หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สัตวแพทย์

เนื้อหาโดย I Believe I can Fly

สัตวแพทย์ คือ แพทย์ที่รักษาสัตว์ หรือกล่าวแบบภาษาชาวบ้านว่า "หมอรักษาสัตว์" โดยคำว่า veterinarian นิยมใช้ในอเมริกาเหนือ ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยโทมัส บราวน์ Thomas Browne หรือ veterinary surgeon นิยมใช้ในยุโรป ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ veterinae โดยมีหมายความว่า draught animals บางครั้งอาจจะใช้คำสั้นๆ ว่า "Vet"

ในประเทศไทย คาดว่า คำว่า สัตวแพทย์ พล.ต. ม.จ.ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ ผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของวิชาสัตวแพทย์สมัยใหม่ เป็นผู้ใช้คำนี้ โดยทรงก่อตั้งโรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นโรงเรียนนายสิบสัตวแพทย์ และ โรงเรียนนายดาบสัตวแพทย์ทหารบก ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย โดยต้องการผลิตกำลังพลป้อนกองทัพ และได้พัฒนาเป็นแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ เป็นปฐมคณบดี ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ในสถานศึกษาพลเรือนเป็นครั้งแรก เพื่อผลิตสัตวแพทย์ ในระดับปริญญา ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศในสมัยนั้น รัฐบาลได้โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์มาสังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2497 โดยมีการเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 2 ปี และไปเรียนที่ถนน อังรีดูนัง อีก 4 ปี ต่อมาได้มีการย้ายกิจการคณะไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดตั้งเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันเมื่อปี พุทธศักราช 2510 แต่ก็ยังมีอาจารย์และนิสิตส่วนหนึ่งอยู่พัฒนาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป โดยได้เชิญอธิบดีกรมปศุสัตว์ในสมัยนั้น คือ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์สงคราม เป็นคณบดี และถือว่า ท่านคือ บิดาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อย่างไรก็ตาม กรมปศุสัตว์ ก็เปิดสอนวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ในระดับประกาศนียบัตร ณ โรงเรียนสัตวแพทย์ Paraveterinary Schoolเพื่อผลิตบุคลกรให้กรมปศุสัตว์ เพื่อบรรเทาความขาดแคลนสัตวแพทย์ของประเทศ โดยมีเพลงนกน้อยในไร่ส้มเป็นเพลงที่ถูกแต่งเพื่อชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของสัตวแพทย์ในชนบท และถูกนำไปใช้ในวิชาชีพสื่อสารมวลชน ต่อมา

สำหรับประเทศไทย คำว่า "สัตวแพทย์" สามารถสื่อความหมายได้ 2 กรณี คือ สัตวแพทย์ (Parave)t และ นายสัตวแพทย์ (Veterinarian) นายสัตวแพทย์ คือ บุคคลที่เรียนจบสัตวแพทย์ ในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับคุณวุฒิ ปริญญาทางสัตวแพทยศาสตร์ (สพ.บ.) และ ได้รับ ใบประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง

สัตวแพทย์ คือ บุคคลที่เรียนจบ โรงเรียนสัตวแพทย์ ของ กรมปศุสัตว์ ได้รับประกาศนียบัตร (2ปี) และได้รับ ใบประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น สอง ปัจจุบัน โรงเรียนสัตวแพทย์ ของกรมปศุสัตว์ ได้ยุบและโอนย้ายไปเป็น คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดทำการสอนในระดับปริญญา ด้าน เทคนิคการสัตวแพทย์ (4ปี)

นักเทคนิคการสัตวแพทย์ หรือ นักเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ คือ บุคคลที่จบการศึกษา สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ (Veterinary Technology) ซึ่งทำหน้าที่เชิงบูรณาการในกลุ่มการดูแลสุขภาพสัตว์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการดูแลและจับบังคับสัตว์ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการชีวิตทั้งปกติและผิดปกติของสัตว์และสามารถปฏิบัติหน้าที่การจัดการดูแลสัตว์ การตรวจชันสูตรทางปฏิบัติการและสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพยาบาลสัตว์ได้ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล (Supervision) ของสัตวแพทย์ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 เท่านั้น โดยสามารถเป็นผู้สนับสนุนในงานสัตวแพทย์ในหลายประการ แต่ไม่สามารถบำบัดรักษาโรค วินิจฉัยโรค จ่ายยา ผ่าตัด ฉีดยา หรือการกระทำอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดห้ามได้ โดยปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับอาชีพเทคนิคการสัตวแพทย์ (การปฏิบัติหน้าที่ด้านพยาบาลสัตว์ หรือการสนับสนุนช่วยเหลือสัตวแพทย์ด้านบำบัดรักษา นักเทคนิคการแพทย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เพียงลำพัง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 เท่านั้น ยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ด้านสัตว์ทดลอง ฯลฯ นักเทคนิคการสัตวแพทย์สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ และ/หรือ ตามภาระงาน - Job description ทั้งนี้ในอเมริกาเหนือ ผู้จบการศึกษาทุกระดับ ต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ และ/หรือรัฐ นอกจากนั้นการทำงานเป็นคณะ - teamwork มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อระบบบริการสุขภาพสัตว์)

การแบ่งประเภทของสาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ ตามระบบการศึกษาของอเมริกาเหนือ (North America) แบ่งออกตามระดับการศึกษาเป็น 3 ระดับ ตามคุณวุฒิ ดังนี้

1. นักเทคนิคการสัตวแพทย์ หรือ "Veterinary Technologist" หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาทาง Veterinary Technology ในระดับปริญญาตรี (Bachelor Degree) ในสหรัฐอเมริกา สำหรับในแคนาดา จะเรียกว่า "Animal Health Technology" หรือ "เทคโนโลยีสุขภาพสัตว์"

โดยสามารถทำหน้าที่เป็นพยาบาลสัตว์ (Veterinary Nurse) และ สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการคลินิกทางสัตวแพทย์ได้ (Veterinary Clinical Laboratory Scientist) โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หลายประการ อาทิ นักเทคนิคการสัตวแพทย์ในสวนสัตว์หรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้ (Zoo Veterinary Technologist/Technician) ปฏิบัติหน้าที่นักวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองในหน่วยทรัพยากรสัตว์ทดลอง (Laboratory Animal Technologist/Technician) หรือปฏิบัติงานในฟาร์มปศุสัตว์ หรือ หน่วยวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือวิทยาการอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย

ทั้งนี้ถือว่าสาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ เป็น "พหุวิทยาการ" และนักเทคนิคการสัตวแพทย์ เป็น "พหุวิชาชีพ" สาขาหนึ่งที่มีความสำคัญในระบบบริการสุขภาพมนุษย์และสัตว์เป็นอย่างมาก

ในประเทศไทย มีหลักสูตรเปิดสอนในระดับปริญญาตรี สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ ในหลายสถาบัน และ อาจจะหมายรวมถึง หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ (Animal Health Science) ด้วย (เป็นข้อสังเกตเท่านั้น) แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีระบบมาตรฐานกลางในการจัดการศึกษาในสาขาวิชานี้ ทั้งนี้แต่ละสถาบันการศึกษามีอิสระในการพัฒนาหลักสูตรของตนเอง

2. เจ้าหน้าที่เทคนิคการสัตวแพทย์ หรือ "Veterinary Technician" หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาทาง Veterinary Technology ในระดับอนุปริญญา (Associate Degree) สำหรับในประเทศไทย อาจจะหมายถึง ผู้ที่จบการศึกษา ปว.ส. หรือ อนุปริญญา สาขาสัตวรักษ์ (เป็นข้อสังเกตเท่านั้น)

โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เหมือนกับนักเทคนิคการสัตวแพทย์ แต่อาจจะได้รับมอบหมายภาระงานที่รับผิดชอบตามกรอบมาตรฐานตำแหน่งที่แตกต่างกัน

