เครื่องแต่งกายของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
โดยทั่วไปแล้วเครื่องแต่งกายของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะประกอบด้วย
ไตรครอง ได้แก่ อันตรวาสก อุตราสงค์ สังฆาฏิ กายพันธน์ ผ้าอังสะ และผ้ารัดอก
อันตรวาสก คือ ผ้าสบง (สำหรับนุ่ง)
อุตราสงค์ คือ ผ้าจีวร (สำหรับห่ม)
สังฆาฏิ คือ ผ้าสำหรับห่มซ้อนนอกเวลาอากาศหนาว ปกติพระสงฆ์ท่านจะพับไว้แล้วพาดซ้อนบ่า เวลาห่มดอง (เป็นการห่มจีวรอีกแบบหนึ่งของพระ)
กายพันธน์ คือ ผ้าประคดรัดเอว
ผ้าอังสะ คือ ผ้าสีเหลือง ลักษณะคล้ายเสื้อใช้คล้องไหล่เฉียงบ่าปิดไหล่ซ้าย พระจะใช้เมื่อเวลาอยู่ที่วัดตามลำพัง (ไม่ต้องห่มจีวรคลุมร่างทั้งผืน)
ผ้ารัดอก คือ ใช้สำหรับรัดจีวรเมื่อเวลาห่มดอง นอกจากนี้ยังมีผ้ากราบ ใช้สำหรับรองเมื่อเวลากราบและใช้ปูรับของเมื่อเวลาผู้หญิงประเคนของถวาย
ไตรอาศัย คือ ไตรสำรองอีกชุดหนึ่ง มีจีวร สบง อังสะ และผ้าอาบน้ำฝน
ไตรจีวรทั้งนิกายเถรวาทและมหายานคือคำว่า กาสาวะ หรือกาษายะ (บาลี: kasāva กาสาว; สันสกฤต: काषाय kāṣāya กาษาย; จีนตัวเต็ม: 袈裟; จีนตัวย่อ:袈裟; พินอิน: jiāshā; ญี่ปุ่น: 袈裟 kesa ?; เกาหลี: 가사, ฮันจา: 袈裟, MC: gasa; เวียดนาม: cà-sa) ซึ่งหมายเอาตามชื่อสีที่ใช้ย้อมทำจีวรเป็นหลัก โดยผ้ากาสาวะ หมายถึงผ้าย้อมน้ำฝาด ซึ่งก็คือผ้าไตรจีวรทั้งสามผืน ( สังฆาฏิ , อุตราสงฆ์ และอันตรวาสก ) นั่นเอง
กาษายะในเกาหลี พุทธจักรในเกาหลีเรียกจีวรว่า กาซา หรือ คาซา (อักษรฮันจา 袈裟 อักษรฮันกึล 가사) นับตั้งแต่พุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่คาบสมุทรเกาหลี การครองจีวรส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากจีน ซึ่งแตกต่างไปตามนานานิกาย อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ราชวงศ์โชซอน (1392–1910) เป็นต้นมา ภิกษุส่วนใหญ่ครองกาษายะสีเทาครองสังฆาติสีแดง ต่อมาหลังการปฏิรูปพุทธศาสนาครั้งใหญ่ระหว่างปี 1947 - 1962 พุทธจักรในเกาหลีแยกเป็น 2 นิกาย คือนิกายแทโก (อักษรฮันจา 太古宗 อักษรฮันกึล 태고종) ซึ่งครองอุตราสงค์สีเทา หรือสีน้ำเงิน สังฆาฏิสีแดง ขณะที่นิกายโชเก (อักษรฮันจา 曹溪宗 อักษรฮันกึล 조계종) ครองอุตราสงค์สีเทา หรือสีน้ำเงิน สังฆาฏิสีกรัก
2. Tibet,Nepali,Bhutan ทิเบต , เนปาล , ภูฏาน
กาษายะในทิเบต พุทธจักรในทิเบตถือตามพระวินัยของนิกายมูลสรวาสติวาท กาษายะส่วนใหญ่ของคณะนิกายต่างๆ ในทิเบตจึงมีสีแดงตามนิกายมูลสรวาสติวาท แต่ส่วนประกอบอื่นๆ มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละนิกา
3. Mongolian and Rusian มองโกลเลีย / รัสเซีย
4. Japanese ญี่ปุ่น
กาษายะในญี่ปุ่น พุทธจักรในญี่ปุ่นเรียกกาษายะว่า เกสะ (袈裟) นับแต่พุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนนี้ ลักษณะการครองและสีสันของผ้าแตกต่างกันไปตามนิกายที่มีอยู่หลากหลาย อีกทั้งยังมีการจำแนกแยกย่อยกาษายะตามคุณลักษณะการใช้งาน เช่นการครองผ้าตามวัตรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และการครองผ้าสำหรับงานพิธีกรรม อย่างน้อยมีการแบ่งกาษายะตามลักษณะต่างๆ ดังที่ว่านี้ ด้วยชื่อเรียกถึง 20 ชื่อ นอกจากนี้ ยังมี "วะเกสะ" หรือกาษายะครึ่งแบบ และ "ฮังเกสะ" หรือกาษายะเล็ก สำหรับอุบาสกผู้รับศีล
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักครองผ้าสีดำหรือสีเทาในยามปกติ นอกจากนี้ ยังรับธรรมเนียมการถวายกาษายะสีม่วงจากสมัยราชวงศ์ถังมาด้วย แต่ธรรมเนียมนี้ถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ การประกาศยกเลิกธรรมเนียมยังผลให้พระจักพรรดิทรงขัดเคืองพระทัยอย่างหนัก ถึงกับทรงสละราชสมบัติ เมื่อพระราชาคณะชั้นสูงประท้วงคำสั่งและไม่กระทำการตามประกาศ ภายหลังเหตุการณ์ที่เป็นข้อขัดแย้งสิ้นสุด พระภิกษุส่วนหนึ่งได้ถูกทางการเนรเทศ
5. Chinese sho-lin จีน
6. Chinese
7. Chinese Taiwan
กาษายะในจีน พุทธจักรในจีน เรียกจีวร หรือผ้ากาษายะว่า "เจียซา" (袈裟) ในสำเนียงมาตรฐานปัจจุบัน แต่ในสำเนียงจีนโบราณออกเสียงว่า "เกียซา" หรือ "กาซา" ในช่วงแรกที่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่แผ่นดินจีนนั้น พระภิกษุครองจีวรสีแดงเป็นหลัก แต่ต่อมาคณะนิกายมีความแตกต่างหลากหมายมากขึ้นสีสัน
8. Vietnamese เวียดนาม
9. Vietnamese
กาษายะในเวียดนาม พุทธจักรในเวียดนามครองกาษายะ หรือ กาสะ (cà-sa) ใกล้เคียงกับในจีน มีสีเหลือง สีส้ม สีกรัก สีแดง
10.Cambodians กัมพูชา
11.Myanmar ,Bangaladesh พม่า บังคลาเทศ
12.Laos ลาว
13.Sri Lankan,Indian and south Asian ศรีลังกา อินเดีย เอเซียใต้
14 Thailand ไทย