หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หอคำ พระราชวังของกษัตริย์เชียงใหม่

โพสท์โดย ปัณณทัต คับ

หอคำ

หอคำ พระราชวังของกษัตริย์เชียงใหม่

คำว่า หอคำ เป็นคำของคนไทหลายกลุ่มที่ใช้เรียกที่อยู่ของเจ้าผู้ครองเมืองหรือ
ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า กษัตริย์
คำว่า หอคำ ก็คือคำว่า พระราชวังที่คนไทยรู้จักกันดี

กลุ่มคนไทที่เรียกพระราชวังว่าหอคำ ได้แก่คนไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทยอง ไทอาหม และไทยวน การศึกษาของบรรจบ พันธุเมธา (ไปสอบคำไท. ๒๕๒๒) คนไทเขินในเมืองเชียงตุง คนไทใหญ่ในเมืองไทย รัฐฉานของพม่าเรียกที่อยู่ของเจ้าผู้ครองเมืองว่า หอคำ และ หอเจ้าฟ้า

การศึกษาของเรณุ วิชาศิลป์ (พงศาวดารไทอาหม. ๒๕๓๙) พบว่าคนไทอาหมแห่งรัฐอัสสัมของอินเดียภาคตะวันออกติดกับพม่าเรียกที่อยู่ของ เจ้าผู้ครองเมืองว่า หอนอน หรือ หอหลวง

 

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่และล้านนาเรียกที่อยู่ของ
เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และล้านนา ว่า หอคำโดยตลอด

หอคำหลวง

ส่วนคนไทในสยามอยู่ใกล้ชิดกับอารยธรรมของเขมรซึ่งรับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง คนไทสยามจึงหันไปใช้คำว่า พระราชวังหรือ พระบรมมหาราชวังรวมทั้งคำว่ากษัตริย์ก็ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร ขณะที่คนไทกลุ่มอื่น ๆ ใช้คำว่า เจ้าเมือง, เจ้าหลวง หรือ เจ้าฟ้า เพื่อเรียกกษัตริย์

เนื่องจากคนไทสยามสามารถสถาปนาอาณาจักร ขึ้นได้อย่างมั่นคง แต่คนไทกลุ่มอื่น ๆ ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ และยังสูญเสียอำนาจการปกครองและศิลปวัฒนธรรมตลอดจนภาษาถูกทำลาย คำว่า หอคำจึงค่อย ๆ หายไป คนไทยทั่วประเทศจึงรู้จักแต่คำว่าพระราชวัง

นอกจากคำว่า หอคำยังมีคำว่า คุ้มหลวงที่ใช้ในความหมายเดียวกันและปรากฏในเอกสารตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ด้วย นั่นคือคำว่า พระบรมมหาราชวัง นั่นเอง

แต่คำว่า คุ้มคำเดียวแปลได้ ๒ อย่างคือ คุ้มที่หมายถึงหอคำ คือที่ประทับของเจ้าผู้ครองเมือง ซึ่งถ้าต้องการความหมายที่ชัดเจนก็ต้องใช้คำว่า คุ้มหลวง แต่หากเป็นคำว่าคุ้ม ยังอาจหมายถึงที่ประทับของเจ้านายในแง่นี้ คำว่าคุ้ม คำเดียวอาจหมายถึงคำว่า วังในภาษาไทย

 

กล่าวอีกแง่หนึ่ง คุ้มหรือวังมีได้หลายแห่งเพราะเจ้านายมีหลายคน แต่คำว่าคุ้มหลวง หรือหอคำก็คือพระราชวัง แม้จะมีหลายแห่งแต่ก็เป็นของเจ้านายทั่ว ๆ ไป จากการสำรวจของสมโชติ อ๋องสกุล ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ คุ้มภายในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่มีประมาณ ๒๕ คุ้ม แบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
๑. คุ้มที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจากทายาท
๒. คุ้มที่ทายาทขายไป แต่ยังคงได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
๓. คุ้มที่ทายาทรื้อเพื่อถวายวัด
๔. คุ้มที่ทายาทมอบให้ทางราชการ แต่ถูกรื้อไปแล้ว
๕. คุ้มที่ทายาทขายให้คนอื่น และถูกรื้อไปแล้ว เหลือแต่รูปภาพ และ
๖. คุ้มที่เหลือแต่ภาพ

