การหยุดหายใจในขณะหลับ อันตรายแค่ไหน คุณเองก็อาจเคยเป็น
Sleep apnoea หมายถึงช่วงเวลาที่เกิดการหยุดหายใจมากกว่า 10 วินาที ใน ขณะที่กำลังนอนหลับ ช่วงของการหยุดหายใจสามารถเกิดขึ้นได้เป็นร้อยๆ ครั้ง ในคืนหนึ่ง และอาจถึงกับทำให้คุณรู้สึกตัวชั่วประเดียวประด๋าว ซึ่งมีผลทำให้ การหลับนั้นไม่ประติดประต่อในระหว่างช่วงนี้ระดับออกซิเจนในร่างกายจะลดลงจนอยู่ในระดับอันตราย ซึ่งสามารถทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติได้ คุณมีอาการต่างดังต่อไปนี้บ้างหรือไม่
- นอนกรนเสียงดัง กรนจนเป็นนิสัย
- คุณตื่นขึ้นมาบ่อยกลางดึก โดยไม่ได้ปวดปัสสาวะอะไรเลย
- คุณรู้สึกยังง่วงนอน ยังเพลียเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม
- คุณมีน้ำหนักตัวมากเกินปกติ
- คุณเคยรู้สึกหรือสังเกตุด้วยตนเองว่า เกิดสำลัก อ้าปากเวลานอน และมีการ หยุดหายใจระหว่างหลับ
สาเหตุของการหยุดหายใจที่พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 90 ของผู้ที่มีอาการ สลีป แอปเนีย ก็คือ ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น (Obstructive apnoea) เกิดขึ้นจากทางเดินของอากาศถูกขัดขวางโดยลิ้น ทอลซิน ลิ้นไก่ หรือไขมันที่พอกพูน บริเวณคอซึ่งมักเกิดกับคนอ้วนที่มีน้ำหนักมาก ทำให้เกิดการนอนกรนเสียงดัง มีการหยุดกรนและหยุดหายใจเป็นช่วงสั้นๆ จากนั้นก็เริ่มต้นของอาการใหม่ พร้อมกับการดิ้นไปมา และหายใจเฮือกเหมือนขาดอากาศ
อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากความผิดปกติที่ศูนย์หายใจในสมอง ( Central sleep apneoa) พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ที่มีอาการหยุดหายใจในขณะหลับ ศูนย์กลางของสมองซึ่งควบคุมการหายใจส่งสัญญาณผิกปกติทั้งที่ทางเดิน หายใจโล่ง แต่โครงสร้างในการหายใจที่หน้าอกและหน้าท้องไม่ได้รับข้อมูลจากสมอง สิ่งที่เกิดขึ้นคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ขณะที่ระดับออกซิเจนลดลงในระดับต่ำมากจนอาจเกิดอันตราย สมองก็จะสั่งการให้คุณตื่นชั่วประเดี๋ยวประด๋าวเพื่อหายใจ กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆ ในวงจรของการนอน ทำให้นอนหลับไม่สนิทเต็มที่ อาการข้างเคียงของภาวะการหยุดหายใจขณะหลับก็คือ คุณจะรู้สึกปวดหัวในตอนเช้า รู้สึกง่วงนอนในเวลาที่ไม่เหมาะสม ความดันโลหิตสูง ปากแห้งเวลาตื่น ซึมเศร้า เหงื่อออกเวลาหลับ หากปล่อยให้อาการเกิดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก กามตายด้าน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้การนอนไม่เพียงพอก็จะเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้
ส่วนวิธีการรักษาคือ หากน้ำหนักมากเกิน ให้พยายามลดน้ำหนักที่เกินลง แก้ปัญหาการกรนโดยการไม่นอนหงาย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ ในผู้ที่มีอาการหนักอาจต้องใช้เครื่องเป่าอากาศช่วย หรืออาจจำเป็น อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเลย