หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สัญลักษณ์ข้างผลิตภัณฑ์ บอกอะไรเราบ้าง?

Share แชร์โพสท์โดย โอโม่บอย

 

 

 

 

 

สัญลักษณ์ข้างผลิตภัณฑ์ บอกอะไรเราบ้าง?

 

เพื่อนชาว Postjung เคยงงกับข้อความและสัญลักษณ์ต่างๆบนฉลากเครื่องสำอางไหม วันนี้เรามาทำรู้จักกับฉลากเครื่องสำอางให้มากขึ้นกัน เริ่มจากสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ฉลากเครื่องสำอางไม่มีสัญลักษณ์ อ.ย. (ที่ชอบล้อกันว่า”อะหย่อย”) เหมือนตามฉลากอาหาร เครื่องสำอางเมื่อทำการจดแจ้งขึ้นทะเบียนกับ อ.ย. แล้วจะได้รับเลขที่ใบรับแจ้ง ซึ่งต้องระบุลงบนบรรทัดสุดท้ายของฉลาก ส่วนรายละเอียดบนฉลากอื่นๆที่กำหนดให้ระบุไว้ให้ผู้บริโภคอ่านเป็นข้อมูล คือ

 

- ประเภท หรือชนิดของเครื่องสำอาง เช่น โลชั่น เจล หรือ ครีม เป็นต้น

- ชื่อการค้า และชื่อเครื่องสำอาง

- ชื่อสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนประกอบ เรียงจากมากไปหาน้อย โดยชื่อนี้จะเป็นชื่อกลางที่ใช้กันทั่วโลก เรียกว่า INCI (International Nomenclature Cosmetic Ingredient) name

- วิธีใช้ เช่น ใช้ทาทั่วหน้า วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน

- คำเตือน เช่น หากมีอาการแพ้ให้หยุดใช้และไปพบแพทย์ทันที

- ชื่อและสถานที่ผลิต หรือนำเข้า

- ปริมาณสุทธิ

- เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต

- เดือน/ปี ที่ผลิต

- เดือน/ปีที่หมดอายุ (หากมีอายุการใช้งานต่ำกว่า 30 เดือน)

- นั่นแปลว่าถ้าเครื่องสำอางนั้นไม่ระบุเดือน/ปี ที่หมดอายุ ให้คิดว่ามีอายุอยู่ได้อย่างน้อย 30 เดือน นับจากเดือนที่ผลิต

- เลขที่ใบรับแจ้ง  คือ

รัฐจะออกใบรบัแจง้เรียงล าดับตามทมี่ีผู้มาแจ้งรายละเอียดในแต่ละปี     และแสดง เลขล าดับอยู่ทตี่อนบนของใบรับแจ้ง     “เลขที่ใบรับแจง้”จะประกอบดว้ยตวัเลข 10 หลัก   โดย 2 หลักแรก   บง่บอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จงัหวดัใด   หลักท ี่3 บ่งบอกว่า เป็นสนิค้าที่ผลติหรือนา เขา้หรือผลติเฉพาะเพื่อการส่งออก     หลักท ี่4 และ 5  จะ บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด     และหลักที่ 6-10 จะเป็นล าดบัของการ ออกใบรับแจ้งในปีพ.ศ. นั้น  ตวัอย่างเช่น  10-1-53-99999  หมายถงึ 

          10   หมายถึง   แจง้รายละเอียดทกี่รุงเทพฯ             1   หมายถึง   ผลติ            53  หมายถึง   แจง้ในปี พ.ศ. 2553       99999  หมายถึง   เปน็ใบรับแจ้งลา ดับที่ 99999 ที่ออกในป ีพ.ศ. 2553 เลขที่ใบรบัแจง้จะเป็นสญัลกัษณ์ที่บ่งชเี้กี่ยวกับการแจง้รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ เครื่องสา อางควบคุม  แต่ละรายการ  

- ข้อมุลดเพิ่มเติม  at: http://www.pleasehealth.com/index.php?option=com_content&view=article&id=682:2012-09-28-07-24-17&catid=4:trendy-health&Itemid=6#sthash.aiHdRc3g.dpuf

 

สัญลักษณ์ข้างผลิตภัณฑ์ บอกอะไรเราบ้าง?