หอคำที่เหลือแต่ภาพ

การที่คนไทในบริเวณหุบเขาต่าง ๆ คือ ไทยวน (คนเมืองใน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงตุง ในพม่า )
ไทลื้อ ไทยอง ไทใหญ่ ไทเขิน และไทอาหม มีคำใกล้เคียงกัน ก็สะท้อนให้เห็นประเด็นสำคัญ ๔ ข้อคือ

หนึ่ง ความเป็นมาที่คล้ายคลึงกันเพราะอยู่ใกล้เคียงกันและรับอิทธิพลเดียวกันและ

สอง คนไทสยามอยู่ใกล้เขมร ชื่นชมและยอมรับอารยธรรมเขมรและอินเดียคนไทสยามจึงรับอารยธรรมเหล่านั้นมา เป็นของตน และเมื่อสามารถสร้างอาณาจักรไทยได้ และเข้ายึดครองรัฐของคนไทกลุ่มอื่น ๆ รัฐไทสยามจึงขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรม
ของเขมร อินเดียไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ คำที่มีอยู่เดิมในแต่ละท้องถิ่นจึงเลือนหายไป แทบไม่มีใครรู้จัก ขณะที่คำจากไทสยามและวัฒนธรรมสยามเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ

สาม การที่กลุ่มคนไทส่วนใหญ่อยู่ในหุบเขา มีวัฒนธรรมร่วมกันค่อนข้างมาก และวัฒนธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงช้าด้วยสภาพภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าว อาจสะท้อนให้เห็นรากเหง้าหลายประการที่คนไทในอดีตเคยมี แต่เนื่องจากกลายเป็นเมืองขึ้นหรือสิ้นไร้อำนาจการเมือง วัฒนธรรมจึงถูกละเลยและทำลายตามไปด้วย และ

 

สี่ การที่คนกลุ่มใดก็ตามจะอวดอ้างความเป็น ไทหรือ ไทยและโฆษณาศิลปวัฒนธรรมของคนไทกลุ่มอื่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรและสร้างความเสียหายให้แก่วัฒนธรรมและคน ไทมากขึ้นเรื่อยๆ

ในภาพเป็นหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ ในราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้รื้อถวายวัดพันเตา

หอคำของกษัตริย์เชียงใหม่

เมื่อ พญามังรายยกทัพเข้าโจมตีและยึดเมืองหริภุญไชยได้ในปี พ.ศ. ๑๘๓๕ หลังจากนั้นจึงมาสร้างเวียงกุ๋มคาม (กุมกาม) ในปี พ.ศ. ๑๘๓๗ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสารภีในปัจจุบันและมาสร้างเวียงเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์ อำนาจบนลุ่มแม่น้ำปิงในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ ส่งผลให้เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์อำนาจของรัฐล้านนาซึ่งรวมเอาลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำปิงเข้าด้วยกันกระทั่งสามารถแผ่อิทธิพลไปถึงลุ่มแม่น้ำวัง ยม และน่าน กลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งที่สุดในบริเวณหุบเขาทั้งหลายที่ตั้งอยู่ตรงกลาง ระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำคง (สาละวิน)

การที่พญามังรายมิได้อาศัยเมืองหริภุญ ไชยเป็นศูนย์อำนาจของรัฐใหม่หลังจากที่ยึดได้แล้ว มิได้อาศัยเวียงเจ็ดลินและเวียงสวนดอก (ซึ่งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และรอบ ๆ ในปัจจุบัน) แต่ได้สร้างเมืองใหม่อีก ๒ เมืองคือ เวียงกุ๋มคาม และ เวียงเชียงใหม่ ย่อมต้องมีเหตุผลบางประการที่ควรศึกษาค้นคว้าต่อไป

ใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (ปริวรรตโดยอรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและเดวิด วัยอาจ, ๒๕๔๐) พญามังรายได้สร้างอาคารต่าง ๆ หลายหลังได้แก่หอนอน ราชวังคุ้มน้อย โรงคัล (สถานที่เข้าเฝ้า) โรงคำ (ท้องพระโรงที่เสด็จออกราชการ) เหล้ม (พระคลังมหาสมบัติ) ฉางหลวง (ที่เก็บเสบียง) โรงช้าง โรงม้า ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้รวมกันอยู่ในบริเวณหอคำ

