หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การผังเมือง

เนื้อหาโดย Alpha Centauri

การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง (Urban planning) เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร

ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย

ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาติ

ผังเมืองในประเทศไทย

นักผังเมือง ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับ 2 สมาคมวิชาชีพ คือ สมาคมนักผังเมืองไทย(Thai City Planners Society-TCPS) และสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทย (Association of Thai Urban Designers - TUDA) ปัจจุบันสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ในสภาสถาปนิก วิชาชีพผังเมืองจึงเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัติสถาปนิก ดังจะเห็นได้จาก กฎกระทรวงว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมฯ ปี 2549)ที่ระบุว่างานสถาปัตยกรรมผังเมืองควบคุมได้แก่ พื้นที่ที่มีการบังคับใช้ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ, งานจัดรูปที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, งานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม, งานในพื้นที่เขตเพลิงไหม้และเขตภัยพิบัติ, นิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มอาคารขนาดใหญ่-ใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารพิเศษ พื้นที่รวมกัน 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป

เดิมวิชาผังเมืองเปิดเป็นหลักสูตรสอนในระดับปริญญาโท (บัณฑิตวิทยาลัย) เริ่มครั้งแรกที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการวางแผนและนโยบายในภาพกว้างบัณฑิตจากทุกสาขาสามารถเข้าเรียนได้ และ ต่อมา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เปิดสอนที่หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีสถาปัตยกรรมและการออกแบบกายภาพอื่นๆ ที่ ภาควิชาการออกแบบชุมชนเมือง และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองมหาบัณฑิตโดยตรง ในปัจจุบันมีหลักสูตรการออกแบบชุมชนเมืองปัจจุบันได้ทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีในหลายมหาวิทยาลัยอาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน สาขาวิชาการผังเมืองโดยได้รับปริญญาการผังเมืองบัณฑิตโดยตรง และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชนด้วย และในเร็ว ๆ นี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการผังเมืองโดยตรงอีกด้วย

การวางแผนภาค

การวางแผนภาค (regional planning) เป็นสาขาหนึ่งของการวางแผนที่ดินที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการกำหนดการใช้ที่ดินและกิจกรรม โครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติมโตอันเนื่องมาจากการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มากมากกว่านครหรือเมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียว สาขาที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันได้แก่การการวางแผนชุมชน และการออกแบบชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับปัญหาเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นส่วนของเมือง และถือเป็นส่วนของการผังเมือง การวางแผนภาค การวางแผนชุมชนและการออกแบบชุมชนถือกันว่าเป็นการวางแผนเชิงพื้นที่ (Spatial planning) ที่ภายใต้กรอบที่พัฒนาแนวทางมาจากยุโรป

การวางแผนภาค

ในแต่ละ ภาค จะต้องมีการใช้ที่ดินที่หลากหลาย ต้องการการปกป้องพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เมือง จะต้องมีพื้นที่เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อการจัดวางโครงข่ายและศูนย์การขนส่ง พื้นที่การทหาร พื้นที่ธรรมชาติและป่าสงวน ฯลฯ รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติซึ่งมักมีปัญหาขัดแย้งระหว่างการใช้ที่ดินที่ต่างกัน

การวางแผนภาคเป็นศาสตร์ว่าด้วยการจัดวางหรือกำหนดพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการวางโครงสร้างพื้นฐานพร้อมการกำหนดเขตหรือย่าน (อังกฤษ: Zoning) เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของทั้งภาคซึ่งอาจครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด

คำว่า "ภาค" ในความหมายของการวางแผนอาจกำหนดโดยเขตการปกครองที่มีลักษณะปัญหาการพัฒนาหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไปในแนวเดียวกัน เช่น พื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศไทยที่เรียก "อีสเทิร์นซีบอร์ด" ซึ่งรวมพื้นที่หลายจังหวัด หรืออาจเป็นพื้นที่ที่กำหนดโดยลุ่มน้ำธรรมชาติ เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำวัง

หลักการของการวางแผนภาค

เนื่องจากพื้นที่ "ภาค" ครอบคลุมพื้นที่ของหลายองค์การปกครองท้องถิ่นซึ่งมีกฎหมายท้องถิ่นและระบบงบประมาณเป็นของตัวเอง การวางแผนภาคจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การพัฒนาของพื้นที่ภาคโดยภาพรวมซึ่งมีผลกระทบถึงกันโดยตรงมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน ปกติการวางแผนภาคโดยทั่วไปจะมุ่งเน้นที่จะ:-

