เด็กดาว์ซินโดรม วัย 16 ปี เป็นนักไวโอลิน พูดได้สี่ภาษา
ดาวน์ซินโดรม Down syndrome
ถ้าหากว่าคุณคิดว่าเด็กที่เป็นดาวซินโดรมคือสิ่งผิดปกติ คุณอาจจะต้องทบทวนความคิดเดิม
เพราะน้องเอมมานูแอล โจเซฟ บิชอป วัย 16 ปี เป็นตัวอย่างของเคสปาฏิหารย์มีอยู่จริง
- ในปี 1999 น้องเอมมานูแอลไปอ่านภาษาฝรั่งเศสที่ Lewis & Clark Community College in Godfrey, IL เมื่อตอนอายุ 3 ขวบ
- พออายุ 6 ขวบก็กล่าวสุนทรพจน์ 3 ภาษา ต่อหน้าผู้เข้าสัมมนา St. Louis NDSS Annual Conference Plenary Session 600 คน ในปี 2003
- ในปี 2009 เด็กวัย 12 ปีสามารถเล่นไวโอลินต่อผู้ฟัง 900 คนที่เข้าร่วมการประชุมดาว์ซินโดรมโลกครั้งที่ 10 ที่ประเทศไอร์แลนด์
และอีกครั้งที่ตุรกี กับวงซิมโฟนี ออเคสตร้า ทั้งนี้น้องเอมมานูแอล ยังพูดในการประชุมของเด็กดาวน์ซินโดรมหลายครั้ง
คุณพ่อคุณแม่ของน้องพยายามเลี้ยงดูลูกชายให้พร้อมใช้ความสามารถของตนให้มากกว่ารอการช่วยเหลือของพ่อแม่ เมื่อรู้ว่าลูกชอบ / สนใจในสิ่งใด ก็จะสนับสนุนเต็มที่ โดยมีความหวังเสมอๆ ว่า เด็กที่เป็นแบบนี้ต้องมีพรสวรรค์บางอย่าง แค่รอวันให้ปรากฎและน้องเอมมานูแอลก็แสดงให้เห็นว่าตนทำได้ ทั้งกีฬา ดนตรี และภาษา
น้องเรียนหนังสือที่บ้าน โดยพ่อแม่จะพูดทั้งภาษาอังกฤษ สเปน สลับกันให้น้องคุ้นเคย มีติวเตอร์สอนภาษาฝรั่งเศส ละติน
- แค่วัย 2 ขวบน้องก็อ่านหนังสือออก
- เมื่อวัย 6 ขวบได้เริ่มเรียนไวโอลิน Suzuki
- ขี่จักรยานได้ตอน 8 ขวบ
- ได้รางวัลโอลิมปิกพิเศษการเล่นกอล์ฟ และว่ายน้ำฟรีสไตล์ ตอน 200 และ 400 เมตร ในตอน 10 ขวบ
- และเป็นนักว่ายน้ำดาวซินโดรมรุ่นเยาว์อันดับ 6 ของโลก ตอนอายุ 13 ขวบ
Emmanuel Joseph Bishop (Age: 16)
การเลี้ยงลูกหลานที่เป็นดาวน์ซินโดรม
1. ยอมรับความจริง
เอเลนาพูดว่า “ดิฉันร้องไห้บ่อยๆเนื่องจากสภาพของซูซันนา [ลูกสาวของเรา]. แต่เมื่อเธออายุประมาณสี่ขวบ เธอบอกดิฉันว่า ‘แม่ อย่าร้องไห้. ไม่เป็นไรนะ.’ ดูเหมือนซูซันนาไม่เข้าใจว่าทำไมดิฉันร้องไห้ แต่ในตอนนั้นเอง ดิฉันหยุดสงสารตัวเองและเลิกครุ่นคิดในแง่ลบ. ตั้งแต่นั้น ดิฉันพยายามทุ่มเทตัวเองเพื่อช่วยเธอให้มีพัฒนาการมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้.”
2. ช่วยลูกให้ประสบความสำเร็จ
“เริ่มต้นโดยให้ความรักแก่พวกเขา ยิ่งได้รับการเอาใจใส่ การศึกษา และประสบการณ์จากสังคมมากเท่าไร พวกเขาก็จะมีพัฒนาการมากขึ้นเท่านั้น.
ในแต่ละปี เด็กดาวน์จำนวนมากขึ้นเข้าโรงเรียนทั่วไปและร่วมกิจกรรมทางสังคมกับพี่น้องหรือเพื่อนๆ. จริงอยู่ เด็กเหล่านี้มีปัญหาในการเรียนมากกว่าเด็กทั่วไป แต่การได้เรียนร่วมกับเด็กวัยเดียวกันดูเหมือนช่วยพวกเขาบางคนให้ดูแลตัวเอง มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และมีพัฒนาการทางสติปัญญา.
เนื่องจากพวกเขามีพัฒนาการช้ากว่า ยิ่งมีอายุมากขึ้นเด็กดาวน์ก็จะยิ่งเรียนไม่ทันเพื่อนมากขึ้น. ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังแนะนำให้พวกเขาไปโรงเรียนปกติในระดับมัธยม ถ้าครูและพ่อแม่เห็นตรงกันและมีการช่วยเหลือเพิ่มเติมในการเรียน.
3. ต้องเสียสละมากกว่าปกติ
“รักลูกให้มากๆ. ดูแลลูกเหมือนที่พ่อแม่ดูแลฉัน และอย่าลืมอดทน.”
หลายครอบครัวยืนยันว่าการมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมทำให้พวกเขาใกล้ชิดกันมากขึ้น. พี่น้องของเด็กดาวน์เห็นแก่ตัวน้อยลงและเห็นอกเห็นใจคนอื่นมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจคนพิการดีขึ้น.
ข้อแนะสำหรับการพูดคุยกับคนที่เป็นดาวน์ซินโดรม:
● อยู่ตรงหน้าเขาเพื่อสบตา.
● ใช้ภาษาง่ายๆและประโยคสั้นๆ.
● แสดงสีหน้าท่าทางประกอบการพูด.
● ให้เวลาเขาทำความเข้าใจและตอบคำถาม.
● ตั้งใจฟังและให้เขาทวนสิ่งที่เราบอกให้ทำ.
http://wol.jw.org/th/wol/d/r113/lp-si/102011207