ดังนั้น คำว่าหอคำ จึงอาจหมายถึงเฉพาะหอที่ประทับ หรือบริเวณทั้งหมดที่เป็นของกษัตริย์ก็ได้

ต่อมาภายหลัง เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร-อินเดียที่ไทสยามรับเข้ามาเผยแพร่ บวกกับคำบาลี-สันสกฤตที่เข้ามาทางวัฒนธรรมพุทธศาสนา
คำใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นพัฒนาการด้านภาษาอีกด้านหนึ่ง สะท้อนว่าอำนาจของผู้หกครองย่อมเพิ่มขึ้นได้ด้วยปัจจัยหลายด้าน เช่นด้านภาษา และศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

 

ใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่คำว่า หอคำ ไม่เพียงแต่หมายถึงที่ประทับหากยังเป็นคำเรียกพระนามของกษัตริย์บางพระองค์ เช่น คำว่า สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำลคอน” (ลำปาง) ส่วนในงานของบรรจบ พันธุเมธา (ไปสอบคำไท) เจ้าฟ้าของรัฐต่าง ๆ ในเขตฉาน ไม่ว่าจะเป็นคนไทเขินหรือไทใหญ่ ก็มีคำว่า เจ้าหอคำ” “ขุนหอคำซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับคนอยุธยา มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าปราสาททอง

ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าเชียงใหม่

เวียงแก้ว เวียงของกษัตริย์เชียงใหม่

เวียงแก้ว คือ เวียงของกษัตริย์ หมายถึง เขตพระบรมมหาราชวังของรัฐสยามนั่นเอง เมื่อเป็นเวียงก็ย่อมหมายถึงมีกำแพงล้อมรอบ

เวียงแก้วของเวียงเชียงใหม่ตั้งอยู่ใน เขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ ภายในเวียงแก้วมีหอคำอันเป็นที่ประทับ หอกลอง โรงคัล โรงคำ เหล้ม และอื่น ๆ ที่ได้กล่าวไปแล้ว

เวียงแก้ว ในที่นี้จึงมีความหมายกว้างกว่าคำว่าหอคำ เพราะเวียงแก้วรวมอาคารทั้งหมดไว้ภายใน

คำว่า แก้ว เป็นสิ่งของมีค่า ต่อมาจึงกลายเป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า ดี มีคุณค่าคำนี้จึงนำไปใช้กับสิ่งอื่นที่มีคุณค่า เช่น นางแก้ว เมียแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว (ลูกชายที่ออกบวชเป็นสามเณร ส่วนบริเวณรอบพระเจดีย์ ก็เรียกว่า ข่วงแก้ว

จากประตูช้างเผือก ซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือ อันเป็นเดชเมือง (หนึ่งในทักษาเมือง) บริเวณต่อจากนั้นจะเป็นที่โล่งกว้าง เรียกว่า “ข่วงหลวง” หรือ สนามหลวงเวียงแก้วจึงอยู่บริเวณใกล้ ๆ เขตหัวข่วง ที่ปัจจุบันคือวัดหัวข่วง ด้านทิศตะวันตก

คุกในหอคำ

คุกหรือที่คนเมืองเรียกว่า คอก ซึ่งมีไว้เพื่อจองจำนักโทษทั้งหลาย เอกสารในอดีตชี้ให้เห็นว่าคุกตั้งอยู่ในคุ้มหลายแห่งมิใช่มีคุกเดียวในคุ้ม เดียว และมิใช่ว่าคุกมีเฉพาะในหอคำเท่านั้น

หมายความว่าเจ้าหลวงและเจ้าายในอดีตมี อำนาจมากสามารถจับกุมคุมขังไพร่ที่ฝ่าฝืนคำสั่งหรือกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธร รมของยบ้านเมือง หรือไม่พอใจไพร่ทาสบางคนด้วยเหตุผลบางประการ เมื่อจับกุมคุมขังนักโทษ จึงต้องมีคุกไว้ วิธีการในสมัยก่อนก็คือสร้างคุกภายในบริเวณคุ้ม เพราะแต่ละคุ้มมีทหารและข้าราชบริพารคอยดูแลอยู่แล้ว ก็เพิ่มภาระให้ทหารเหล่านั้นดูแลคุกอีกอย่างหนึ่ง หรืออาจเพิ่มจำนวนทหารเพื่อทำหน้าที่ดูแลตรวจตราคุกเป็นพิเศษ