  • พิทักษ์ ปกป้องและต่อต้านการพัฒนาในพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ เช่น บนแนวรอยแยกแผ่นดินไหว พื้นที่เสี่ยงคลื่นสึนามิ
  • กำหนดระบบโครงข่ายการคมนาคมและการสัญจรที่เชื่อมโยงไปยังพื้นที่พัฒนาในส่วนต่างๆ ของประเทศ
  • กำหนดแนวคิดในการพัฒนาเน้นเฉพาะที่เหมาะสมกับศักยภาพของทรัพยากรในภาคนั้นๆ เช่น การเน้นเป็นพื้นที่เกษตรก้าวหน้าเนื่องจากความอุดมของดินและแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม เนื่องจากสะดวกในการขนส่งและท่าเรือ
  • กำหนดพื้นที่ที่จำเป็นต้องมี แต่ไม่มีผู้ใดต้องการ ได้แก่การประกอบอุตสาหกรรมที่มีของเสีย ฝุ่นหรือเสียง ที่อยู่ในภาวะ "NIMBY" (Not-In-My-Back-Yard) ให้มารวมอยู่กันเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการ
  • กำหนดพื้นที่สีเขียวที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติและภูมิศาสตร์เพื่อเป็นแนวกั้นเขตการพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า นันทนาการและศิลปวัฒนธรรม
  • กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติระดับภาคที่ทุกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในภาคนั้นๆ จะใช้ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
  • กำหนดกฎหมายหรือข้องบังคับด้านการควบคุมการก่อสร้างในเชิงบวก เพื่อโน้มนำให้มีการพัฒนาที่เหมาะสมที่สุดกับพื้นที่นั้นๆ

การออกแบบชุมชนเมือง

เลอ อองฟองต์ ที่วอชิงตัน ดี.ซี.

การออกแบบชุมชนเมือง หรือ สถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมของเมือง โดยผู้ประกอบวิชาชีพนี้ เรียกว่า "นักออกแบบชุมชนเมือง" หรือ "สถาปนิกผังเมือง" โดยมีหน้าที่สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนเมือง โดยเน้นคุณภาพ 3 ด้าน คือ คุณภาพทางด้านสุนทรียภาพ คุณภาพทางด้านชีวิตของสังคมเมือง และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม

ขบวนการอุทยานนคร

แผนภูมิ 3 แม่เหล็กของเอเบเนสเซอร์ เฮาเวิร์ดที่แสดงการตอบคำถามที่ว่า "คนจะไปอยู่ที่ใหน?" ทางเลือกคือ เมือง, ชนบท, หรือ เมือง-ชนบท

ขบวนการอุทยานนคร ( garden city movement) เป็นแนวคิดทางด้านการวางผังชุมชนเมือง ที่คิดขึ้นในสหราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2441 โดย เอเบเนเซอร์ เฮาเวิร์ด อุทยานนครคือเมืองที่วางแผนให้เป็นชุมชนสมบูรณ์ในตัวที่ล้อมรอบไปด้วย “แถบสีเขียว” และจัดให้มีบริเวณต่างๆ ที่วางไว้อย่างรอบคอบ ได้แก่บริเวณที่พักอาศัย บริเวณอุตสาหกรรมพื้นที่เกษตรกรรม เฮาเวิร์ดได้รับแรงดลใจจากนวนิยาย “สังคมในจินตนาการ” หรือสังคมแบบยูโทเปียเรื่อง “มองย้อนหลัง” (en:Looking Backward) เฮาเวิร์ดได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “วันพรุ่งนี้: วิถีทางสันติสู่การปฏิรูปที่แท้จริง” (To-morrow: a Peaceful Path to Reform) เมื่อ พ.ศ. 2441 และได้ก่อตั้ง “สมาคมอุทยานนคร” (Garden City Association) ในปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2445 เฮาเวิร์ด ได้ตีพิมพ์ใหม่หนังสือเล่มนี้ใหม่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานนครในวันพรุ่งนี้” (Garden Cities of Tomorrow)

