หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ชีวิตที่เปรียบประดุจกุหลาบแห่งแวร์ซายส์

โพสท์โดย bourbon

 

 

 

 

เจ้าหญิงมารี อังตัวเน็ตต์ พระนามเดิม เจ้าหญิงมาเรีย แอนโธเนีย ประสูติเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ค.ศ.1755 ที่พระราชวังเชินบรุนน์ เวียนนา ออสเตรีย
ท่านเป็นพระธิดาที่มีพระสิริโฉมงดงามที่สุดในหมู่พระราชธิดาอีกหลายองค์ 
ประสูติแด่พระเจ้าฟรานซิส1 กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา 
พระนางมาเรีย เทเรซา สอนเจ้าหญิงมารี อังตัวเน็ตต์ ตลอดว่า แม้เกิดมามียศใหญ่ ใช่ว่าจะสบาย จะต้องไปสมรสกับกษัตริย์ต่างชาติเพื่อแผ่นดิน เราควรต้องมีความรับผิดชอบและความเสียสละ  
จักรพรรดินีมาเรียเทเรซา พระมารดาของเจ้าหญิงมาเรีย แอนโธเนีย ทรงเป็น     วีรกษัตริย์ที่ทรงเข้มแข็ง มีพระอำนาจแผ่ไปทั่วยุโรปในสมัยนั้น

 

จักรพรรดินีมาเรียเทเรซา

ตรงข้ามกับ พระเจ้าฟรานซิส1 เพราะท่านเป็นกษัตริย์ที่พระทัยเย็น 
อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็เป็นที่รักของชาวออสเตรียเสมอมา 
นี่คือพระรูปของราชินีเทเรซา

ในวันหนึ่งจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา พระราชมารดาได้กำหนดชีวิตเจ้าหญิงมาเรีย แอนโธเนีย โดยการถวายตัวแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสอันยิ่งใหญ่และหรูหรา (ขณะนั้นยังทรงเป็นเจ้าชายรัชทายาท)
วันที่เจ้าหญิงมาเรีย แอนโธเนีย มีพระชนมายุ 15 ชันษานั้น ก็ทรงเสด็จในฐานะพระคู่หมั้นในขบวนที่ยิ่งใหญ่ ไปยังริมฝั่งแม่น้ำชายแดนออสเตรีย 
ณ ที่นั้น เจ้าหญิงมาเรีย แอนโธเนีย ทรงทำพิธีเปลี่ยนฉลองพระองค์จากเครื่องทรงของออสเตรียเป็นเครื่องทรงตามแบบราชสำนักฝรั่งเศส และเปลี่ยนพระนามจากมาเรีย แอนโธเนีย ซึ่งเป็นภาษาออสเตรีย เป็น เจ้าหญิงรัชทายาท มารี อังตัวเน็ตต์ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส
ทางฝรั่งเศส จัดขบวนต้อนรับเจ้าสาวโดยมีคาร์ดินัล หลุยส์ โรอังเป็นหัวหน้าคณะ ขณะกล่าวต้อนรับโรอัง ได้ใช้ภาษาเยอรมัน (ภาษทางการของออสเตรีย)
เจ้าหญิงทรงตรัสตอบว่าใช้ภาษาฝรั่งเศสกับเราก็ได้ เพราะเราพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดีเท่าพวกท่าน
นั่นเป็นเสน่ห์แรกที่ทำให้ประชาชนฝรั่งเศสประทับใจในตัวเจ้าหญิง

 

 

พระเจ้าหลุยส์ที่ 15

พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ทรงพอพระทัยในตัวพระสุณิสา(สะใภ้)มาก เพราะเจ้าหญิงน่ารักน่าเอ็นดู ช่างพูดช่างจา เจ้าหญิงได้พบกับเจ้าชายรัชทายาทเป็นครั้งแรก และได้มีการจัดงานที่พระราชวังแวซายส์ เจ้าหญิงได้ทอดพระเนตรความหรูหรา และความงดงามตระการตาของราชสำนักฝรั่งเศส ผิดกับสำนักออสเตรียที่เต็มไปด้วยระเบียบอันเรียบร้อย อ่อนช้อยของราชสำนัก ทว่างานนั้นทำให้เจ้าหญิงทรงเพลิดเพลินไปกับงานนั้นอย่างง่ายดาย และยังทรงตื่นตาตื่นใจอีกด้วย 
เจ้าหญิงมีพระนลาต(หน้าผาก)กว้างสูง อันแสดงถึงลักษณะของคนที่เฉลียวฉลาด ในตอนแรกทรงเกรงว่าจะทำผมแบบฝรั่งเศสมิงาม
ที่ไหนได้เหล่าบรรดาชาววังต่างพากันไปถอนไรผมเปิดให้สูงเยี่ยงเจ้าหญิงกันมากมายหลายคน

