ฮากิม อิบนุ ซีนา
อาบู อาลี อัลหุเซน อิบนุ อับดุล ลอฮฺ อิบนุ อัลหะซัน อิบนุ ซีนา รู้จักกันในนาม อิบนุ ซีนา หรือที่ชาวยุโรปเรียกันว่า เอวิเซ็นนา(Avicenna) เป็นมุสลิมรอบรู้คนหนึ่ง เป็นชาวเปอร์เซียเกิดเมื่อปีฮ.ศ.370 (ค.ศ.980)ที่เมืองอัฟชานะฮฺ เตอร์กมินิสถาน ใกล้กับบุคอรอ (ปัจจุบันในประเทศอุสเบกีสถาน) บิดาเป็นคนบัลค์ในอัฟกานีสถาน มารดาเป็นชาวบ้านธรรมดา และเสียชีวิตที่ หุมาดาน(ในอิหร่านปัจจุบัน)
เมื่อปี ฮ.ศ. 428 (ค.ศ. 1037) อิบนุซีนา มีความชำนาญในหลายด้าน ได้ท่องอัลกุรอานมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นแพทย์และเป็นนักปราชญ์มุสลิมในเวลานั้น เช่นกันเขาได้ถูกนับเป็นนักดาราศาสตร์ นักเคมี นักฟิสิกส์ นักกลอน นักคณิตศาสตร์ นักธรณีวิทยา นักตรรกศาสตร์ นักจิตวิทยา เป็นผู้รู้ เป็นทหาร เป็นประชาชนที่ดีของรัฐอิสลาม รวมทั้งเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องศาสนา อิบนุซีนา บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นชีคุรฺเราะอีส (الشيخ الرئيس ประธานผู้รอบรู้) ชาวตะวันตกจะนับว่าเป็นผู้นำทางการแพทย์และบิดาแห่งการแพทย์ศาสตร์สมัยใหม่
แสตมป์ประเทศรัสเซีย
อิบนุซีนาได้มาเกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แพร่ระบาดโรคในอาณาจักรที่เขาอาศัยอยู่เขาจึงต้องรับหน้าที่เป็นแพทย์ โดยเป็นแพทย์ประจำพระองค์เจ้าชายต่างๆ และช่วงสุดท้ายของชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ
หนังสือและตำราของอิบนุซีนาทั้งหมดมีมากกว่า 450 เรื่อง ที่สำคัญที่สุดคือ เป็นหนังสือทางการแพทย์และเภสัช หนังสือ القانون في الطب al-Qanun fi al-Tibb (The Canon of Medicine “The Law of Medicine”) เป็นตำราทางแพทย์ที่ชาวยุโรบใช้มานาน หนังสือ كتاب الشفاء Kitab al-Shifa (The Book of Healing) เป็นเป็นหนังสือทางวิทยศาสตร์ ปรัชญาและจิตวิทยา นอกจากนี้ อเวศซินาหรืออิบนุซีนาคิดว่า แสงมีความเร็วจำกัด จึงพัฒนาเครื่องมือวัดอย่างละเอียด โดยใช้ air thermometer
อิบนุซีนานับว่าเป็นคนแรกที่ใช้วิธีการรักษาโรคโดยใช้วิธีการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังในการรักษาโรคหายใจไม่ออกอันเนื่องมาจากหลอดลมตีบตันอิบนุซีนาได้คิดค้นท่อหายใจทำมาจากทองคำและเงิน รักษาด้วยการซอดเข้าไปทางปากเข้าสู่หลอดลม และวิธีการนี้ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบันเพียงเปลี่ยนจากการใช้ทองคำเป็นปลาสติกหรือยางแทน การรักษาผู้ป่วยทางศีรษะ อิบนุซีนาพบว่ากระดูกกะโหลกศีรษะไม่เหมือนกับกระดูกทั่วไป การสานต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะจะอ่อนมากเมื่อเทียบกับกระดูกทั่วไป
ภาพหน้าหนึ่งของหนังสือ ) القانون في الطبCanon of Medicine) เล่มที่ 5
ที่ตีพิมพ์ในศตวรรษ์ที่ 14 อธิบายอวัยวะภายในหลายรวมทั้งกะโหลกศีรษะและกระดูก
ทางด้านปรสิตวิทยาทางการแพทย์ อิบนุซีนาเป็นคนแรกที่ค้นพบพยาธิปากขอ(Ancylostoma) เขาได้พบก่อน Dubini (1843) ชาวอิตาลีนานถึง 9 ศตวรรษ อิบนุซีนามีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออายุได้ยี่สิบปี อิบนุซีนาเป็นบุคคลแรกที่ "แรงกระตุ้นเป็นสัดส่วนของอัตราความเร็ว" นี่คือสมการพื้นฐานที่อธิบายแรงผลักดันในทุกวันนี้ เขายังอ้างเหตุผลด้วยว่า วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ในสุญญากาศนั้นยังคงเคลื่อนที่ไปโดยไม่ชะลอความเร็วลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องอีกเช่นกัน อิบนุซีนายังได้กล่าวไว้อีกว่า นักวิทยาศาสนาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนโลหะอย่างตะกั่ว หรือทองแดง ให้กลายเป็นทองได้ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนจะพยายามทดลอง อิบนุซีนายังได้เขียนตำราทางการแพทย์เป็นภาษาอาหรับไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแพทย์ได้ใช้กันทั่วอาณาจักรอับบาสิด และเมื่อตำรานี้ถูกแปลเป็นภาษาละติน ก็ได้ถูกนำมาใช้ไปทั่วทั้งยุโรปเช่นกัน ตลอดช่วงสมัยของยุคกลาง อิบนุซีนายังอาจจะเป็นบุคคลแรกที่ได้รู้ว่า คนเราสามารถติดเชื้อโรคต่างๆ จากคนด้วยกัน เช่นโรคหัด ไข้ทรพิษ หรือวัณโรค ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักเชื้อโรคเลย เพราะยังไม่มีกล้องจุลทรรศน์
เขาได้เขียนหนังสืออีกหลายเล่มเช่น กิตาบุล นาญาต, อัล-มันติก และ อัล-อิสฮารอต วะ อิตันบิฮาต เป็นหนังสือเกี่ยวศาสนาและหลักตรรกศาสตร์ นอกจากนี้งานเขียนของเขายังรวมไปถึงหนังสือเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์, การแพทย์, ภาษาสาสตร์ และสัตวศาสตร์ด้วย อิบนุซีนายังเป็นนักกวีที่เขียนกวีได้อย่างไพเราะเช่นหนังสือ ฮัยย์ อิบนฺ ยักซัน อิบนุซีนายังทำงานเกี่ยวกับปรัชญาและการแพทย์ตลอดจนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเรื่อยมาจนกระทั่งเขาเสียชีวิต
anatomy of the skeleton, attributed to avicenna, 980-1037