 

เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Labels)

เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่าง ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้รีไซเคิล เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้ การคัดแยก และการรีไซเคิล รวมถึงการให้ความรู้แก่สาธารณะ และการรณรงค์เพื่อต่อต้านการทิ้งขยะเกลื่อนกลาด หรือกระตุ้นจิตสำนึกในการรีไซเคิล เป็นต้น

ประเทศที่มีกฎระเบียบเกี่ยวกับขยะบรรจุภัณฑ์ มักมีข้อกำหนดด้านการทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการคัดแยก อย่างไรก็ดี ข้อกำหนดรวมถึงเครื่องหมาย/สัญลักษณ์ ที่แต่ละประเทศ/ชุมชน กำหนดขึ้นในปัจจุบัน ยังเป็นสากลเท่าใดนัก ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาข้อกำหนด ด้านการทำเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ ของแต่ละประเทศก่อน

ดูเครื่องหมาย/สัญลักษณ์รีไซเคิล ของประเทศต่างๆ คลิกที่นี่ 

นอกจาก เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ที่ต้องแสดง ตามข้อกำหนดของกฎหมายแล้ว ยังมีประเด็นเกี่ยวกับ การติดป้าย/เครื่องหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ที่ผู้ผลิตสำแดง/สื่อให้ผู้บริโภครับรู้ เพื่อประโยชน์ทางการตลาด ที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง เนื่องจากสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังเป็นที่นิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้บริโภค ที่ต้องการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการแข่งขันกันในการโฆษณา ลักษณะเด่นทางสิ่งแวดล้อม ของสินค้าผ่านทางป้าย/เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ บนบรรจุภัณฑ์ มีแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่ตามมาคือ การเพิ่มปริมาณการแสดงเครื่องหมายที่เข้าข่าย การหลอกลวงผู้บริโภค ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ประเทศต่างๆ จึงมีมาตรการดำเนินการที่เข้มงวด (ผ่านทางกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค) เพื่อตรวจสอบการสำแดงทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Claim) และมีการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ผู้ประกอบการจึงควรให้ความระมัดระวัง กับการแสดงเครื่องหมายด้วย

เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ที่เป็นสากล

เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ ที่ไม่เป็นสากล นอกจากจะเป็นภาระต่อผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็น "กำแพง" การค้า ทำให้สินค้าไม่สามารถผ่านพรมแดนประเทศต่างๆ ได้อย่างเสรี องค์กรภาคเอกชนหลายหน่วยงาน จึงได้ร่วมกันพัฒนา เครื่องหมายสากล ขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นแนวทาง ตัวอย่างเครื่องหมาย/สัญลักษณ์ที่ใช้กันแพร่หลายในตลาดสากล มีดังนี้

ครื่องหมาย "รีไซเคิลได้ (Recycleble)" และ "มาจากรีไซเคิล (Recycled)"

Image
Image
Mobius Loop

 เครื่องหมาย "Mobius Loop" - ลูกศร 3 ดอก หมุนไล่กันตามกัน เป็นรูปสามเหลี่ยม ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ดังแสดงในด้านซ้าย เป็นสัญลักษณ์รีไซเคิล ดังเดิม โดยลูกศรแต่ละดอกแสดง "Recycling", "Recyclale", "Recycled Products"  
เมื่อใช้สัญลักษณ์นี้กับสินค้า จะเป็นการบ่งชี้ว่าสินค้าที่ระบุนี้ เป็นสินค้าที่ รีไซเคิลได้ กรณีที่มีกฎหมาย/ข้อกำหนดให้ต้องเก็บซาก เครื่องหมายนี้จะบอกให้รู้ว่า สามารถนำสินค้าที่มีเครื่องหมายนี้ ไปรีไซเคิลได้

 

 

Image
Image

 สินค้าที่มีเครื่องหมายนี้ มีวัสดุบางส่วนมาจากการรีไซเคิล โดยทั่วไปมักมีข้อมูลเพิ่มเติม เพื่ออธิบายเครื่องหมาย เช่น "พิมพ์บนกระดาษรีไซเคิล" และหากมีการระบุสัดส่วนเป็นเปอร์เซนต์ภายใน Mobius Loop ตัวเลขที่ระบะเป็นการแสดงสัดส่วน วัสดุรีไซเคิลที่ใช้ในสินค้

 

ระบบรหัสวัสดุ สำหรับขวดพลาสติก และเรซิ่น

สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก (Society of the Plastics Industry (SPI)) ได้กำหนดระบบรหัสเรซิ่น ในปี ค.ศ. 1988 เครื่องหมายนี้ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก และขวดพลาสติก (สำหรับชิ้นส่วนพลาสติก-ดูมาตรฐาน ISO 11469:1993 2000 “Plastics – Generic Identification and Marking of Plastic Products”) นอกจากนี้ 38-39 รัฐในสหรัฐอเมริกา (AK, AL, AZ, AR, CA, CO, CT , DE, FL, GA, HI, IA, IL, IN, KS, KY, LA, MD, ME, MA, MO, MS, MN, NC, ND, NE, NJ, NV, OH, OK, OR, RI, SC, SD, TN, TX, VA, WA, WI)  มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำเครื่องหมายบ่งชี้เรซิ่น โดยประยุกต์ใช้ระบบของ SPI