 

 

แรกๆที่เจ้าหญิงมารีอังตัวเน็ตต์ มาอยู่ที่ฝรั่งเศส ใครๆก็รักเจ้าหญิงรัชทายาท และชวนเจ้าหญิงไปเป็นพรรคพวกตน อาทิพระขนิษฐา3พระองค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่15 แถมพระขนิษฐา3พระองค์ยังยุเจ้าหญิงให้เกลียดมาดามดูบารี พระสนมของพระเจ้าหลุยส์ที่15 ที่พระขนิษฐา3พระองค์ไม่ชอบ อันที่จริงมาดามดูบารีมีนิสัยเรียบร้อย มีความสวยงามทั้งหน้าตา และกริยามารยาท อีกทั้งมาดามดูบารีก็ชอบและเอ็นดูเจ้าหญิงรัชทายาทอยู่ไม่น้อย ทว่าผลสุดท้ายก็มีเรื่องบาดหมางกันจนได้ เจ้าหญิงรัชทายาททรงมีพระอาการดูหมิ่น เหยียดหยาม กับมาดามดูบารี ท่ามกลางประชาชน และพระเนตรของพระเจ้าหลุยส์ที่15 ทำให้พระองค์ขุ่นพระทัยอยู่นาน เรื่องนี้ถูกโจทย์กันไปทั่วราชสำนักฝรั่งเศส ข่าวถูกส่งถึงพระกรรณพระนางมารี เทเรซา ทำให้พระองค์ทรงมีความกริ้วต่อเจ้าหญิงรัชทายาทมาก ถึงกับส่งสาส์นมาตำหนิให้เจ้าหญิงรัชทายาททำดีกับมาดามดูบารี ซึ่งทำให้ชาววังหลายคนไม่พอใจ โดยเฉพาะเหล่า"สมเด็จป้าขาเมาท์แถมชอบยุยงทั้ง3พระองค์" น่ารำคาญที่ราชสำนักฝรั่งเศสพวกชาววังขาเมาท์ในหัวสมองมีแต่เรื่องข่าวโลกีย์  ของหลังม่านวังหลวงไม่พ้นแต่ละวัน เป็นที่รู้ทั่วกันในราชสำนักฝรั่งเศสว่าเจ้าชายรัชทายาทนั้นทรงเป็นชายหนุ่มที่เฉื่อยชา เชื่องช้า เสวยจุ ชอบบรรทม และไม่มีเซ็กซ์กับเจ้าหญิงรัชทายาท

 

 

 

ภาพวาดสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ รูปพระสาทิสลักษณ์ของพระนางมารีอังตัวเน็ตต์ กับดอกกุหลาบ ทรงพระองค์แบบสามัญชน ทรงมีพระทัยอยากเป็นสามัญชน ทรงโปรดภาพนี้มากที่สุด ปัจจุบันภาพต้นฉบับอยู่ในพระราชวังแวร์ซาย 

 

 

พระรูปนี้ท่านทรงแต่งกายแบบสามัญชนที่ยากจน จะเห็นได้ว่าพระนางทรงเทิดทูนดอกกุหลาบมากกว่าเครื่องเพชร พระรูปนี้พระนางมิได้ใส่ฉลองพระศอเลยแม้แต่เส้นเดียว ทรงฉลองเพียงพระมาลาเท่านั้น แต่ก็มิได้เป็นพระมาลาที่หรูหราเท่าใด

 

 

