บรรยากาศการประกอบพิธีฮัจย์
"การประกอบพิธีฮัจญ์" เป็นหนึ่งใน "หลักปฏิบัติอิสลาม" ที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนที่มีความสามารถ ประกอบด้วย 1.การกล่าวปฏิญาณตน 2.การละหมาด 3.การถือศีลอด 4.การจ่ายซะกาต และ 5.การประกอบพิธีฮัจญ์
โดยการประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองมักกะฮ์นั้น เป็นสิ่งจำเป็นและบังคับเหนือมุสลิมที่มีสุขภาพแข็งแรง สติปัญญาสมบูรณ์ และมีทรัพย์สินเพียงพอในการใช้จ่ายโดยมิต้องเป็นหนี้สินและเดือดร้อนบุคคล ที่ต้องรับผิดชอบ และเส้นทางที่จะเดินทางไปจะต้องปลอดภัย
เป้าหมายสำคัญในการประกอบพิธีฮัจญ์ ก็เพื่อแสดงออกถึงความศรัทธา ความเสียสละทั้งกำลังกาย ทรัพย์สิน โดยเฉพาะเป็นการขัดเกลาจิตใจของชาวมุสลิมทั้งชายและหญิง ให้สะอาดบริสุทธิ์ โดยทุกขั้นตอนของ การประกอบพิธีฮัจญ์ มุสลิมทุกคนไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือสามัญชนธรรมดา ไม่ว่าจะมาจากเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ มีความแตกต่างในฐานะทางสังคมอย่างไร ก็จะต้องปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
บัยตุ้ลเลาะห์ หรือ กะบะฮ์
แผนผัง มัสยิดอัล-ฮารอม
การ ตอวาฟ
สำหรับการ ตอวาฟ คือ การเดินเวียนรอบบัยตุ้ลเลาะห์ หรือ กะบะฮ์ หรือ "บัยติ้ลลาฮิ้ลฮะรอม" ซึ่งตั้งอยู่ในมัสยิดอัล ฮะรอม เมืองมักกะฮ์ โดย "บัยตุ้ล เลาะห์" เป็นชุมทิศแห่งการเคารพภักดีของชาวมุสลิมผู้ศรัทธาทั่วโลก ที่ต้องผินหน้าในระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจ (การละหมาด)ไปยังสถานที่แห่งนั้น
ประเทศไทยการผินหน้าไปยัง "บัยติ้ลลาฮิ้ลฮะรอม" ตรงกับทางด้านทิศตะวันตก สำหรับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ก็จะผินหน้าไปสู่จุดหมายเดียวกัน แต่แตกต่างกันไปตามพิกัดของประเทศนั้นๆ
"บัยตุ้ลเลาะห์" มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส คลุมด้วยผ้าสักหลาดสีดำ พระผู้เป็นเจ้าได้มีบัญชาให้นบีอิบรอฮีม เป็นผู้สร้าง โดยมีลูกชายคือนบีอิสมาแอล ร่วมกันสร้าง ในระหว่างการก่อสร้างเมื่อต้องก่ออิฐขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงให้มีก้อนหินมารองรับศาสดาอิบรอฮีมและลอยขึ้น จนสามารถก่อสร้างระดับสูงได้สำเร็จ ดังปรากฏก้อนหินและรอยเท้าให้เห็นอยู่ในปัจจุบันที่เรียกว่า "มะก่อมอิบรอฮีม"
เนื่องจากบัยตุ้ลเลาะห์ คลุมด้วยผ้าสักหลาดสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือบัยตุ้ลเลาะห์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยที่พระผู้เป็นเจ้าได้ประทาน เดิมมีสีขาวยิ่งกว่านม แต่ต่อมาเนื่องถูกมลทินและความบาปของผู้ที่มาสัมผัสและจุมพิต จึงทำให้หินนี้กลายเป็นสีดำอย่างที่เห็นทุกวันนี้
โดย "หินดำ" ประดิษฐานที่มุมด้านประตูบัยตุ้ล เลาะห์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการตอวาฟ หรือเวียนรอบบัยตุ้ลเลาะห์
ทั้ง นี้ หลังจากที่ได้ก่อสร้างบัยตุ้ลเลาะห์แล้ว เสร็จ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบัญชาให้นบีอิบรอฮีมประกาศเชิญชวนให้บรรดาผู้ศรัทธามา ประกอบศาสนกิจและพิธีฮัจญ์ ณ สถานที่แห่งนี้ นับตั้งแต่นั้นชาว มุสลิมจากทั่วทุกมุมโลก จึงได้เดินทางมาประกอบศาสนกิจและพิธีฮัจญ์อย่าง ต่อเนื่องและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน
การเดินสะแอ
ใน อดีตพระนางฮาญัร ภรรยานบีอิบรอฮีม ต้องวิ่งไปมาอยู่ 7 รอบ ระหว่างภูเขาซอฟา และมัรวะฮ์ เพื่อหาน้ำให้ลูกของนาง จนกระทั่งพระผู้เป็นเจ้าได้ประทานน้ำซัมซัม ผุดขึ้นมาจากทะเลทราย และเป็นน้ำที่ไหลอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายกระทั่งถึงปัจจุบัน
