ที่มีการต่อท้ายนามสกุล
สกุลเลขที่พระราชทานสืบเชื้อสาย
พรหมสาขา ณ สกลนคร ๑๓๖๘ อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ผู้ว่าราชการเมืองสกลนคร พระบรมราชา (ท้าวพรหมา) เจ้าเมืองนครพนม สืบสายทางอุปฮาดพระนาคี (กิ่ง) เมืองมหาชนไชยกองแก้ว
ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ๑๒๑๘ พระเจริญราชเดช (อุ่น) กรมการพิเศษเมืองมหาสารคาม มณฑลร้อยเอ็จ ทวดชื่อราชวงษ์ (หล้า) ปู่ชื่ออุปฮาด (ภู) พระเจริญราชเดช วรเชษฐ์มหาขัติยพงษ์ รวิวงษ์สุรชาติฯ (ท้าวกวด) เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก
รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ๒๓๒๗ รองอำมาตย์โท หลวงวรเทพภักดี (เดช) กรมการพิเศษเมืองภูเก็ต พระภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (แก้ว) บิดาชื่อ พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ประสิทธิสงคราม (เจิม)ผู้สำเร็จราชการเมืองถลาง
สุนทรกุล ณ ชลบุรี ๔๖๐๓ หม่อมหลวงจาบ กรมขุนสุนทรภูเบศร์ พระนามเดิมว่าเรืองหรือจีนเรือง เดิมเป็นชาวเมืองชลบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นเจ้านาย
สกุล ที่มีการต่อท้ายนามสกุลที่แยกออกจาก สกุล เดิม
สกุลเลขที่สกุลใหม่พระราชทาน
ณ นคร ๐๒๕๓ โกมารกุล ณ นคร พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม) อธิบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับผู้ที่สืบสกุลจากเจ้าพระยานคร (น้อย) ลงมาทางเจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยเมือง) และพระยาศรีสรราชภักดี (หนูเล็ก)
ณ ถลาง ๓๙๔๕ ประทีป ณ ถลาง หลวงราชอาณัติ (กล่อม) ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตะกั่วป่า
ณ พัทลุง ๒๔๒๕ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง มหาดเล็กสำรองสมบุญ ประจำกรมมหาดเล็ก ปู่ชื่อกลิ่น บิดาชื่อชม

 

 

 

เนื้อหาโดย: Spirit of Queen
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Spirit of Queen's profile


โพสท์โดย: Spirit of Queen
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
131 VOTES (4.1/5 จาก 32 คน)
VOTED: Nightingale
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สุสานวัดดอน. สุสานกลางกรุง!ความน่ารักสดใส ของปลาคาร์ฟที่แหวกว่ายผ่านท่อระบายน้ำข้างถนนในญี่ปุ่นยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!🤓 เข้ามาร่วมค้นพบสิ่งที่น่าประหลาดใจมากมายของเหล่าผู้คนในโลก Social 😆ปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้สุดอึ้ง! พบหัวแกะมัมมี่นับพันตัวและซากพระราชวังที่ค้นพบในอียิปต์ถ้าเราดื่มน้ำน้อย หรือมาเกินไป จะเกิดอะไรกับร่างกายของเรา?12ราศีไหนดวงเปิดแล้ว เตรียมรับโชคก้อนโต!! งวดนี้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สตรีมเมอร์ผิวสีสุดห้าว ทำคอนเทนต์เตะเก้าอี้ที่พัทยาความน่ารักสดใส ของปลาคาร์ฟที่แหวกว่ายผ่านท่อระบายน้ำข้างถนนในญี่ปุ่นโจรใต้ลอบยิงทหารพรานหญิงแม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลก
ตั้งกระทู้ใหม่