คุณอ้วนหรือไม่...เรามีคำตอบ
โรคอ้วน การประเมินว่าอ้วนหรือไม่ สาเหตุโรคอ้วน ผลเสียของโรคอ้วนจะรักษาโรคอ้วนเมื่อไรมีกี่วิธีในการรักษาโรคอ้วนขั้นตอนในการรักษาผลดีของการลดน้ำหนัก การป้องกัน อ้วนลงพุง(metabolic syndrome)
การประเมินความอ้วน
การจะประเมินว่าอ้วนหรือไม่เรามิได้ประเมินจากการดูด้วยสายตาอย่างเดียว แต่จะประเมินจากดัชนีมวลกาย ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย มีวิธีการประเมินง่ายๆแต่ได้ผลดีได้แก่
- ดัชนีมวลกาย BMI [body mass index]
- วัดเส้นรอบเอว Waist circumference
ดัชนีมวลกาย BMI [body mass index]
การวัดปริมาณไขมันในร่างกายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องมือในการวัด จึงใช้ดัชนีมวลกายมาวัด ค่าที่ได้มีความแม่นยำพอสมควรและสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย วิธีวัดก็สะดวก
การคำนวณดัชนีมวลกาย |
ดัชนีมวลกาย =น้ำหนัก(กก) |
ตัวอย่างการคำนวณ |
ส่วนสูง 170ซม.น้ำหนัก 85 กก.
|
BMI สามารถวัดได้ง่ายโดยวัดส่วนสูงและน้ำหนักและคำนวณตามตาราง หรืออาจจะหาดัชนีมวลกายได้จากตารางโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย หรือจากการคำนวณคลิที่นี่ ข้อระวัง BMI ใช้ประเมินปริมาณไขมันในผู้ที่มีกล้ามมากๆไม่ได้ และประเมินในผู้ที่กล้ามเนื้อลีบจากสูงอายุไม่ได้ จากค่าดัชนีมวลกาย ท่านสามารถใช้ตารางข้างล่างประเมินความรุนแรงหรือระดับของความอ้วน
|
ภาวะเสี่ยงต่อโรค เส้นรอบเอว |
||||
|
BMI กก/ตารางเมตร |
Obesity class ระดับความอ้วน |
ภาวะเสี่ยงต่อโรค |
ชาย<40นิ้ว หญิง<35นิ้ว |
ชาย>40 นิ้ว หญิง>35 นิ้ว |
น้ำหนักน้อย |
<18.5 |
|
ต่ำ |
--- |
--- |
น้ำหนักปกติ |
18.5-24.9 |
|
เท่าคนปกติ |
--- |
--- |
น้ำหนักเกิน |
25-29.9 |
|
เพิ่ม |
เพิ่ม |
สูง |
โรคอ้วน |
30-34.9 35-39.9 |
1 2 |
เพิ่มปานกลาง
เพิ่มมาก |
สูง สูงมาก |
สูงมาก สูงมาก |
อ้วนมาก |
>40 |
3 |
อยู่ในช่วงอันตราย |
สูงมากๆๆ |
สูงมากๆๆ |
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหมายถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง
ผู้ป่วยที่มีเส้นรอบเอวมากแม้ว่า BMI จะปกติก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าท่านที่มีดัชนีมวลกายตั้ง25 ขึ้นไปโดยเฉพาะมีเส้นรอบเอวมากว่า 40นิ้วในชาย 35 นิ้วในหญิงจะต้องเริ่มรักษาอย่างจริงจัง
สำหรับชาวเอเชียไม่สามารถใช้ตัวเลขดังกล่าวได้เนื่องจากผลของการวิจัยพบว่าหากดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก/ตารางเมตร ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะเกิดอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงดังนั้นจึงกำหนดว่า หากดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะถือว่าอ้วน นอกจากนั้นการวัดเส้นรอบเอวก็ไม่สามารถใช้มาตรฐานของฝรั่งเนื่องจากโครงสร้างต่างกัน จึงมีการวิจัยพบว่าเส้นรอบเอวที่เหมาะสมสำหรับคนเอเซียคือ 90 ซม.สำหรับผู้ชาย 80 ซม.สำหรับผู้หญิงดังตารางที่แสดง
|
ภาวะเสี่ยงต่อโรค เส้นรอบเอว |
||||
|
BMI กก/ตารางเมตร |
Obesity class ระดับความอ้วน |
ภาวะเสี่ยงต่อโรค |
ชาย<90 ซม. หญิง<80 ซม. |
ชาย>90 ซม หญิง>80 ซม. |
น้ำหนักน้อย |
<18.5 |
|
ต่ำ |
--- |
--- |
น้ำหนักปกติ |
18.5-22.9 |
|
เท่าคนปกติ |
--- |
--- |
น้ำหนักเกิน |
23-24.9 |
|
เพิ่ม |
เพิ่ม |
สูง |
โรคอ้วน |
25-29.9 |
1 |
เพิ่มมาก |
สูง |
สูงมาก |
อ้วนมาก |
>30 |
2 |
อยู่ในช่วงอันตราย |
สูงมากๆๆ |
สูงมากๆๆ |
ค่ารอบเอวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค |
สำหรับคนเอเซีย |
|
|
การวัดเส้นรอบเอวจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในอวัยวะภายในช่องท้อง หากมีไขมันช่องท้องมากจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าไขมันที่อยู่ตามแขนหรือขา ผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกินแต่เส้นรอบเอวไม่เกินกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อโรคไม่มาก
วิธีการวัดเส้นรอบเอว
การวัดต้องวัดท่ายืน เท้าแยกจากกัน 25-30 ซม.วัดรอบเอวระดับกึ่งกลางกระดูกสะโพกส่วนบนสุดและขอบล่างของกระดูกซี่โครงให้ขนานกับพื้นผู้วัดต้องนั่งข้างๆ และต้งวัดขณะหายใจออกเท่านั้น ส่วนสะโพกให้วัดบริเวณส่วนที่ก้นยื่นออกมามากที่สุด
ติดตามความรู้ดีๆๆเพิ่มเติมและปรึกษาฟรีได้ที่
https://www.facebook.com/Perfectcarebody
082-227-8810