 
Image
Image
Polyethylene Teraphthalate (PETE หรือ PET)
 
Image
High-Density Polyethylene (HDPE)
 
Image
Image
 Polyvinyl Chloride (PVC หรือ V) 
 
Image
Low-Density Polyethylene (LDPE) 
 
 Image
Polypropylene (PP)
 
 Image
Polystyrene (PS)
 
 Image
 อื่นๆ 

กรณีที่ใช้วัสดุรีไซเคิลมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตอาจเพิ่มตัวอักษร "R" ด้านหน้าอักษรย่อ เช่น "RPS", "RHDPE" เพื่อแสดงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบว่าเรซิ่นที่ใช้ในสินค้าชิ้นนี้ ผ่านการรีไซเคิลมาแล้ว (อย่างน้อย 1 ครั้ง) แต่ยังสามารถรีไซเคิลได้อีก

เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ รีไซเคิลสำหรับกระดาษ

รูปแบบและการใช้สัญลักษณ์ตามแนวทางของ AF&PA (American Forest and Paper Association)

 
Image
เครื่องหมายนี้ใช้เพื่อระบุว่า สินค้านี้สามารถรีไซเคิลได้
 
ImageImage
เครื่องหมายนี้ใช้สำหรับสินค้าผลิตจาก 100% เส้นใยรีไซเคิล (Recycled Fiber)
 
 Image
เครื่องหมาย RPA-100% สำหรับสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่ทำจาก กระดาษ Paperboard รีไซเคิล 100% (อ่านเงื่อนไขวิธีการใช้เครื่องหมายที่ 100% Recycled Paperboard Alliance-www.rpa100.com)
 
Image
ระบุสัดส่วนเส้นใยรีไซเคิลที่ใช้ผลิตสินค้า ใต้ Mobius Loop กรณีที่สินค้าหรือบรรจุภัณฑ์มีสัดส่วน เส้นใยรีไซเคิลต่ำกว่า 100%
 
ImageImage
เครื่องหมายเฉพาะสำหรับกระดาษลูกฟูก พัฒนาโดย Corrugated Packaging Alliance(CPA)
 ImageImage
กรณีที่มีการเคลือบผิวกระดาษโดยวัสดุที่รีไซเคิลได้และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบของ CPA ผู้ผลิตสามารถใช้เครื่องหมายข้างต้น (เพิ่มตัว A=Wax Alternative) 

 

เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ รีไซเคิลสำหรับแก้ว

เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ สำหรับแก้วมักไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากไม่มีปัญหาในการบ่งชี้ ผู้บริโภคสามารถ คัดแยกขยะบรรจุภัณฑ์ที่ำทำจากแก้ว ออกจากวัสดุชนิดอื่นได้โดยง่าย แรงผลักดันในการทำเครื่องหมายบนแก้ว จึงมิใช่เพื่อการบ่งชี้วัสดุ แต่เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการประกาศคุณลักษณะทางสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ทางการตลาด (Environmental marketing claims)    

Image

เครื่องหมาย "Recycling G" พัฒนาโดย Glass Packaing Institute (GPI) เพื่อชี้ให้ผู้บริโภคทราบว่า บรรจุภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ ผลิตจากแก้วรีไซเคิล และสามารถนำไปรีไซเคิลได้อีก

 

 

Image

"Please put this in the bottle bank" เป็นเครื่องหมาย ที่มุ่งหวังเพื่อ การกระตุ้นจิตสำนึกของผู้บริโภค

 

 

ข้อควรระวังในการใช้เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ สิ่งแวดล้อม

การแสดงเครื่องหมาย/สัญลักษณ์ ในประเด็นทางสิ่งแวดล้อม นอกจากจะมีประเด็นด้านข้อกำหนดของกฎหมาย แล้ว ยังมีประเด็นผลประโยชน์ทางการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง การใช้เครื่องหมายรีไซเคิล บางรายการในบางประเทศ (เช่น สหภาพยุโรป) จำเป็นต้องมีหลักฐานและผลการทดสอบ  รวมถึงการตรวจประเมินจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ ในขณะที่การสำแดงทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Claim) ในด้านอื่นถูกจับตาอย่างใกล้ชิดในหลายประเทศ 

หากเราได้ออกสำรวจสินค้าในตลาด จะเห็นว่าปัจจุบัน การแข่งขันในตลาดสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม เริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ผู้บริโภคเริ่มนำประเด็นทางสิ่งแวดล้อมของสินค้า มาพิจารณาเปรียบเทียบ และหันมา
เลือกซื้อ สินค้า/บริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มากขึ้น ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ หรือ ป้ายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Labels-EL) หรือการสำแดงทางสิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดผู้บริโภค 