เฮาเวิร์ดได้วางรากฐานเมืองใหม่ในอังกฤษไว้ 2 เมืองคือ อุทยานนครเลทช์เวิร์ท (en:Letchworth Garden City) ในปี พ.ศ. 2446 และอุทยานนครเวลวีน (en:Welwyn Garden City) ในปี พ.ศ. 2463 การวางผังออกแบบทั้งสองเมืองนี้นับว่าประสบความสำเร็จได้ยาวนานและเป็นชุมชนที่สมบูรณ์แม้จะไม่บรรลุอุดมคติทั้งหมดของเฮาเวิร์ดก็ตาม

ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอุทยานนครต่อจากเฮาเวิร์ดคือ เซอร์ เฟรเดอริก ออสบอร์น (en:Frederic Osborn) ผู้ต่อยอดขบวนการอุทยานนครมาเป็น “การวางแผนภาค”

แนวคิดอุทยานนครมีอิทธิพลสูงมากต่อการผังเมืองในสหรัฐอเมริกา (ดังปรากฏในผังของชุมชนเมืองต่างๆ เช่นเมืองนิวพอร์ทนิวส์ ในเวอร์จิเนีย หมู่บ้านฮิลตัน หมู่บ้านแชทแทมในพิทส์เบิร์ก ซันนีไซต์ในควีนส์ แรดเบิร์นในนิวเจอร์ซีย์ แจกสันไฮท์ในควีนส์ หมู่บ้านวูดเบิร์นในบอสตัน การ์เดนซิตีในนิวยอร์ก และหมู่บ้านบอลด์วินฮิลล์ในลอสแอนเจลิส) ในแคนาดา (คาปูสกาซิง และวอล์กเกอร์วิลล์ในออนทาริโอ) เมืองอุทยานนครแรกของเยอรมันคือเฮลเลรู ในชานเมืองเดรสเดน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2452 แนวคิดอุทยานนครได้รับการทำเป็นแผนสำหรับโครงการเคหะของเยอรมันในยุคไวมาร์ และในอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 “พ.ร.บ.เมืองใหม่” ได้จุดประกายให้การพัฒนาชุมชนใหม่อีกหลายแห่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์แห่งความเท่าเทียมในสังคมของอิเบเนเซอร์ เฮาเวิร์ด ขบวนการอุทยานนครยังมีอิทธิพลต่อนักผังเมืองชางสก็อตชื่อ เซอร์ แพททริก เก็ดดิส (Sir Patric Geddes) ในงานวางผังเมืองเทล-อาวิฟในอิสราเอลของเขา แนวคิดการวางผังเมือง “วิทยาการปรับปรุงเมืองแบบใหม่” (en:New Urbanism) ก็ดี หรือ “หลักการปรับปรุงเมืองแบบอัจริยะ” (en:Principles of Intelligent Urbanism) ก็ดี ล้วนมีพื้นฐานแนวคิดเดิมจากขบวนการอุทยานนคร ปัจจุบันมีอุทยานนครจำนวนมากในโลก แต่เกือบทั้งหมดมีสถานะอยู่ได้เพียงการเป็น “หอพักชานเมือง” (en:dormitory town) ซึ่งล้วนต่าง

 

คูเมือง

“คู” รอบคฤหาสน์แบดเดสลีย์คลินตันในวอริคเชอร์ในอังกฤษ

คูเมือง หรือ คูปราสาท ( moat) คือร่องน้ำกว้างและลึกที่อาจจะเป็นคูแห้งหรือที่มีน้ำขังที่ขุดขึ้นรอบปราสาท, สิ่งก่อสร้าง หรือ เมือง เพื่อใช้เป็นระบบการป้องกันจากการโจมตีจากบุคคลภายนอก ในบางกรณีคูก็อาจจะวิวัฒนาการไปเป็นระบบการป้องกันทางน้ำอันซับซ้อนที่อาจจะรวมทั้งทะเลสาบขุดหรือธรรมชาติ, เขื่อน หรือประตูน้ำ แต่ในปราสาทสมัยต่อมาคูรอบปราสาทอาจจะเป็นเพียงสิ่งตกแต่งเพื่อความงามเท่านั้น

ประวัติ

ยุคโบราณ

มุมมองทางด้านเหนือของป้อมบูเฮน

หลักฐานของคูที่เก่าที่สุดพบรอบป้อมอียิปต์โบราณ เช่นที่ป้อมบูเฮนที่ขุดพบที่นูเบีย นอกจากนั้นก็ยังพบที่บาบิโลน และในประติมากรรมภาพนูนของอียิปต์โบราณ, อัสซีเรีย และในสิ่งก่อสร้างในอารยธรรมบริเวณนั้น