30 เมษายน ค.ศ.1774 พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เสด็จสวรรคต เจ้าชายรัชทายาทพระสวามีของเจ้าหญิงมารีอังตัวเน็ตต์ ได้ขึ้นครองบัลลังก์ฝรั่งเศส เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และเจ้าหญิงก็ถูกเลื่อนพระยศขึ้นเป็นพระราชินีมารี อังตัวเน็ตต์ ผู้เลอโฉม และหรูหรา 
         มาดามดูบารีหมดวาสนา หม่นหมองและหายตัวไปจากราชสำนักอย่างลึกลับ เพราะก่อนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จะทรงเสด็จสวรรคตมินาน มาดามดูบารีได้อ้อนวอนขอเครื่องเพชรที่"แพงที่สุดในโลก" กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ด้วยความหลงใหล พระเจ้าหลุยส์ที่15 ทรงสั่งช่างฝีมือที่ดีที่สุดไปสรรหาเพชรเม็ดโตๆ น้ำงามที่สุดยุโรป มาทำสร้อยคอ ช่างเพชรชื่อ โบห์เมอร์ นำเพชรที่ดีที่สุดมาถึง600เม็ด เรียงร้อยอย่างสุดฝีมือ เมื่อเสร็จเรียบร้อยจะถวายพระเจ้าหลุยส์ที่15 ก็ทรงสวรรคตด้วยโรคฝีดาษพอดี
         โบห์เมอร์พยายามที่จะขายสร้อยเพชรเส้นนี้ให้แก่กษัตริย์ และพระราชินีพระองค์ใหม่ เพราะเขาทุ่มเงินทำสร้อยเส้นนี้ไปจนหมดตัว ต้องเป็นหนี้สินมากมาย แต่พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ทรงแสดงความรังเกียจสร้อยเพชรเส้นนี้ว่า"รสนิยมต่ำ" เห็นได้ว่าพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ไม่เคยฉลองเครื่องเพชรเลย ท่านจะฉลองไข่มุกแต่เพียงอย่างเดียว

"สร้อยเพชรอันสูงราคานั้น เหมาะสำหรับคนที่ไร้รสนิยมเท่านั้น!" พระนางทรงตรัสกับโบห์เมอร์อย่างเย็นชา

        อาจจะเป็นเพราะพระนางทรงตระหนักถึงความฟุ่มเฟือยเกินควร และอีกประการหนึ่งทรงครอบครองเพชรเม็ดเม็ดงามที่มีชื่อว่า"Thefrenchblue"ที่เรารู้จักในนาม"Hobdiamond"(Hopแปลว่านำความน่ากลัว)นั้นอยู่ก็ได้

       เพชรเม็ดนี้ถูกนำมาจากหน้าผากเทวรูปในอินเดีย พระเจ้าหลุยส์ที่14 ทรงซื้อพระราชทานแก่พระสนมลับ "มาดามเดอมอง" และตกทอดมาถึงพระนางมารี อังตัวเน็ตต์

       แต่เพชรที่นำความตายมาสู่พระนางไม่ใช่เพชรHob แม้มีบางกลุ่มเชื่อว่าพระนางตายเพราะอาถรรพ์ของเพชรนี้ก็ตาม

เราหันกลับมาดูสร้อยเพชรที่เกือบจะเป็นของมาดามดูบารีกันดีกว่า หลังจากมาดามหายตัวไป ก็มีคนต้องการมันมากมาย รวมทั้ง"มาดาม จีน เดอร์ ลามอตต์"

      นอกจากอยากได้เพชรแล้ว มาดามจีน  ผู้ใกล้ชิดกับคนในราชสำนัก ยังรู้จุดอ่อนของโรอัง(คนที่รักพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ แต่พระนางไม่รัก จนเนรเทศไล่ออกไปจากราชสำนัก)ถึงโรอังจะถูกพระราชินีรังเกียจ แต่โรอังก็รักและหวังจะเด็ดดอกฟ้าอยู่

       มาดามจีน ได้ไปหลอกโรอังว่าอันทีจริงพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ทรงต้องพระทัยสร้อยเส้นนั้นมาก แต่มิกล้าซื้อเพราะมันแพงมาก

       มาดามเจ้าเล่ห์หลอกโรอังจนเชื่อสนิท เพราะมาดามได้ว่าจ้างให้ท่านเคาท์คาลิสไตร มาปลอมลายพระหัตถ์ราชินี ให้ว่าพระราชินีมารีทรงจดหมายถึงโรอัง แถมยังหาหญิงสาวที่คล้ายราชินีมารีมาพบในสวนยามวิกาลทุกคืน