3. ผู้ช่วยสัตวแพทย์ หรือ "Veterinary Assistant" หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรทางสุขภาพสัตว์ (Animal Health) หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้สถานศึกษาบางแห่งอาจจะเรียกชื่อหลักสูตรว่าการบริบาลสัตว์ (Animal Care) หรืออาจจะเรียกชื่อหลักสูตรเป็นอย่างอื่น หรืออาจจะจัดให้มีหลักสูตรเป็นการเฉพาะอย่าง รวมทั้งบุคคลที่ได้ฝึกปฏิบัติงานโดยตรง (On-the-Job Training) จากผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น 1 ด้วย โดยต้องขึ้นทะเบียนกับสมาคมหรือองค์กรอาชีพที่เกี่ยวข้อง

(มีข้อสังเกตว่า Veterinary Technologist/Technician เป็นส่วนหนึ่งของ Veterinary Acts/Veterinary Surgeons Act/VETERINARY PRACTICE ACT ไม่ได้แยกวิชาชีพนี้ออกจากวิชาชีพการสัตวแพทย์ การควบคุมทางกฎหมาย อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน)

สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรแบบเดียวกันกับในอเมริกาเหนือ แต่สำหรับการฝึกบุคคลเพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยสัตวแพทย์นั้นขึ้นอยู่กับสัตวแพทย์ประจำสถานพยาบาลสัตว์หรือเจ้าของกิจการสถานพยาบาลสัตว์ สามารถทำการรับสมัครบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาต่างๆ กัน เพื่อฝึกบุคคลนั้นให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยสัตวแพทย์โดยอิสระ

การจัดการศึกษาและประกอบอาชีพทั้ง 3 ประเภทข้างต้น ในอเมริกาเหนือจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตกับสมาคมหรือองค์กรอาชีพด้วย

สำหรับการจัดการศึกษาตามระบบของยุโรป นิยมจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรการพยาบาลสัตว์ (Veterinary Nursing Science) เป็นส่วนใหญ่ โดยเน้นการเป็นพยาบาลสัตว์ (Veterinary Nurse) เป็นสำคัญ แต่สถานศึกษาบางแห่งอาจจะเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ในหลักสูตรพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์ (Veterinary Pathology) เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติหน้าที่การตรวจทางห้องปฏิบัติการคลินิก เป็นการเฉพาะ และสถาบันการศึกษาบางแห่งยังเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาสหเวชศาสตร์ทางสัตวแพทย์ต่างๆ เช่น กายภาพบำบัดทางสัตวแพทย์ เป็นต้น

สำหรับการแปลคำว่า Veterinary Technology ว่า เทคนิคการสัตวแพทย์ นั้น สาขาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ เข้าใจว่าน่าจะแปลผิดศัพท์บัญญัติ คำว่า Technology ควรแปลตรงตัวว่า เทคโนโลยี ดังนั้นควรแปลว่า เทคโนโลยีการสัตวแพทย์ จะเป็นการแปลคำศัพท์ตรงความหมายและศัพท์บัญญัติ

"เทคโนโลยี" และ "เทคนิค" ว่าความหมายที่ครอบคลุมแตกต่างกัน นอกจากนั้นการแปลว่า "เทคโนโลยีการสัตวแพทย์" จึงเป็นการไม่ดูถูกตัวเอง และสามารถสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะถึงความแตกต่างระหว่างสัตวแพทยศาสตร์ และเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ ได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นสาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ โดยสาขาวิชาฯ จึงแปลคำศัพท์เป็น "เทคโนโลยีการสัตวแพทย์ " แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน นิยมคำว่า เทคโนโลยีสุขภาพสัตว์ อย่างที่ใช้ในแคนาดามากกว่า