ในขั้นตอนพิธีฮัจย์ ผู้แสวงบุญจะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะห์ ซึ่งมีระยะทาง ประมาณ 450 เมตร ไปมาจนครบ 7 เที่ยว เรียกว่าการเดิน "สะแอ" การเดินสะแอนี้เป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ในขณะนั้น สีเหลืองคือ ทางเดินสะแอ ระหว่างเนินเขาศอฟา - มัรวะห์
1. มุมหินดำ
2. มะกอมอิบรอฮีม (ที่ยืนท่านนบีอิบรอฮีม <รอยเท้า>)
3. ฮิจญ์รฺ อิสมาอีล (ห้องของท่านนบีอิสมาอีล)
4. บ่อน้ำซัมซัม
5. เส้นทางเดินเวียนรอบ (ตอวาฟ)
ต่อไปเป็นบรรยากาศกระโจมที่พักที่มีนายามเช้า
บรรยากาศภาพชีวิตจริงริมถนนใหญ่ข้างกระโจมที่พักที่มีนา
"ทุ่งอารอฟะฮ์"
ทุ่งอะราฟะฮุยามพระอาทิตย์อัศดงเตรียมเดินทางสู่มุซดะลิฟะฮุ
สำหรับ "ทุ่งอารอฟะฮ์" เป็นตำบลหนึ่งของเมืองมักกะฮ์ เป็นลานกว้างใหญ่ มีเทือกเขาเรียงรายเป็นรูปครึ่งวงกลม โดยตามประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ซึ่งนบีอาดัมและพระนางฮาวา มนุษย์คู่แรก ได้เดินทางมาพบกันเป็นครั้งแรกบนพื้นโลก
ดังนั้น การมาสงบนิ่งในสถานที่ดังกล่าว จึงเป็นการบัญญัติให้มนุษย์ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ของนบีอาดัม ได้มาพบปะกันปีละครั้ง หลังจากที่แยกย้ายกันไปจนกลายเป็นชนชาติต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันทั้งรูปร่าง ผิวพรรณ ภาษา และวัฒนธรรม
การประกอบกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การไปค้างแรมที่ตำบลมีนา, การขว้างเสาหิน, การเดินสะแอ คือ การเดินไปมาระหว่างภูเขาซอฟา และมัรวะฮ์ 7 รอบ, การตอวาฟ คือ การเดินเวียบรอบบัยตุ้ลเลาะห์ 7 รอบ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนล้วนเป็นการระลึกถึงประวัติศาสตร์อิสลามในอดีต ตั้งแต่ยุคของนบีอาดัม ศาสดาองค์แรก และระลึกถึงความศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของนบีอิบรอฮีมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า จนกระทั่งถึงนบีมูฮัมหมัด ศาสดาองค์สุดท้าย
ค้างแรมบนถนนที่มุซดะลิฟะฮุ
หลังละหมาดซุบห์เดินทางจากมุซดะลีฟะฮุไปมีนาเพื่อขว้างเสาหิน
การขว้างเสาหินก็เป็นรำลึกถึงนบีอิบ รอฮีม ที่ต้องต่อสู้กับเหล่าบรรดามารร้ายที่เข้ามาก่อกวนไม่ให้นบีสามารถปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าได้
เสาหินจะตั้งเรียงกันไป3ต้นรูปนี้เป็นต้นที่3(ญัมเราะตุลอะกอบะฮุ)
ทิวทัศน์หน้าอาคารขว้างเสาหินถ่ายจากชั้นที4
ทิวทัศน์มองจากทางเดินลาดลงชั้น4ตัวอาคารขว้างเสาหิน
ที่ครอบบ่อน้ำซัมซัมของเดิมภายในพิพิธภัณฑ์
ถนนจากมัสยิดอัล-ฮารอมสู่ที่พัก
ถนนมุ่งสู่มัสยิด อัล-ฮารอม มองจากชั้นดาดฟ้าที่พัก
วังและโรงแรมของกษัตริย์ซาอุฯบนเนินเขาซึ่งท่านนบีอิบรอฮีมขึ้นไปประกาศให้มุสลิมเดินทางไปทำพิธีฮัจย์ติดกับมัสยิด อัล-ฮารอมด้านขวามองเห็นนาฬิกาอยู่บนตึกระฟ้าเป็นศูนย์การค้าและโรงแรม5ดาวเดิมบริเวณนั้นเป็นที่ตั้งป้อมสมัยออสโตมาน
นาฬิกาใหญ่ที่สุดในโลกอยู่บนตึกหน้ามัสยิดอัล-ฮารอม จะมีเสียงอาซานทุกช่วงเวลาละหมาดเป็นการกล่าวความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า
ร่มเปิดปิดได้รอบลานมัสยิด nabawi(มัสยิดท่านนบี) นครมาดินะห์
ในปีหนึ่ง ๆ มุสลิมจากทั่วโลกประมาณ 3 ล้านกว่าคนจะเดินทางไปประกอบพีธีฮัจย์พร้อมกัน 1 ครั้งระยะเวลาที่ไปอาจจะไปแค่ประกอบพิธีฮัจย์ แล้วกลับเลย ส่วนมากจะไปที่เมืองมะดีนะห์ เพื่อไปละหมาดที่ Masjid Nabawi ก่อน แล้วเข้ามักกะห์ หรือ ไปมักกะห์เพื่อประกอบพิธีฮัจย์แล้วกลับมาที่มะดีนะห์ใช้เวลาโดยประมาณ 10-40 วัน และมีการเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
บัยตุลละฮในเชิงวิชาการ