ปัญหาที่ตามมาคือ การเพิ่มปริมาณการแสดงเครื่องหมายที่เข้าข่าย การหลอกลวงผู้บริโภค ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา การแสดงเครื่องหมาย/สัญลักษณ์สิ่งแวดล้อม ของผู้ผลิตบางราย อาจแสดงขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีข้อมูล/ผลการทดสอบยืนยัน บางครั้ง เครื่องหมาย/สัญลักษณ์บางอย่างก็อาจ  ไม่ชัดเจนและทำให้ผู้บริโภคเ้ข้าใจผิด ซึ่งการให้ข้อมูล/การแสดงเครื่องหมายแก่ผู้บริโภคในลักษณะนี้ นอกจากจะก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ยังสามารถเป็นภัยต่อการพัฒนา  นวัตกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทำให้ผู้บริโภคเสื่อมความเชื่อมั่นในเครื่องหมายสิ่งแวดล้อม ประเทศต่างๆ จึงมีมาตรการดำเนินการ (ส่วนใหญ่ผ่านทาง กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค) ที่เข้มงวด เพื่อตรวจสอบการสำแดงทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Claim) และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด 

เพื่อป้องกันปัญหานี้ หลายประเทศ/หลายองค์กร ได้ออกมาชี้แจง และออกเอกสารคำแนะนำ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (รวมถึงผู้บริโภคและผู้บังคับใช้กฎหมาย) ได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตัวอย่างเอกสารสำคัญที่ควรศึกษาและนำมาใช้เป็นแนวทาง ในการทำเครื่องหมายบนสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เช่น

ศึกษาตัวอย่างวิธีการแสดงข้อมูล Environmental Claims ทั้งถูกและผิด คลิกที่นี่ 


แหล่งข้อมูล:

  1. American Forest and Paper Association: http://www.afandpa.org
  2. "Paper Recycling Symbol Guidelines & Environmental Marketing Claim", American Forest & Paper Association
  3. EarthOdyssey, LLC: http://www.earthodyssey.com/symbols.html 
  4. PaperSpec:http://www.paperspecs.com/resources/environment/recycling.htm
  5. Glass Packaging Institute: http://www.gpi.org/
  6. "16 CFR Part 260-Guides for the use of Environmental Marketing Claims", US-Federal Trade Commission, April 22, 1998
  7. "Guideline for Making ans Assessing Environmental Claims", December 2000, Report prepared by Dr. Juan Palerm for European Commission, Directorate-General Health & Consumer Protection, Report No. 67/94/22/1/00281 ดาวน์โหลดได้ที่ec.europa.eu/consumers/cons_safe/news/green/guidelines_en.pdf
  8. DEFRA website "Consumer Products and the Environment" http://www.defra.gov.uk/environment/consumerprod/publications/index.htm
  9. ข้อมูลทั้งหมดจาก ThaiRoHS.orghttp://www.thairohs.org/index.php?option=com_content&task=view&id=232&Itemid=131

 

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
โอโม่บอย's profile


โพสท์โดย: โอโม่บอย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
62 VOTES (4.1/5 จาก 15 คน)
VOTED: A PopEye
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เมื่อท่านรมต.ลาว เม้นแซะไทย ลั่น ถึงลาวไม่หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา..แต่ลาวไม่มีขอทานแบบไทย!?โป๊ะแตกอีก! เมื่อเขมรพยายามตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้อ้างว่า "สงกรานต์" คือของเขมรแต่โบราณ?"ลิซ่า" จะเดบิวต์เป็นดาวติ๊กต๊อก..แต่กลับโดนแซะว่าเลียนแบบ "กามิน"แดนเซอร์ "ลำไย ไหทองคำ" หล่อระดับพระเอก..ค่ายเตรียมดันเป็นศิลปินแล้วปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่รวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ 29/03/67 วันที่เป็นวันศุกร์ พรุ่งนี้หลายๆคนก็ได้หยุดแล้วน๊านักข่าวปาเลสไตน์โพสต์รูป ทหารอิสราเอลถือธงชาติไทยJKN ขาดทุน 2,157 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ธุรกิจคอนเทนต์แผ่วโชคลาภประจำเดือนเมษายน 2567 พยากรณ์โดย แม่หมอโซบีม
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
suggestion: คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ"ลิซ่า" จะเดบิวต์เป็นดาวติ๊กต๊อก..แต่กลับโดนแซะว่าเลียนแบบ "กามิน"ยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!โชคลาภประจำเดือนเมษายน 2567 พยากรณ์โดย แม่หมอโซบีม
ตั้งกระทู้ใหม่