บทความนี้อาศัยข้อมูลจากระบบการศึกษาของอเมริกาเหนือ อาจะเหมือนหรือแตกต่างจากระบบการศึกษาของประเทศไทย และกฎหมายที่ใช้บังคับอาจจะแตกต่างกัน และให้ข้อมูลตารมบริบทของต่างประเทศและความทันสมัยของข้อมูลมีเพียงเฉพาะ ณ วันที่เขียนข้อมูลนี้เท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับในปัจจุบันที่ท่านอ่านข้อความนี้ โดย อ.น.สพ.ดร.สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปัจจุบันมีการเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ ในระดับปริญญาตรีเกืดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นมานานแล้วถึง 17 ปี เพราะมีการผลิตนักเทคนิคการสัตวแพทย์มาแล้วเกือบ 17 รุ่น โดยการเรียนดังกล่าวอยู่ที่ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน (อยู่ติดกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความสามารถทางด้านห้องปฏิบัติการในสัตว์เกือบทุกชนิดไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเพียงสัตว์เล็ก หรือ สัตว์ทดลอง แต่ขยายไปถึงสัตว์เศรษฐกิจด้วย อีกทั้งยังสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการ เป็นเจ้าของกิจการทางแล็ปเอกชน และเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับผู้ที่สนใจในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเอกที่ต้องใช้พื้นฐานของความรู้ด้านสัตวศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ สัตวแพทย์ แบบผสมผสานกัน และเป็นคณะที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน และเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในองค์กรต่างๆ ในส่วนของการเปรียบเที่ยบกับ นายสัตวแพทย์นั้น ไม่สามารถกล่าวได้ว่าวิชาชีพต้องอยู่ภายใต้วิชาชีพใด เพราะขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกัน และลำดับการทำงาน ซึ่งบางครั้งอาจเกี่ยวกันมาก และสอดคล้องกัน หรือบางงานอาจแยกออกจากกันอย่างชัดเจน มีความเป็นเอกภาพในวิชาชีพของตนเอง

และในปัจจุบันมีการก่อตั้ง สมาคมเทคนิคการสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย เกิดขึ้นแล้ว (VETERINARY TECHNOLOGY ASSOIATION OF THAILAND,VTAT ) มีหน้าที่กำกับดูแลในเนื้อหาของวิชาชีพนี้ เป็นแหล่งข้อมูล และควบคุมส่งเสริมการทำงานในสายงานนี้ให้เป็นที่รู้จักในสังคมมากขึ้น และควมคุมคุณภาพในการผลิตบุคลากรในวิชาชีพนี้ร่วมกับ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกไม่นาน VTAT จะมีแหล่งข่าวสารผ่านทางเวปไชด์ให้ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมกัน

 

 

เนื้อหาโดย: I Believe I can Fly
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
I Believe I can Fly's profile


โพสท์โดย: I Believe I can Fly
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
52 VOTES (4/5 จาก 13 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เผยคำพูดปารีณา พูดกับเสรีพิศุทธ์ ในงานศwพ่อหนุ่มเครียด! สอบติดอัยการผู้ช่วย ควรเลิกกับแฟนที่เป็นพนักงานบริษัทดีไหม?ช้าหน่อยนะครับ!! เมื่อเจ้าของร้านไล่พนักงานออกยกเซต 8 คน เพราะขโมยเงิน งานนี้ต้องกลับมาทำทุกอย่างเองทั้งหมด 😌ร้านดังเชียงใหม่ เปิดตัวไอติมฝุ่น pm 2.5เขมรคือต้นกำเนิด วัฒนธรรมของการกิน 'สุนัข' ?ชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานอดีตพระเอกดัง เตรียมตัวย้ายประเทศไปเยอรมนีสวนปาล์มต้องเสียหาย เพราะความมักง่ายของคนมิจฉาชีพอ้าง! เป็น "อีลอน มัสก์"..หลอกสาวสูญเงินกว่า 2 ล้านบาท
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
5 สาเหตุ ที่คนแก่ยึดติดกับอะไรเดิม ๆหนุ่มเครียด! สอบติดอัยการผู้ช่วย ควรเลิกกับแฟนที่เป็นพนักงานบริษัทดีไหม?ป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ง่ายๆ..แค่บล็อกสายโทรเข้าจากต่างประเทศวาฬ 160 ตัวเกยตื้น (อีกแล้ว) ในออสเตรเลีย
ตั้งกระทู้ใหม่