หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม จริงหรือไม่ที่ ไอน์สไตน์ ก็เป็น

โพสท์โดย mata

แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger's Syndrome)  เป็นความบกพร่องทางพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว   เป็นความผิดปกติของพัฒนาการด้านสังคม และการสื่อสาร   จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคออทิสติก (Autistic Disorder)  โดยมักแสดงอาการออกมาให้เห็นตั้งแต่เด็ก อายุประมาณ 3 ขวบขึ้นไป  พ่อแม่อาจสังเกตพบว่า ลูกมีพฤติกรรมแปลกจากเด็กทั่วไป เช่น ชอบเล่นของเล่นซ้ำ ๆ นั่งนิ่ง ๆ ไม่สบตา ชอบทำกิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำๆ  ไม่ค่อยแสดงอารมณ์โต้ตอบ ไม่สามารถเรียนรู้ที่จะแสดงความรักได้หรือความพึงพอใจได้   

  

  

เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์นั้น จะแตกต่างจากเด็กที่เป็นออทิสติค  เพราะเด็กแอสเพอร์เกอร์ในช่วงแรก มักจะมีการพัฒนาด้านภาษาได้ตามเกณฑ์อายุ มีความสามารถในการใช้รูปประโยค และคำศัพท์ต่างๆ ในการพูดได้ค่อนข้างดีเป็นปกติ แต่เมื่ออายุมากขึ้น จะเริ่มมีปัญหาในการใช้ภาษา

แต่เด็กแอสเพอร์เกอร์นั้นจะไม่สูญเสียความสามารถทางการพูด คือ พูดได้เหมือนคนปกติ  (ในขณะที่โรคใกล้เคียง คือ ออทิสติก เด็กจะมีปัญหาเรื่องการพูดมากกว่า รวมทั้งอาการผิดปกติอย่างอื่นที่รุนแรงกว่า ในอดีตจึงเข้าใจว่าแอสเพอร์เกอร์ ก็คือออทิสติก แต่เป็นออทิสติกที่มีศักยภาพสูงกว่า)   และนอกจากนี้  เด็กแอสเพอร์เกอร์  ยังมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง  มีทักษะในบางเรื่อง ที่อาจจะดูดีกว่าเด็กอื่น แต่สำหรับทักษะบางด้านอาจจะด้อยกว่า แต่โดยรวมแล้วเด็กเหล่านี้จะมีระดับสติปัญญาที่เป็นปกติ หรืออาจจะดีกว่าปกติด้วยซ้ำ


Hans Asperger 

ย้อนกลับไปถึงการค้นพบที่มาของโรคนี้  ตั้งแต่เมื่อปี  ค. ศ. 1940  โดย คุณหมอ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger)  ได้รายงานถึงกลุ่มอาการผิดปกติทางด้านพฤติกรรม และพัฒนาการของเด็ก  ที่พบลักษณะของกลุ่มอาการเหล่านี้    ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายที่มีความเฉลียวฉลาด และสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ  แม้แต่การพัฒนาการด้านการใช้ภาษา ก็ดูเป็นปกติ แต่เด็กเหล่านี้มีปัญหาค่อนข้างมาก ในด้านทักษะการเข้าสังคม โดยเฉพาะการสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจ และการปฏิบัติตนร่วมกับคนอื่น ๆ

โดยทั่วไปเด็กที่มีปัญหาในกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์นี้ ส่วนใหญ่จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ แต่อาจจะมีปัญหาบ้าง เมื่อต้องมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ โดยอาจมีพฤติกรรมการแสดงออก ที่ไม่สมกับวัย ดูเด็กกว่าวัย  หรือมีลักษณะแปลกๆ ต่างจากเด็กคนอื่นๆ  แต่เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็ยังจะมีปัญหาในการเข้าสังคมกับผู้อื่น เช่น อาจจะไม่ค่อยสนใจในความรู้สึกของผู้อื่น ไม่ค่อยมีความเห็นอกเห็นใจ หรือมีอารมณ์ร่วมกับคนอื่นๆ ทำให้มีปัญหาในการปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้าง พบว่าปัญหาเหล่านี้ จะยังคงอยู่ไปตลอด แม้ว่าจะมีอายุมากขึ้น และมีวุฒิภาวะมากขึ้น ตามวัยแล้วก็ตาม แต่อาการแสดงต่างๆ อาจจะมีมาก หรือน้อยเป็นช่วงๆได้

  

หรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังก้องโลกอย่าง  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  และ  เซอร์ไอแซค นิวตัน  ก็ถูกกล่าวหาว่าป่วยเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม นี้้เช่นกัน  โดยจากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด  ที่วิจัยว่า   อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ตอนสมัยเด็ก ๆ เป็นเด็กที่ค่อนข้างโดดเดี่ยว และมีอาการพูดซ้ำ ๆ แต่ก็หายป็นปกติตอนอายุได้ 7 ขวบ และมาผูกโยงเข้ากับเรื่องการสื่อภาษาที่สับสน เข้าใจยาก โดยเฉพาะการบรรยายในห้องเรียนที่ไอน์สไตน์รับผิดชอบสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย 3-4 แห่ง   ส่วน เซอร์ ไอแซค นิวตัน นั้น เพราะเขาหมกมุ่นกับงานมากเกินไป มีเพื่อนน้อย และไม่ค่อยพูดคุยกับใคร รวมทั้งมีอาการประสาทและหวาดระแวงคุกคามในช่วงบั้นปลายชีวิต

 

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ 

แต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยกับงานวิจัยนี้เช่นกัน   อย่างนักจิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียนาม ดร.เกลน อีเลียต    ซึ่งได้ให้เหตุผลทางหลักการจิตวิทยาหลายข้อด้วยกัน  เช่นการบรรยายไม่รู้เรื่องของไอนสไตส์นั้น   เพราะไอน์สไตน์เป็นบุคคลฉลาด   สิ่งที่เขาพูดและสื่อสารออกมา  ใช่ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจได้ง่าย   ฉะนั้นการฟังคำบรรยายจากอัจฉริยะ แล้วสับสน ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เหมือนอย่างที่เรามักพูดกันเล่น ๆ สมัยเรียนว่า "วิชาไหนดอกเตอร์สอน วิชานั้นไม่รู้เรื่อง" ก็ใช่ว่าดอกเตอร์เขาสื่อสารไม่ดี  แต่เพราะคนฟังไม่สามารถฟังได้เข้าใจ

 

หรืออีกเหตุผลหนึ่งของพฤติกรรมความเป้นอัจฉริยะ คือ  ความเป็นอัจฉริยะในตัวเอง ย่อมที่จะต้องหมกมุ่นครุ่นคิดในงาน  เพื่อค้นหาทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อเอาชนะตัวเอง  การปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับบุคคลอื่นอาจเป็นการเสียเวลางาน  หรือแม้จะเข้าวงสังคม  ก็คุยไม่รู้เรื่อง เพราะมีความฉลาดมากไป  พอคนอื่นพูดคุยด้วย ก็ไม่สามารถคุยกันเข้าใจ  เพราะคนพูดด้วยฉลาดน้อยไป จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่อัจฉริยะชอบที่จะเลือกการปลีกวิเวก อยู่กับตัวเองหรืออยู่กับงาน  เพราะนั่นทำให้เขามีเวลาเพิ่มมากขึ้น สำหรับการได้คิดค้นอะไรใหม่ ๆ 

  

มีใครหลายคนมักพูดไว้ว่า  "ความเป็นอัจริยะ และ ปัญญาอ่อน ถูกคั่นไว้ด้วยเส้นบาง ๆ"  ซึ่งอาจจะเหมือนภาวะ แอสเพอร์เกอร์ และ ออทิสติก ก็เป็นได้  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น  แอสเพอร์เกอร์  ไม่ใช่ภาวะรุนแรง  แต่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม  ดังนั้น การให้ความรักความเขัาใจ   และให้สนับสนุนอย่างถูกต้อง  จึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ค่ะ

WRITTEN BY TOONGPANG 

ขอบคุณข้อมูลจาก
-  นพ.จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์
-  http://www.happyhomeclinic.com/
-  http://thaiasperger.blogspot.com/
-  http://www.momypedia.com/

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
แฮกเกอร์ไทยสร้างตำนาน!เห็นชื่อทีมแล้วพีค พิธีกรอ่านทีลุ้นตามกันทั้งงานช็อก! "กงยู" พระเอกสุดฮอตเผยเป็นทายาทรุ่นที่ 79 "ขงจื๊อ"เลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.11" งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2567ถอนผมหงอก ยิ่งถอนยิ่งหงอกจริงหรือไม่ ดูแลเส้นผมอย่างไรเมื่อเริ่มมีผมหงอกพนักงานธนาคารในญี่ปุ่นขโมยเงินลูกค้า 4,900 ล้านบาทขำเรียกน้ำย่อย ตอน สีสันธรรมชาติตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิเกาหลีเหนือ พร้อมทดสอบนิวเคลียร์อีกครั้งไขความลับ: ทำไมการนอนดึกถึงทำให้คุณหิวกลางดึกมากขึ้น และวิธีหยุดวงจรนี้ได้อย่างง่ายดายจับแก๊งค้าต่างด้าวผิดกฎหมายก่อนข้ามฝั่งไปมาเลเซีย!"โรคซึมเศร้า" ดูแลตัวเองอย่างไร
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชายหาดในประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดจับแก๊งค้าต่างด้าวผิดกฎหมายก่อนข้ามฝั่งไปมาเลเซีย!"ปูยักษ์แทสเมเนีย" ยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเลลึกเตรียมพร้อมมีน้อง! แมท ภีรนีย์ฝากไข่สำเร็จ คุณแม่ปลื้มหนักตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิ
ตั้งกระทู้ใหม่