แรกเริ่มอาจเป็นห้องใดห้องหนึ่งโดยเฉพาะ ต่อมานานเข้า หรือเห็นว่านักโทษต้องมีสถานที่ลงโทษพิเศษ ก็อาจมีการสร้างอาคารเฉพาะหรือขุดดินลงไปให้นักโทษอยู่เพื่อยากแก่การหลบหนี

คุกกลาง หรือ คุกหลวงน่าจะหมายถึงคุกที่คุมขังนักโทษด้วยศาลลูกขุนที่แต่งตั้งโดยเจ้าหลวง เป็นคุกที่คุมขังนักโทษที่ทำผิดต่อรัฐหรือต่อบ้านเมือง หรือต่อบุคคลที่ผู้นำระดับเจ้าหลวงเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องลงมาดูแล เอง ส่วนคุกที่อยู่ภายในของแต่ละคุ้มเป็นคุ้มเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ เฉพาะภายในคุ้มนั้นนั่นเอง เช่น ลักเล็กขโมยน้อย หรือไพร่ทาสภายในคุ้มทะเลาะตบตีกัน เป็นชู้กัน หรือทำงานไม่เป็นที่พอใจของเจ้านาย หรือเจ้านายไม่ชอบใจไพร่ทาสบางคน ฯลฯ

อำนาจอันล้นฟ้าในระบอบศักดินาทำให้เจ้า หลวงและเจ้านายสามารถสั่งจับกุมคุมขังใครก็ได้อยู่แล้ว ในเมื่อทายแก้ต่างก็ไม่มีกฎหมายก็ไม่มีชัดเจนในหลายกรณี จึงขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจมีธรรมะเพียงใด และไพร่ทาสแข็งแกร่งมีอำนาจต่อรองระบบที่กดขี่ขูดรีดได้แค่ไหน

เช่น จากเอกสาร คอกในคุ้ม คุ้มในคอกของสมโชติ อ๋องสกุล (๒๕๔๕) ในสมัยเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงหรือเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ในราชวงศ์กาวิละ 
(พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๔๐) คุกของเมืองเชียงใหม่ (อาจารย์สมโชติใช้คำว่าคุกที่เป็นทางการ ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเหมือนกับคำว่าคุกกลาง หรือ State prison 
มิใช่คุกของเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่ง) อยู่ในคุ้มของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ คุ้มนี้ตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีตำรวจกองเมืองบนถนนราชดำเนินในปัจจุบัน

เมื่อเจ้าอุปราชบุญทวงศ์ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ใช้คุกในคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เป็นคุกทางการ คุกนี้ตั้งอยู่ที่บริเวณกลางเวียง เจ้าบุรีรัตน์ผู้เคยเป็นแม่ทัพปราบกบฏพญาผาบที่อำเภอสันทรายในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๓๓ น่าเชื่อว่าครั้งนั้นเมื่อชาวนากบฏจำนวนมากถูกจับกุมกบฏชาวนาจาก สันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง สารภี และ หางดงที่ถูกจับกุมในกรณีกบฏดังกล่าวถูกนำมาคุมขังที่นี่ก่อนการประหาร

เรื่องนี้สามารถสืบได้ว่าคุกในกรุงเทพฯ และอยุธยาตั้งอยู่ที่ใด มีการคลี่คลายอย่างไร แต่สำหรับคุกในสมัยราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ที่มีหลายแห่งภายในคุ้มต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงและข้อสังเกตบางประการ ดังต่อไปนี้

ประการแรก การที่เจ้าอินทวิทชยานนท์ใช้ทุกในคุ้มของเจ้านายบางองค์เป็นคุกทางการหรือ คุกกลางน่าจะแสดงว่า คุกในหอคำไม่มี อาจจะด้วยเหตุผลว่าไม่ต้องการให้สิ่งไม่ดีอยู่ในหอคำ ด้วยหวั่นเกรงอันตรายหรือความสกปรก ฯลฯ ขณะเดียวกันก็แสดงว่าเจ้าายเจ้าของคุ้มมที่คุกนั้นเป็นคุกกลางเป็นบุคลที่ เจ้าหลวงไว้ใจ ว่าจะต้องมีระบบการป้องกันนักโทษหลบหนีอย่างดี