ยุคกลาง

จากขุดค้นทางโบราณคดีก็พบคูที่ขุดรอบปราสาท หรือ ระบบป้อมปราการที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการป้องกันที่ตั้งอยู่ติดกับกำแพงด้านนอก ถ้าสะดวกคูก็จะเป็นคูน้ำ การมีคูทำให้ยากต่อการโจมตีกำแพง หรือการใช้อาวุธที่ช่วยในการปีนกำแพงเช่นหอล้อมเมืองเคลื่อนที่ (siege tower) หรือ ไม้กระทุ้งกำแพง (Battering ram) ซึ่งเป็นอาวุธที่ต้องนำมาจ่อที่กำแพงจึงจะใช้ได้ นอกจากนั้นคูที่เป็นน้ำยังทำให้ยากต่อการพยายามขุดอุโมงค์ภายใต้กำแพงเพื่อทำการระเบิดทลายกำแพงได่อย่างมีประสิทธิภาพ

ในภาษาอังกฤษคำว่า “Moat” แผลงมาจากคำในภาษาอังกฤษกลางที่แผลงมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “motte” ที่แปลว่า “เนิน” ที่เดิมหมายถึงเนินกลางปราสาทที่เป็นที่ตั้งป้อม ต่อมาคำนี้แผลงมามีความหมายว่าวงคูแห้งที่ขุดขึ้นรอบปราสาท นอกจากนั้นคำว่า “Moat” ก็ยังหมายถึงภูมิสัณฐานที่คล้ายกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือ รูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับคูล้อม

ยุโรป

 

คูมีทั้งคูแห้งและคูที่มีน้ำ แต่ระบบการป้องกันด้วยคูน้ำที่ซับซ้อนและกว้างขึ้นทำให้ตัวสิ่งก่อสร้างลอยอยู่กลางน้ำที่ทำให้เกิดลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “ปราสาทน้ำ” (Water Castle) บางครั้งน้ำที่ใช้ในคูก็อาจจะดึงมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือการใช้เกาะ หรือ กั้นเขื่อนเพื่อทำให้เกิดผืนดินที่เป็นเกาะ เช่นที่ปราสาทเบิร์คแคมสเตดที่แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนการดังว่าในยุคแรก และต่อมาที่ปราสาทแคร์ฟิลลีในเวลส์ หรือที่ปราสาทเคนิลเวิร์ธอันมีระบบคูน้ำป้องกันที่ใช้เขื่อนควบคุมการไหลเวียนของน้ำ เกาะเทียม (Crannóg) ก็เป็นระบบคูป้องกันปราสาทอีกระบบหนึ่ง ที่ตัวปราสาทแทบจะโผล่ขึ้นมากลางน้ำ เช่นที่ปราสาทคอร์เน็ทในเกิร์นซีย์ที่คูป้องกันประสาทเป็นทะเล

ปราสาทที่มีคูหรือล้อมรอบด้วยทะเลสาบเทียมเป็นสิ่งที่นิยมสร้างกันในอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ เวลส์, กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ, เยอรมนี, ออสเตรีย และ เดนมาร์ค

หลังยุคกลางการออกแบบป้อมเพื่อป้องกันจากการโจมตีด้วยลูกระเบิดมักจะเป็นคูแห้ง และ บางครั้งก็อาจจะมีน้ำบ้างเช่นป้อมที่โอโลมุค ส่วนป้อมหลายเหลี่ยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นป้อมที่เหมาะกับการใช้คูแห้ง

ในสมัยต่อมาเมื่อปราสาทเปลี่ยนไปเป็นวังหรือคฤหาสน์ที่ไม่มีประโยชน์ใช้สอยทางด้านการป้องกันทางการทหารแล้ว แต่เป็นสถานที่สำหรับรับแขกและเป็นที่พำนักอาศัย คูรอบปราสาทหรือทะเลสาบก็กลายมาเป็นสิ่งตกแต่งแทนที่ แม้มาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 การก่อสร้างวังเพื่อความสำราญก็ยังคงสร้างให้มีคูล้อมรอบ เช่นคฤหาสน์โวซ์-เลอ-วิคงต์ที่ยังคงล้อมรอบด้วยคูน้ำแบบโบราณที่แยก “ประธานมณฑล” และเชื่อมด้วยสะพาน

