หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สำเนียงเหน่อในปัจจุบันคือ "สำเนียงหลวง"ในสมัยอยุธยา

โพสท์โดย mata

สุจิตต์ วงษ์เทศ แห่งนิตยสารรายเดือนศิลปวัฒนธรรมเคยอธิบายไว้ว่า เสียงเหน่อสุพรรณเป็นสำเนียงในราชสำนัก อย่างน้อยก็ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลักฐานที่นำมายืนยัน ก็คือเสียงพากย์โขน เพราะโขนเกิดในสมัยกรุงศรีอธุยาและต้องใช้เสียงเหน่อตามแบบฉบับสุพรรณ เท่านั้นถึงจะพากย์ได้ลงตัว สำเนียงอื่นๆไม่อาจพากย์โขนได้ไพเราะอย่าง เด็ดขาด

สำเนียงท้องถิ่นในประเทศไทยมีมากมายหลายสำเนียง ผู้ที่มีภูมิลำเนาคนละจังหวัดมักมีสำเนียงพูดที่แตกต่างกัน สำเนียงสุพรรณเป็นสำเนียง หนึ่งที่รู้จักโดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าบรรดาสำเนียงต่างๆในภาษาไทย สำเนียงสุพรรณเป็นสำเนียงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด แต่เท่าที่ผ่านมาสำเนียง สุพรรณมักถูกกล่าวถึงในทางลบเป็นส่วนใหญ่ คือคนต่างถิ่นมักเห็นว่าสำเนียงสุพรรณเหน่อ และมักหัวเราะอย่างขบขันเมื่อได้ยินสำเนียงนี้ 

ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทย์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสำเนียง ท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำเนียงในภาคกลาง อาจารย์กัลยามีความเห็นว่าสำเนียงสุพรรณเป็น สำเนียงที่มีความไพเราะ หาสำเนียงอื่นเปรียบเทียบได้ยาก

สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนถึงสำเนียงสุพรรณไว้ในหนังสือสุพรรณบุรี 400 ปี ยุทธหัตถี ในหัวข้อเรื่องว่า คนสมัยนี้ว่า "เหน่อ" แต่คนสมัยอยุธยาว่า "สำเนียงหลวง" โดยกล่าวว่าเราไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอนว่าคนกรุงศรีอยุธยามีสำเนียงพูดเหมือนคนกรุงเทพหรือไม่ เพราะสมัยนั้นไม่มีเครื่องบันทึกเสียงและคน กรุงศรีอยุธยา ก็มีหลายกลุ่มหลาย เผ่าพันธ์ 

แต่สำเนียงหลวงในราชสำนักน่าจะใกล้เคียงกับสำเนียง เหน่อ แบบสุพรรณ เพราะสังเกตได้จาก ร่องรอยพากษ์และเจรจาโขน เป็นพยานอยู่ เหตุที่เจรจาโขนมีสำเนียงเช่นนี้ ก็เพราะราชสำนักอยุธยาพูดจาในชีวิตประจำวันด้วยสำเนียงอย่างนั้น 


ภาพบรรยากาศการแสดงโขน-ละตร ในอดีต

เมื่อโขนเป็นการละเล่นศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนัก การสืบทอดจะต้องรักษาขนบธรรมเนียมสำคัญของสมัยโบราณเอา ไว้ให้มากที่สุด ปัจจุบันกรมศิลปากรก็ยังพากษ์และเจรจาโขนด้วยสำเนียงดั้งเดิม เป็นสำเนียงหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา

สำเนียงสุพรรณมีเสียงวรรณยุกต์ส่วนใหญ่เป็นเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ จึงมีเสียงขึ้นๆลงๆทำให้เสียงเด่นขึ้น บางลักษณะมีระดับเสียงอยู่ ในช่วงสูง ทำให้สำเนียงสุพรรณ อยู่ไปในช่วงสูง จากลักษณะดังกล่าวทำให้สำเนียงสุพรรณนี้มีความไพเราะ

ไม่รู้นะ แต่สำหรับผมมองว่าเสียงเหน่ออะ น่ารักดี เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นที่ควรจะอนุรักษ์สืบไป

ปล. สำเนียงบางกอก (อย่างที่พูดทั่วประเทศปัจจุบัน) เป็น “บ้านนอก” หรือ “เหน่อ” ของยุคอยุธยานะครับ

ขอบคุณภาพจาก

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lovesiamoldbook&date=16-08-2012&group=1&gblog=28

ขอบคุณข้อมูลจาก
ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม
สมาคมประวัติศาสตร์ไทย
อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
52 VOTES (4/5 จาก 13 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รีวิวหนังสือ หมอเงินถาม หมอความตอบฮามาสเสียใจหลังผู้นำอิหร่านตายแล้วรู้หรือไม่ แมลงสาบนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"โจวเหวินฟะ" ออกกำลังมากเกินไป..ทำเอาแฟนๆ อดห่วงไม่ได้จังหวัดที่มีปริมาณผลผลิตลำไย มากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย8 ท่าออกกำลังกาย ช่วยหน้าอกกระชับซื้อกิน VS ทําอาหารกินเอง อันไหนประหยัดเงินมากกว่ากัน ?
ตั้งกระทู้ใหม่