ประการที่สอง การที่คุกอยู่ในคุ้มใดคุ้มหนึ่งหรือหลายคุ้ม ย่อมสะท้อนให้เห็นระบบการบริหารราชการอย่างง่าย การจัดแบ่งหน่วยงานยังไม่หลากหลาย กล่าวคือ ระบบการบริหารดังกล่าวมิได้จัดตั้งคุกเป็นพิเศษ เช่น ตั้งอาคารอยู่นอกกำแพงเมืองหรือแบ่งเขตรั้วให้ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ดูแลชัดเจนตามหน่วยราชการที่ตั้งขึ้น

ดังที่ได้กล่าวแล้ว การมีคุกอยู่ในคุ้มก็อาศัยทหารภายในคุ้มนั่นเองทำหน้าที่ดูแลนักโทษในคุก อยู่ไม่ไกลจากสายตา ดูแลง่าย ไม่ต้องเพิ่มกำลังพลเพื่อดูแลเฉพาะคุก

ประการที่สาม มีความเป็นไปได้อย่างมากที่นักโทษในแต่ละคุ้มมีจำนวนไม่มากนัก จึงถูกคุมขังไว้ในแต่ละคุ้ม เพราะถ้าหากมีมากมาย ก็ย่อมมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องคิดถึงการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อดูแลควบ คุมนักโทษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กล่าวโดยสรุป หอคำเป็นพระราชวังของกษัตริย์เมืองเชียงใหม่และเมืองต่าง ๆ ของคนไทยหลายกลุ่มหลายเมืองในบริเวณหุบเขาตั้งแต่ล้านนาขึ้นไป ส่วนเวียงแก้วแสดงให้เห็นบริเวณหอคำที่มีกำแพงล้อมรอบชัดเจน และคุ้มแต่ละแห่งมีคุกอยู่ภายในเพื่อคุมขังนักโทษ แต่คุ้มหลวงหรือเวียงแก้วหรือหอคำนั้นไม่มีคุก แต่คุกกลางอยู่ในคุ้มบางแห่งที่เจ้าหลวงชอบ

 

 

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ปัณณทัต คับ's profile


โพสท์โดย: ปัณณทัต คับ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
56 VOTES (4/5 จาก 14 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สลด! นักเรียน ม.4 วิ่งแค่ 200 เมตร วูบล้มดับในคาบพละมาดูรีเเอคชั่น เมื่อชาวต่างชาติได้ยินเพลง “ออเจ้า” ในเวอร์ชั่นโอเปร่า 🥰อ่านคน จากการแสดงออกทาง "แก้มและกราม"มังคุดคัด 8 ลูก 699 บาท! "พี่เอ ศุภชัย" เจอดราม่า ราคาแรงแซงโค้งฝากตัวรับใช้นาย!! พบมือปืนฟันน้ำนม ถือปืนขู่ขณะจอดติดไฟแดง โหดแท้พ่อคุณเอ้ย! 😁ผู้บริโภคโวย ‘ฉางอัน’ หั่นราคารถไฟฟ้า DEEPAL S07 เกือบ 3 แสน เพิ่งซื้อได้ 9 วันอาการเป็นยังไงอะแม่ ? "อรชร เชิญยิ้ม" เกือบขิตเข้าโรงหมอซ่อมร่างด่วน !!ยอดกฐินวัดดัง 2567 มากกว่าพันล้านนัท มีเรีย แจงเหตุ ท้องป่อง ทำหลายคนคิดว่าท้องทนายตั้มโผล่กองปราบ! หลังถูกแจ้งความ!อุบัติเหตุใหญ่ รถทัวร์ชนรถบรรทุกพ่วงผู้โดยสารเจ็บยกคันบุกบ้าน “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดังตี่ลี่” ปิดเงียบ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ทนายตั้มโผล่กองปราบ! หลังถูกแจ้งความ!รีวิว 2 ซีรีส์จีนมาแรงขณะนี้ เรื่องราวหญิงสาวอัญมณี กับ ดารารักนิรันดร์อาการเป็นยังไงอะแม่ ? "อรชร เชิญยิ้ม" เกือบขิตเข้าโรงหมอซ่อมร่างด่วน !!
ตั้งกระทู้ใหม่