เอเชีย

แผนที่พระราชวังอิมพีเรียลและสวนและคูล้อมรอบ

ปราสาทญี่ปุ่นมักจะมีระบบคูที่ซับซ้อน หรือบางครั้งอาจจะมีคูหลายคูที่วางเป็นวงซ้อนรอบตัวปราสาท และแต่ละชั้นอาจจะเป็นผังที่มีลักษณะแตกต่างกันที่ออกแบบผสานไปกับลักษณะของสวนภูมิทัศน์ ปราสาทญี่ปุ่นอาจจะมีคูล้อมรอบถึงสามชั้น ชั้นนอกสุดมักจะป้องกันสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ด้วยที่นอกไปจากปราสาท

แม้ว่าปราสาทจะเป็นศูนย์กลางสำคัญของเมืองแต่ละเมืองที่ตั้งอยู่ คูปราสาทก็เป็นส่วนสำคัญของการคมนาคมทางน้ำของเมืองนั้นด้วย แม้ในปัจจุบันระบบคูของพระราชวังอิมพีเรียลก็ยังเป็นลำน้ำที่คงมีบทบาท ที่ใช้เป็นที่ตั้งของเรือสำราญ, ภัตตาคาร และ บ่อปลา.

คูของปราสาทญี่ปุ่นสมัยใหม่มักจะเป็นคูน้ำ และคูในสมัยกลางมักจะเป็นคูแห้ง (karahori) แม้ในปัจจุบันปราสาทบนเขาก็ยังมักจะใช้คูแห้ง

คูเป็นระบบป้องกันที่ใช้โดยทั่วไปไม่แต่ในญี่ปุ่นแต่ยังในประเทศจีนเช่นที่ พระราชวังต้องห้าม และ ซีอาน, ที่ Vellore ในอินเดีย, ที่เมืองพระนคร ใน กัมพูชาและที่ เชียงใหม่,อยุธยา และกรุงเทพฯในประเทศไทย

คลองคูเมืองในคาบสมุทรอินโดจีน

ในคาบสมุทรอินโดจีน เมืองโบราณส่วนใหญ่ที่ได้คติการสร้างเมืองจากอาณาจักรเขมร มักจะมีการสร้างคูเมืองเป็นสี่เหลี่ยม ล้อมรอบตัวเมืองไว้ โดยมีระยะห่างจากแหล่งน้ำหลัก เช่นแม่น้ำหรือทะเลสาบ ส่วนคติแบบทวารวดี จะเน้นให้เมืองมีบลักษณะกลมหรือมน บางครั้งอาจจะให้แหล่งน้ำใหญ่เป็นปราการหลัก แล้วขุดคลอง โค้งโอบตัวเมืองไปตามภูมิประเทศ ซึ่งคติชั้นหลังนี้ได้ตกทอดสู่กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน โดยเมืองโบราณ ที่มีคูล้อมรอบ ได้แก่

คูเมืองสี่เหลี่ยม หรือคล้ายสี่เหลี่ยม

  • เวียงเชียงใหม่
  • เวียงเชียงแสน
  • เมืองสุโขทัย
  • เมืองนครราชสีมา
  • เมืองศรีเทพ (คูเมืองชั้นนอก)
  • เมืองสุพรรณบุรี
  • เมืองพระพิษณุโลกสองแคว
  • เมืองศรีสัชนาลัย
  • เมืองร้อยเอ็ด
  • เมืองหริภุญชัย (ลำพูน)
  • เมืองดงแม่นางเมือง (นครสวรรค์)
  • เมืองการุ้ง (อุทัยธานี)
  • เมืองบ้านใต้ (อุทัยธานี)
  • เมืองอู่ตะเภา (ชัยนาท)
  • เมืองเวียงจันทน์
    • ฝั่งใต้ปัจจุบันคืออำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    • ฝั่งเหนือปัจจุบันคือกำแพงนะคอนเวียงจัน
  • เมืองกำแพงเพชร
  • เมืองพระนคร
  • เมืองหงสาวดี
  • เมืองมัณฑะเลย์

