หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รถเมล์ไทยจะไป ASEAN ได้อย่างไร

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

รถเมล์ไทยจะไป ASEAN ได้อย่างไร

จากคำถามนี้ รถเมล์ไทยคงไม่ได้ไป ASEAN ในเชิงกายภาพ แต่เป็นไปอาเซียนในเชิงการเปรียบเทียบ (Comparison) ในเรื่องของมาตรฐานการให้บริการขั้นพื้นฐานของรถเมล์ไทยว่า มีศักยภาพมากน้อยเพียงใด มีการเตรียมความพร้อมรับมือต่อการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) 2015 ของประเทศหรือไม่

ในประเด็นนี้ ต้องพิจารณาถึงองคาพยพและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น คุณภาพของการให้บริการ ความเหมาะสมของราคาค่าโดยสาร สภาพของตัวรถว่าอยู่ในสภาพพึงประสงค์ให้บริการได้หรือไม่ ความปลอดภัย อุปกรณ์อำนวยความสะดวกภายในรถ สัญลักษณ์ แผนที่ หรือป้ายบ่งชี้ภายในตัวรถที่ให้ข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ กับผู้โดยสาร

การบริการจัดการการเดินรถที่เป็นสากล ความเป็นมืออาชีพหรือทักษะการขับรถที่ดีของพนักงานขับรถยนต์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้การช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ ตลอดจนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รถโดยสารในปัจจุบันพึงจะต้องมีไว้ เช่น GPS ไว้ระบุตำแหน่งว่ารถเมล์ออกนอกเส้นทางหรือไม่ ใช้ความเร็วเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดอย่างไร ไฟหรือเสียงให้สัญญาณเมื่อรถออกตัว-รถหยุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้โดยสารที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง หรือผู้โดยสารที่มีความมีผิดปกติทางร่างกาย

สิ่งที่เกี่ยวข้องและประเด็นปลีกย่อยเหล่านี้ เป็นสิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้กำหนดนโนบายจากภาครัฐต้องมองภาพให้ทะลุ ปรุโปร่ง และละเอียดถ้วนถี่ให้ถึงองคาพยพต่าง ๆ เพื่อการบริหารจัดการทั้งระบบหรือยกเครื่อง (Overhaul) รถเมล์ไทยสู่มาตรฐานสากลที่มีความปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการ และมีความพร้อมสู่การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า

รถ อินโดนีเซีย

ภาพโดย อาจารย์ชนาธิป สุกใส

รถเมล์ไทย VS รถเมล์อินโดนีเซีย

สาเหตุหลักที่ผู้เขียนหยิบยกรถเมล์ไทยมาเปรียบเทียบกับอินโดนีเซียก็ เนื่องจาก ประเทศไทยและอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความคล้ายคลึงกันในหลากหลายมิติ เช่น สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาเหมือนกัน อาศัยเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นกลไกหลัก (Engine) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การขยายตัวของเมืองหลวง (Urbanization) การอพยพของคนต่างจังหวัดเพื่อมาทำงานเมืองหลวง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของไทยและอินโดนีเซียที่มีการวางวิสัยทัศน์และ เป้าหมายที่คล้ายคลึงกันคือ การก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของการประกอบและผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกในภูมิภาค ประกอบกับการที่ผู้เขียนเองได้มีโอกาสไปทำงานที่กรุงจาร์กาตาระยะหนึ่ง จึงทำให้เห็นภาพเหล่านี้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ตามทัศนะ (Mindset) ของคนกรุง หากจะมองและประเมินความพึงพอใจในรถเมล์ไทยแล้ว เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ภาพลักษณ์เชิงลบย่อมปรากฎแจ่มชัดมากกว่าภาพลักษณ์เชิงบวกอย่างแน่นอน เนื่องจากภาพลักษณ์ (Image) ของรถเมล์ไทยถูกมองเป็นภาพติดลบแล้วตั้งแต่ถูกตั้งคำถาม ทั้งนี้ ต้องย่อมรับโดยดุษฎีว่า ภาพลักษณ์และความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในใจคนกรุงต่อรถเมล์นั้นเป็นแบบนั้นจริง ๆ เพราะสิ่งปรากฎและสัมผัสได้ในเรื่องของความเสี่ยง

ความอันตรายของผู้ใช้บริการ ตลอดจนคุณภาพที่ย่ำแย่ของการให้บริการนั้น เป็นเรื่องจริง ยิ่งในเรื่องของความเป็นมิตร มารยาท และความสุภาพ ล้วนเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งในรถเมล์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถร้อน (Non-air condition bus) อย่างไรก็ดี ปัจจัยต่าง ๆ เบื้องต้นของรถเมล์ไทยกลับดีขึ้นในรถบริการแบบปรับอากาศ (Air condition bus)

อย่างไรก็ดี หากมองให้ลึกแล้วในเชิงเปรียบเทียบ ถือได้ว่าคนกรุงเทพฯ (Bangkokian) มีทางเลือกอื่น ๆ สำหรับการเดินทางมากมาย มากว่าคนจาการ์ตา (Jakartan) เนื่องจาก ระบบขนส่งสาธารณะของอินโดนีเซีย ไม่มีทั้ง BTS ไม่มีทั้ง MRT และไม่มีแม้กระทั่งการใช้เรือเป็นพาหนะในเมืองหลวง