        หลายปีที่โรอังทวงถามสัญญาที่นางตัวปลอมบอกไว้ แถมโรอังยังทวงกับราชินีพระองค์จริง ผลก็คือถูก “ด่า

"มาดาม เดอร์ ลามอตต์"ชื่อเต็มของมาดาม เดอร์ ลามอตต์ มีชื่อว่า"จินนี่ ดอร์ เซนต์ เรมี ลามอตต์ ดอร์ แวร์หลอส(Jeanne de Saint-Remy de Valois)

โรอังเชื่อหัวปักหัวปำ ว่าราชินีมีใจต่อเขา โรอังจึงซื้อสร้อยเส้นนั้นด้วยเงินกว่าพันล้านบาท และมอบให้มาดามจีน มาดามจีนเมื่อได้รับเพชรแล้วก็นำไปให้สามีไปแบ่งขายทันที

        ความจริงถูกเปิดเผยเสียจนหมด แต่ยังไงประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่เชื่อความนั้น เขาเห็น มาดามจีน เดอร์ลามอตต์ เป็นคนดี

        ในสายตาชาวฝรั่งเศส เขามองพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ตรงกันข้ามกับมาดามจีน เดอร์ลามอตต์ เขาบอกว่าพระนางเป็นผู้หญิงแพศยา ใส่ร้ายป้ายสีให้มาดามจีนรับเคราะห์ และซื้อเครื่องเพชรราคาแพงได้อย่างสบายใจ ขณะที่เศรษฐกิจของบ้านเมืองกำลังอยู่ในสภาวะตกต่ำ อดอยาก ประชาชนในสมัยนี้ส่วนมากจะเป็นขอทานเพราะไม่มีอันจะกิน ผิดกับพวกขุนนางไฮโซที่สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย  ทั้งการแต่งกาย อาหารการกิน

มีเรื่องเล่าว่า ชาวบ้านในสมัยนั้นอดอยากยากแค้น  พากันเดินขบวนไปร้องเรียนหน้าพระราชวัง ว่า "เราไม่มีขนมปังจะกิน"แล้ว
ถ้าพูดแบบไทยๆก็คือ  ไม่มีข้าวจะกินแล้ว พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ จะด้วยความซื่อใส ไร้การรับรู้ต่อปัญหาประชาชนจริงๆหรืออะไรก็ตาม  ก็ตอบไปว่า
"ไม่มีขนมปัง ก็กินขนมเค้กสิ
อย่างไรก็ตาม ก็มีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นภายหลัง
เพื่อใส่สีใส่ไข่ให้ภาพของพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ดูเลวร้าย ชนิดไม่ได้ผุดได้เกิด
เพราะพระนางไม่เคยเอ่ยประโยคนี้เลย

เรื่องของสังฆราชโรอังก็เช่นกัน เป็นเรื่องสิบแปดมงกุฎกลุ่มหนึ่งที่รวมหัวกันต้มตุ๋นท่าน  โดยอ้างชื่อพระนางมารี อังตัวเน็ตต์มาหลอกลวงเอาสร้อยเพชรไปขายกินสบายไป

เรื่องจริงจะเป็นยังไงก็ตาม ราชวงศ์บูร์บองได้มาถึงยุคตกต่ำสุดในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อังตัวเน็ตต์

ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่16 ได้มีการขอร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่16 ช่วยประชาชน แต่รัฐบาลฝรั่งเศสกลับออกกฎหมายขึ้นภาษี 

   เหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนี้ปั่นป่วนมาก ข้าฟันกันเป็นรายวัน 

  14 กรกฏาคม เกิดปฏิวัติฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่16 และพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ หนีออกจากพระราชวังแวร์ซาย ชาววังวิ่งหนีกันชุนละมุน พระเจ้าหลุยส์ 16 และพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ มีพระดำริอยากจะให้ใช้การปกครองแบบเก่า แต่พวกรัฐบาลต้องการการปกครองแบบใหม่คือแบบมีประธานาธิบดี ด้วยเหตุนี้พระเจ้าหลุยส์ที่16 และพระนางมารี อังตัวเน็ตต์จึงหนีออกจากพระราชวัง 

