การค้นพบ ยาเพนนิซิลิน (Penicillin)
เพนนิซิลิน (Penicillin)
ในปีช่วงปี 1920–1930
อเล็กซานเดอร์ เฟลมิง (Alexander Fleming) ค้นพบ “เพนนิซิลลิน” ขณะที่ทำงานอยู่ในห้องทดลอง ซึ่งยาปฏิชีวนะเป็นสารที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ ใช้เพื่อต่อสู้กับโรคหลาย ๆ ชนิด รวมทั้งนิวโมเนียและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เฟลมิงได้เพาะแบคทีเรียในจาน เขาสังเกตเห็นว่ามีเชื้อราสีเขียวอยู่ในจานหนึ่ง และแบคทีเรียตาย เฟลมิงศึกษาเชื้อราแล้วพบว่ามันเป็นเชื้อราที่อยู่ในกลุ่มเชื้อราที่มีรูปร่างคลายแปรงเรียกว่า เพนนิซิลิน เขาจึงเรียกการค้นพบของเขาว่า “เพนนิซิลิน”
จากการค้นพบครั้งนี้ เฟลมมิ่งได้รับการยกย่องและรับมอบรางวัลจากสถาบัน และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1944 เฟลมมิ่งได้รับพระราชทานยศเป็นท่านเซอร์ และปี ค.ศ.1945 เฟลมมิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขา แพทย์ร่วมกับโฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์ลเชน
ยาเพนนิซิลินเป็นยาที่มีประโยชน์อย่างมาก เพราะยาชนิดนี้สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากกว่า 80 โรค เช่น แอนแทรกซ์ คอตีบ ปอดอักเสบ บาดทะยัก และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
ปิ๊ง! จากเชื้อราขนมปัง
จากการสังเกตว่า ราที่ขึ้นบนขนมปังสามารถ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียตระกูลต่าง ๆ ได้ ซึ่งจากข้อสังเกตเล็ก ๆ ครั้งนี้ได้นำมาซึ่ง การค้นพบครั้งสำคัญต่อประวัติศาสตร์การแพทย์ เฟลมมิ่งพบว่า สารจาก ธรรมชาติสามารถใช้ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้
ในเวลาต่อมา ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความต้องการเพนนิซิลินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก แต่การสกัดยาปฏิชีวนะจากเชื้อรา เพนนิซิลินนั้นใช้เวลานาน และได้ยามาเพียงจำนวนน้อย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ จำนวนมากพยายามคิดค้นหาวิธีการที่จะผลิตเพนนิซิลินอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
ซึ่งในเวลาต่อมา นายแอนดริว เจ โมเยอร์ (Andrew J. Moyer) นักจุลชีววิทยา ผู้นำทีมวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา พบวิธีการเพาะเชื้อราในกรดแลกโตส และเหล้าข้าวโพด ทำให้สามารถผลิตเพนนิซิลินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเทคนิคนี้ต่อมาได้รับ การจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อปี ค.ศ. 1984