ไอโอ (Io) ดวงจันทร์ที่แปลกที่สุดในระบบสุริยะ
ดาวพฤหัส และดวงจันทร์ัยักษ์ทั้ง 4 ดวง
ดาวพฤหัส ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ใหญ่ ซึ่งปัจจุบันครองแช้มป์ดาวเคราะห์ที่มีดาวบริวารมากที่สุดคือ 40 ดวง แต่ในที่นี้เราจะมาพูดถึงดวงจันทร์ยักษ์ 4 ดวงสามารถมองเห็นได้จากบนโลก ซึ่งถูกเห็นครั้งแรกโดย กาลิเลโอ เมื่อปี คศ.1610 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่กาลิเลโอประดิษฐ์ขึ้นเอง เราจึงเรียกว่า "ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean's moon)" ประกอบด้วย ไอโอ(Io) ยูโรปา(Europa) แกนิมีด (Ganimede) และ คัลลิสโต (Callisto) ที่เหลือเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็ก ถูกค้นพบโดยยานสำรวจอวกาศ
ดาวพฤหัส และดวงจันทร์ัยักษ์ทั้ง 4 ดวง
ไอโอ (Io) ดวงจันทร์ขนาดใหญ่อันดับ 3 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,642 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 421,600 กิโลเมตร โคจรอยู่รอบในสุดของกลุ่มดวงจันทร์กาลิเลียน 1 รอบกินเวลา 1 วัน 18 ชั่วโมง 27 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลกประมาณ mag 5.0
ดวงจันทร์ัไอโอ (IO)
ไอโอ ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี มีสีเหลืองสด เพราะเกิดจากกำมะถันและหินซิลิเกตที่หลอมละลาย พื้นผิวที่ดูผิดปกติของไอโอนี้มีอายุน้อยมาก เกิดจากภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ ซึ่งภูเขาไฟจำนวนมากบนไอโอนี้เกิดจากแรงรบกวนจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์กาลิเลียนดวงอื่นๆ แรงเสียดที่เกิดขึ้นจากการที่มันถูกแรงโน้มถ่วงดึงยืดอย่างรุนแรง ส่งผลให้เิกิดความร้อนขึ้นอย่างมหาศาลภายในดวงจันทร์ไอโอ จนทำให้หินหลอมเหลวภายในไอโอระเบิดออกมาสู่ภายนอก ภูเขาไฟอันทรงพลังของไอโอที่คอยระบายความร้อนภายในตัวดวงจันทร์ ระเบิดพ่นลาวาที่เป็นกำมะถันเหลวปกคลุมทั่วผิวไอโอ เมื่อครั้งที่ยานวอยเอเจอร์ผ่านไอโอได้จับภาพภูเขาไฟกำลังพ่นลาวาสูงถึง 240 กิโลเมตรยังทำให้สารทั้งหมดภายในดวงจันทร์ออกมาสู่ภายนอก
ก็นำมาฝากกันครับ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบดวงดาว สำหรับเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีเรื่องความสวยความงาม แต่เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ของดวงดาวดวงหนึ่งในระบบสุริยะของเรา ยังคงมีเรื่องให้เราได้แปลกใจอีกมากมาย เพราะจักรวาลกว้างใหญ่เป็นอนันต์ วิทยาการอันก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์คงเผยสิ่งมหัศจรรย์แห่งดวงดาวให้เราได้ชื่นชมกันไปอีกนาน แล้วพบกันใหม่ครับ...mata
เรียบเรียงโดย พรชัย สังเวียนวงศ์ (mata)
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/solar2/Jupiter.htm" rel="nofollow" target="_blank">http_xi5v9xix_://www.geocities.ws/whan_natt_zaa/Jupiter.html, http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/solar2/Jupiter.htm
ขอบคุณแหล่งที่มา
