    พอท่านหนีออกจากพระราชวัง พวกทหารเห็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อังตัวเน็ตต์และเหล่าพระบรมวงศ์กำลังจะข้ามไปพรมแดนประเทศอื่น จึงถูกจับ แต่ท่านหนีการจับกุมออกมาได้และคิดจะข้ามพรมแดนอีกครั้ง แต่ก็ถูกจับอีกทีหนึ่ง

     ท่านถูกจับไปขังคุก ประชาชนฝ่ายปฏิวัติจับขุนนางเก่าๆแก่ๆรวมทั้งขุนนางใหม่ๆในการปกครองแบบเก่า รวมถึงจับพวกชาววังมาตัดหัวเสียบประจานไว้ที่หน้าคุก  พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ก็ทอดพระเนตรอยู่ทุกวัน 

     ทุกครั้งที่ท่านทอดพระเนตรศีรษะเหล่านี้พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ถึงกับประชวรพระวาโยทุกครั้งไป

      โดยเฉพาะศีรษะของเจ้าหญิงแลมบลังก์ นางกำนัลผู้ซื่อสัตย์ มีความงดงาม และเรียบร้อยที่สุด ศีรษะของแลมบลังก์ตอนที่พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ทอดพระเนตรเห็น มันเป็นศีรษะที่เน่าเหม็น มีหนอนไชอยู่ทั่ว ผมที่เคยหวีเรียบร้อยกลายเป็นผมยุ่งน่าขนพองสยองเกล้ามาก พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ทอดพระเนตรแล้วถึงกับทรงประชวรพระวาโยกันเป็นการใหญ่ 

       แต่ก็ไม่มีผู้ใดสนใจพระนางปล่อยให้พระนางประชวรอยู่อย่างนั้น พระนางต้องช่วยพระองค์เอง สุดท้ายก็หายได้

คณะปฎิวัติจับกุมพระราชโอรสที่ยังเยาว์ของพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ไปเป็นเด็กล้างจานของมาราต์ หัวหน้าฝ่ายปฎิวัติ พระนางทรงพระกันแสงจนแทบขาดพระทัย ทรงประชวรพระวาโย ทรงดึงรั้งไม่ให้จับพระโอรสของพระนางไปจนสุดปลายพระหัตถ์ 

        ประชาชนทารุนและด่าว่าพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ว่าเป็นนางมารร้ายแห่งศตวรรษ จนพระเกศาของพระนางเปลี่ยนเป็นสีขาวโพลน

 21 มกราคม 1792 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกนำตัวขึ้นแท่นประหานที่ปลาสเดอร์ลาร์คองคอร์ต บนนั้นมีเครื่องกิโยตินคมกริบ(เครื่องประหารชีวิตของชาวฝรั่งเศส จะมีใบมีดอยู่ด้านบนแล้วให้คนพาดหัวไปที่เว้า แล้วปล่อยใบมีดร่วงลงมาตัดหัวฉับเดียวขาดกระเด็นหลุดออกจากตัว)  
     พวกเขาจับพระหลุยส์ ที่16มัดกับกระดานเสร็จ แล้วกระดกให้นอนคว่ำลง พระศอพาดตรงเว้าพอดี แล้วใบมีดยักษ์หล่นลงมาตัดพระศอกระเด็นน่าสยอง พระโลหิดอาบพระพักตร์อย่างน่าเวทนา

 3 กรกฎาคม 1792 หลังจากพระเจ้าหลุยส์ถูกสำเร็จโทษได้ไม่นาน เจ้าหน้าที่มาตัดพระเกศาของพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ให้สั้นเสมอแค่พระศอ นำตัวพระนางขึ้นสู่กิโยตินอันที่ใช้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16  

เขาจับพระนางมัดกับกระดาน เสร็จแล้วกระดกให้นอนหงายขึ้นมองมีดกิโยตินตัดพระศอพระนางเอง อันเป็นท่าที่น่าเจ็บ ทารุณมากที่สุด 

เล่ากันว่าเมื่อตัดพระเศียรแล้วทุกคนมองเห็นว่า พระเศียรนั้นมีการขยับพระเนตร น้ำพระเนตรไหล 

 



นี่คือพระรูปสุดท้ายตอนพระนางจะขึ้นสู่กิโยติน 

 

ภาพหลังตัดพระเศียรพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ 

ส่วนพระวรกายไร้วิญญาณของพระนางมารี อังตัวเน็ตต์ ถูกทิ้งไว้กลางดินในป่าช้า อืดเน่าสลายอย่างน่าอนาถ จนต่อมามีชาวบ้านที่มีน้ำใจช่วยเก็บไปฝัง ปัจจุบันทางฝรั่งเศสได้ทำโลงหินอ่อน เก็บส่วนที่เหลืออยู่ของพระนาง"พระราชินีที่สถิตยอยู่ในโลกเพียง 38 พรรษา"

 

 

พระราชินีมารี อองตัวเน็ตต์ ผู้ได้รับการกล่าวขานว่าเสมือน "กุหลาบแห่งแวร์ซาย" ผู้มีชีวิตหรูหรา อลังการ จากสตรีผู้เป็นที่รัก เป็นที่ยกย่อง แต่ต้องจบชีวิตด้วย "กิโยติน"

 



การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้? หรือ เธอคือชนวนเหตุการณ์แห่งความสูญเสียครั้งนี้? 

นี่คือเรื่องราวที่ได้รับการจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์และระมัดระวังไม่ให้"ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย" 

เพราะสุดท้ายแล้วสงครามและความรุนแรงก็มิได้เอื้อประโยชน์แต่อย่างใดนอกจากความสูญเสีย

ขอสันติสุขพึงสถิตกับมนุษยชาติตลอดกาล

 

ข้อมูลเพชรเม็ดนี้เพิ่มเติม

 



เพชร "โฮป" เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนาน

เพชรโฮปบนตัวเรือนจี้ล้อมด้วยเพชรสีขาว 16 เม็ด ห้อยอยู่กับสร้อยเพชร
ออกแบบโดย Pierre Cartier

 ว่ากันว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคเลอรูน (Coleroon) ในอินเดีย เพชรหนัก 112 กะรัต เม็ดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine) ในกอลคอนดา เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลินเข้ม

   ชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย (Jean-Baptist Tavernier) พ่อค้าเพชรชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซื้อเพชรนี้มาและลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีสใน ค.ศ. 1668 ต่อมาใน ค.ศ. 1669 ตาแวร์นีเยขายเพชรให้แก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยราคา 3,000,000 ปอนด์ เพชรโฮปนี้ได้รับการเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำรูปทรงสามเหลี่ยมหนัก 67.5 กะรัต โดยนายเปเตออง (Petean) และเป็นที่รู้จักในนาม "เพชรตาแวร์นี...ีฟ้า" (The Tavernier Blue) เพชรสีน้ำเงินฝรั่งเศส (The French blue) หรือเพชรสีน้ำเงินแห่งมงกุฎ (The Blue Diamond of the Crown)

   พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงมอบเพชรให้แก่มาดาม เดอ มงเตสปอง (Madam de Montespan) แต่ไม่นานหลังจากนั้นนางก็กลายเป็นที่เกลียดชังของราชสำนัก เพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ ได้หายไปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 หลังจากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ใน ค.ศ. 1812

    บันทึกความทรงจำของจอห์น ฟรานซิลลอน (john Francillon) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอนเขียนไว้ว่า เพชรสีน้ำเงินหนัก 45-52 กะรัตได้ปรากฏขึ้นใน ค.ศ. 1830 ที่อังกฤษ โดย เดเนียล แอเลียสัน (Denial Eligson) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอน เขาเปลี่ยนรูปแบบการเจียระไนเป็นรูปหมอนและขายให้แก่เฮนรี ทอมัส โฮป (Henty Thomus Hope) นักการธนาคารชาวอังกฤษ ดังนั้นเพชรสีน้ำเงินจึงได้ชื่อใหม่ตามชื่อของเขาคือ เพชร "โฮป"