ดังนั้น คนจาการ์ตาจึงไม่มีทางเลือกมากนัก และต้องทนใช้รถเมล์สาธารณะที่ค่อนข้างจะเก่าคร่ำครึมากเมื่อเทียบกับประเทศ ไทย ต้องอาศัยรถแท็กซี่ รถรับจ้างขนาดเล็ก (ภาษาอินโดนีเซีย เรียกว่า Mikrolet) หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ซึ่งหากมองให้ลึกไปกว่านี้แล้ว จาการ์ตาเป็นเมืองหลวงขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่ากรุงเทพฯ ของเราพอสมควร โดยมีประชากรที่อาศัยในเมืองหลวงกว่า 23 ล้านคน ในขณะที่กรุงเทพฯ มาประชากรอาศัยทั้งสิ้นราว 9.3 ล้านคน

ดังนั้น หากจะพิจารณาในแง่นี้ กรุงเทพฯ ค่อนข้างที่จะได้เปรียบจาการ์ตาอยู่หลายขุมเลยทีเดียว เนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะมีครบครันกว่า ในขณะเดียวกันจำนวนประชากรในเมืองหลวงก็มีน้อยกว่า ทำให้ความแออัดในกรุงเทพฯ และจาการ์ตาแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

อีกประการหนึ่งก็คือ รถเมล์ร้อนส่วนใหญ่ที่ให้บริการในกรุงจาการ์ตานั้น มีสภาพไม่แตกต่างจากรถเมล์ที่วิ่งระหว่างจังหวัดของไทยเมื่อสมัย 10 ปีก่อน นั่นก็คือ เป็นรถขนาดเล็กจุผู้โดยสารได้ไม่ถึง 30 คน เป็นรถเมล์ไม่มีกริ่งเวลาลงต้องใช้เหรียญเคาะกระจกเพื่อเป็นสัญญาณ หรือการตะโกนด้วยเสียงบอกคนขับเพื่อให้จอดรถ

เบาะที่นั่งบางส่วนเป็นไม้ และมีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่เหมาะกับผู้โดยสารที่มีร่างกายขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่มีตั๋วโดยสาร พนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารไม่มีเครื่องแบบพนักงานที่จะบ่งบอกถึง สถานภาพของตน ประตูรถไม่มีระบบปิด-เปิดอัตโนมัติหลังจากรถเคลื่อนที่ หรือแม้กระทั่งบางครั้งมีวนิพก หรือขอทานขึ้นมาบนรถปะปนกับผู้โดยสาร ซึ่งทำให้ผู้โดยสารที่ไม่ใช่คนท้องถิ่น (เช่นผม) รู้สึกไม่ปลอดภัยบ้างในบางครั้ง ฯลฯ

ภายในรถเมล์ อินโดนีเซีย ภาพโดยอาจารย์ชนาธิป สุกใส

ภายในรถเมล์ อินโดนีเซีย ภาพโดยอาจารย์ชนาธิป สุกใส

รถเมล์ไทยไม่ได้แย่อย่างที่คิด?

จากข้อมูลที่ได้นำเสนอไปข้างต้น ท่านผู้อ่านคงพอจะเห็นภาพ 2 ภาพ และพอที่จะเปรียบเทียบด้วยดุลพินิจของตนเองได้ว่า รถเมล์ในกรุงเทพฯ นั้น ถึงแม้จะมีภาพลักษณ์เชิงลบติดอยู่ในใจ ในหลาย ๆ แง่ หากแต่เราเปรียบเทียบกับอินโดนีเซีย เราเองก็คงภูมิอกภูมิใจพอสมควรว่า “เราดีกว่าตั้งเยอะ”

นี่ยังไม่ได้เปรียบเทียบกับลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยค่อนข้างมีสาธารณูปโภคด้านขนส่งสาธารณะที่ดีกว่า มีความพร้อมเรื่องของบุคลากร และเทคโนโลยีที่มากกว่า

อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจข้างต้นก็เป็นอนุสติเตือนใจตัวเราเองว่า ประเทศไทยของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนารถเมล์ให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นเป็น เรื่องจำเป็น มีความเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขอย่างจริงจัง และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการจัดระเบียบความเรียบร้อยของการเดินรถ มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการ ความปลอดภัย การติดตั้งป้ายหรือสัญลักษณ์ที่เป็นสากล ตลอดจนการพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์ลิเอ็กทรอนิกส์สมัยใหม่ที่สามารถอำนวยความ สะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ และคนพิการ

ในขณะเดียวกัน ผลการสำรวจดังกล่าวก็น่าจะทำให้หน่วยงานต่าง ๆ หรือผู้กำหนดนโยบายของประเทศในระดับชาติในฉุกคิดและพิจารณาว่า ปัญหารถเมล์ไทยควรได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมเสียที ไม่มีควรปล่อยไว้ให้เนิ่นนานกว่านี้ เพราะปัญหาก็ปัญหาเดิม ๆ ดังนั้น หากปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแล้ว เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่ยากเลยที่รถเมล์ไทยจะไปไกลถึงอาเซียน

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เชน ธนา การเงินวิกฤตหนัก ตัดใจประกาศขายออฟฟิศ 3 ตึก ราคารวมเกือบร้อยล้านเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮ! เงินไร่ละพันยังมาต่อเนื่อง! ชาวนารับเงินช่วยเหลือ ธ.ก.ส. กันอยู่หรือเปล่า? มาอัปเดตกันหน่อย!
ตั้งกระทู้ใหม่