คูเมืองที่ไม่เป็นสี่เหลี่ยม

 
  • เมืองอู่ทอง
  • เมืองศรีเทพ (คูเมืองชั้นใน)
  • เมืองคูบัว
  • เมืองนครชัยศรี
  • เมืองศรีมโหสถ
  • เมืองคูเมือง
  • เมืองบึงคอกช้าง (อุทัยธานี)
  • เมืองบน (นครสวรรค์)
  • เมืองละโว้
  • เมืองเขลางค์นคร เมืองลำปาง
  • เมืองพะเยา
  • เมืองแพร่
  • เมืองสุรินทร์
  • เมืองนครชุม
  • กรุงศรีอยุธยา ซึ่งประกอบด้วย
    • แม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ (คูเมืองด้านทิศตะวันตกและทิศใต้)
    • คูขื่อหน้า ปัจจุบันคือแม่น้ำป่าสักสายใหม่ (คูเมืองด้านทิศตะวันออก)
    • คลองเมือง เดิมคือแม่น้ำป่าสักสายเก่า ต่อมาเป็นแม่น้ำลพบุรี (คูเมืองด้านทิศเหนือ)
  • กรุงธนบุรี ซึ่งประกอบด้วย
    • คลองคูเมืองตะวันตก
    • คลองคูเมืองเดิม (คูเมืองด้านทิศตะวันออก)
  • กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งประกอบด้วย
    • แม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ (คูเมืองด้านทิศตะวันตก)
    • คลองรอบกรุง (คูเมืองชั้นในด้านตะวันออก)
    • คลองผดุงกรุงเกษม (คูเมืองชั้นนอกด้านตะวันออก)
  • เมืองบุรีรัมย์
  • เมืองแสลงโทน
เนื้อหาโดย: Alpha Centauri,อัลฟ่า เซ็นจูรี่
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Alpha Centauri's profile


โพสท์โดย: Alpha Centauri
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
60 VOTES (4/5 จาก 15 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ลุงโวยสาวเอาสุนัขขึ้นรถไฟใต้ดินได้ยังไง ก่อนจะรู้ว่าความจริง ทำเอาหน้าชา อายหน้าแดงไปเลยปลัดทรงสืบ แฝงนั่งชิลล์อยู่ริมหาดจอมเทียน เจอเหตุรัวปืนหนุ่มไรเดอร์ โดนดูถูก ไม่มีการศึกษาเลยมาขับรถส่งอาหาร เลยควักใบปริญญา 2 ใบให้ดูนางงามอายุ60ปีคว้ามง!!เตรียมไปต่อMUArgentina👑👠🎉เหตุเพราะผู้ชายนอกใจ..ทำให้ นศ.สาวปี 3 ม.ดัง ขาดสติ และลงมือปาดคอรังสรรค์ เมนูไข่ ที่คนรุ่นใหม่อาจไม่เคยรู้จักมาก่อน?ทางกัมพูชา และ จีนจัดงานโชว์ศิลปะการต่อสู้ กังฟู + โบกาตอร์ ตอนแรกหลายคนนึกว่า จะเอามาสู้ๆกัน อ้อ ไม่ใช่ มาโชว์กระบวนท่าการแสดงเฉยๆ พอมีคนดูอยู่เหมือนกันเด้อเขมรมาเหนือเมฆ เรียกประชาชนที่อยู่รอบนครวัดมาให้ทำการปรับปรุงบ้านใหม่ ให้เน้นรูปทรงบ้านให้เป็นทรงโบราณ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะได้ฟินๆเขมรบุกเดี่ยว! ประกาศลั่นเราจะล้างแค้นแล้วเราจะแซงไทยในเร็วๆนี้ ?ทหารหรือตำรวจลาว ถ้าลาออก ต้องเอาชุดมาคืนรัฐ! เพราะต้องให้คนอื่นใส่ต่อ รุ่นสู่รุ่น?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เขมรดราม่า วิจารณ์กันเอง! หลังเห็นมังกรที่ทำขึ้นมา? ลั่น มังกรหรือหนอนน้ำ!😃รีวิวของแจกเปิดเทอมโรงเรียนที่ญี่ปุ่น..ของแต่ละชิ้นนั้นคิดมาดีแล้วฮีโร่ที่แท้จริง!! แม่เอาตัวบังลูก จากเหตุหลังคาถล่มเครื่องบินต้องลงจอดฉุกเฉินในคาซัคสถาน หลังหญิงเกาหลีใต้รายหนึ่ง ตะโกนด่าสาปแช่งและสร้างความโกลาหล จนไม่สามารถบินได้
ตั้งกระทู้ใหม่