   ลอร์ดฟรานซิส เพลแฮม คลินตัน โฮป (Lord Francis Pelham Clinton Hope) ซึ่งได้เป็นเจ้าของเพชรของพ่อของเขา ท้ายที่สุดแล้วกลับล้มละลายและเพชรก็ได้หายไปอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาปีแยร์ การ์ตีเย (Pierre Cartier) พ่อค้าเพชรชาวปารีส ได้ขายเพชรโฮปผ่านทางสุลต่านอับดุล-ฮามิด (Abdul - Hamid) ให้กับวิลเลียม แมกลีน (William Mclean) คนสำคัญในวงการหนังสือพิมพ์ และเพชรเม็ดนี้ก็ถูกนำไปที่สหรัฐอเมริกา แมกลีน ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ซื้อเพชรมาด้วยราคา 154,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภรรยาของแมกลีนต้องการให้พระทำพิธีขับไล่ผีในเพชรก่อน พิธีนี้จึงได้มีขึ้นและเธอก็ป่าวประกาศว่ามี "ฟ้าผ่าและฟ้าแลบในระหว่างพิธี" ด้วย หลังจากนั้นเธอจึงค่อยสวมใส่เพชรเม็ดนี้

   โชคร้ายที่ดูเหมือนคำสาปในเพชรยังคงมีอยู่ ใน ค.ศ. 1918 ลูกชายของแมกลีนอายุ 9 ขวบ หลุดรอดจากการดูแลของบรรดาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและถูกรถคันหนึ่งชนเสียชีวิต แมกลีนจึงดื่มเหล้าและหลังจากนั้นไม่กี่เดือนลูกสาวคนเดียวของพวกเขาก็ปลิดชีพตัวเองโดยใช้ยานอนหลับ

   ใน ค.ศ. 1949 หลังจากที่ภรรยาของแมกลีนเสียชีวิตแล้ว แฮร์รี วินสตัน (Harry Winston) พ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ก ได้ซื้อเพชรโฮปไปด้วยราคา 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปเพิ่มชุดสะสมส่วนตัวของเขา

   ใน ค.ศ. 1958 เอดนา วินสตัน (Edna Winston) ได้บริจาคเพชรเม็ดนี้ให้แก่สถาบันสมิทโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นที่ที่จัดแสดงเพชรในปัจจุบัน และมีผู้มาเยี่ยมชมหลายพันคนซึ่งหลงไหลในเพชรสีน้ำเงินไพลินและความแวววาวที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่มีตำนานที่น่าสนใจ 

ข้อมูลจาก  สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ

 

ซ้ำขออภัยค่ะ

 

 

 

 

ที่มา: วิกิพีเดีย
www.reurnthai.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
bourbon's profile


โพสท์โดย: bourbon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
62 VOTES (4.1/5 จาก 15 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ตำรวจดักจับคารู หลังนักโทษร่วมกัน ขุดรูแหกคุก!!ขำสุดซอย..ฮาก๊าก..คลายเครียด!สื่อดัง "วอยซ์ทีวี" ประกาศปิดกิจการ 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนักงานกว่า 100 ชีวิต ด้าน "แขก คำผกา"เคลื่อนไหวแล้ว เฮทั่วประเทศ ! ฟุตซอลไทย ชนะจุดโทษ ทาจิกิสถาน เข้าชิงแชมป์เอเชีย 2024ถอนหมายจับ สนธิญา แจงเหตุไม่ไปศาล อ้างจำวันผิดช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆเมืองเวนิช " เก็บค่าธรรมเนียม " เข้าชมเมืองเขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!นางเอกชื่อดังของญี่ปุ่น ประกาศว่าแต่งงานแล้ว!!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮทั่วประเทศ ! ฟุตซอลไทย ชนะจุดโทษ ทาจิกิสถาน เข้าชิงแชมป์เอเชีย 2024"ปารีณา-อมรัตน์" สายสัมพันธ์ในวันที่การเมืองเปลี่ยน จากศัตรูสู่มิตร"ป๋าเสรี" ร่วมงานศพ"ทวี ไกรคุปต์" ด้าน"ปารีณา" โผล่สวมกอด ลั่นขอโทษที่เคยทำไม่ดีกับท่านเสรี!erosion: การกัดเซาะ การทำให้สึกกร่อนทางกัมพูชา และ จีนจัดงานโชว์ศิลปะการต่อสู้ กังฟู + โบกาตอร์ ตอนแรกหลายคนนึกว่า จะเอามาสู้ๆกัน อ้อ ไม่ใช่ มาโชว์กระบวนท่าการแสดงเฉยๆ พอมีคนดูอยู่เหมือนกันเด้อ
ตั้งกระทู้ใหม่