พีระมิดของฟาโรห์ดโจเซอร์ แห่งเมืองซัคคาร่า
สวัสดีครับเพื่อนๆ จากบทความเรื่อง "อิมโฮเทป เทพเจ้าที่กำเนิดจากสามัญชน" ความสามารถของอิมโฮเทปในศาสตร์หลายด้าน ทำให้ในที่สุดอิมโฮเทปก็ได้รับการยอมรับเป็นดั่งเทพเจ้าในเวลาต่อมา ผลงานที่โดดเด่นและถือเป็นต้นแบบมหาพีระมิดในยุคต่อมาก็คือพิระมิดที่บรรจุพระศพของฟาโรห์ดโจเซอร์ ซึ่งจะกล่าวในเนื้อหาที่จะได้อ่านกัน ช่วงนี้อาจจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอียิปต์โบราณกันบ่อยหน่อย ส่วนหนึ่งเพราะเนื้อหามันต่อเนื่องกัน อีกส่วนก็เพราะเพื่อนบางท่านอยากให้นำมาลง ก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ติดตามอ่านกันนะครับ
พีระมิดขั้นบันได (Step Pyramid) ของฟาโรห์ดโจเซอร์ที่เมืองซักคารา
ทะเลทรายอันกว้างใหญ่ของเมืองซัคคาร่า [Saqqara or Sakkara] เต็มไปด้วยปิรามิด สุสานของเฟาโรห์ ชนชั้นสูง และเหล่าเสนาบดีในยุคอาณาจักรเก่า แต่ที่โดดเด่นเป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้คนให้ไปเยือน ซัคคาร่าคือ พีรามิดขั้นบันได-Step Pyramid ของฟาโรห์ดโจเซอร์ (Djoser or Zoser) ซึ่งเป็นพีรามิดแห่งแรกเป็นต้นแบบ ของพีรามิดทรงสามเหลี่ยม [True Pyramid] ดังเช่นมหาพีรามิดแห่งกีซ่าที่โด่งดัง
ความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายของชาวอียิปต์ ว่าจะมีโอกาสฟื้นคืนชีพได้อีกในร่างเดิมจึงก่อให้เกิดการทำมัมมี่เพื่อรักษาสภาพของร่างกาย และการก่อสร้างที่เก็บร่างมัมมี่อย่างดี เพื่อรอการกลับมาของคา [Ca] หรือวิญาณ และเพราะเชื่อว่าฟาโรห์เป็นโอรสแห่งเทพเจ้ารา [Re] เทพแห่งสุริยะและการเกิดของสรรพสิ่ง (สุริยะเทพดูเหมือนจะเป็นเทพเจ้าสูงสุดของมวลมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ ในโลกนี้ ซึ่งมีการเรียกชื่อของเทพองค์นี้แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของตน) ที่เก็บร่างของฟาโรห์จึงต้องยิ่งใหญ่ และสูงสู่ฟ้าเพื่อให้อยู่ใกล้กับเทพรา มากที่สุด รูปทรงของพีรามิดจึงได้ใหญ่โต มียอดพุ่งทะยานสู่ฟ้า ใกล้เคียงกับปิรามิดของฟาโรห์จะมีพีรามิดย่อมๆ หรือสุสานของ ของราชวงศ์และเสนาบดีอยู่รายรอบ เพราะใครๆก็อยากเข้าใกล้กับเทพเจ้ามากที่สุด สมัยอาณาจักรเก่าถือว่าเป็นยุคทองของพีรามิด เพราะปิรามิดมากมายถูกสร้างในยุคนี้ (อาณาจักรอียิปต์โบราณ มีการแบ่งเป็นหลายยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ ยุคก่อนราชวงศ์ ยุคอาณาจักรเก่า อาณาจักรกลาง ไล่ไปจนถึง ยุคกรีกปกครอง มีฟาโรห์ปกครอง 31 ราชวงศ์)
พีระมิดขั้นบันได (Step Pyramid)
ดโจเซอร์ เป็นฟาโรห์แห่งราชวงวค์ที่ 3 ของอาณาจักรเก่า ครองราชย์ราว 2668-2649 BC ดังนั้นปิรามิดของโซเซอร์ จึงมีอายุกว่า 4,600 ปี เป็นปิรามิดที่เก่าแก่ที่สุด มีความสูง 60 เมตร ความกว้างของฐาน 110×125 เมตร น้ำหนักของหินที่ใช้ราว 850,000 ตัน สร้างเป็นชั้นก่อขึ้นไป 6 ชั้น ความชันสอบขึ้นไปสู่ยอด 49 องศา เป็นสิ่งก่อสร้างจากหินขนาดใหญ่ชิ้นแรกของมนุษย์
มาสตาบา-Mastaba Mastaba ที่ฝังศพของชนชั้นสูงในยุคก่อนปิรามิด เป็น แนวคิดของการสร้างปิรามิด
ปิรามิดขั้นบันได มีพัฒนามาจาก มาสตาบา [Mastaba] ที่ฝังศพชนชั้นสูงของอียิปต์ในยุคแรกๆ ซึ่งรับมาจากวัฒนธรรม เมโสโปเตเมีย มาสตาบา เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐสอโคลน (ใช้โคลนเป็นตัวประสานอิฐ) รูปทรงภายนอกจะเห็นเป็นทรงสี่เหลี่ยมคางหมู เอียงทำมุมประมาร 49 º ภายในทำเป็นห้องลับใต้ดินสำหรับฝังศพ และสมบัติที่ฝังไห้คนตายนำไปใช้ในโลกหน้าตามความเชื่อ เช่นกันกับห้องลับในปิรามิดที่รับเอาแบบอย่างมา
ซึ่งนับว่าผู้สร้างมาสตาบานั้นมีคามสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นพื้นฐานให้กับสถาปนิกที่ถือเป็นแบบอย่างและปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม จนเกิดพัฒนาการของพีระมิดองค์ที่ถึงจุดสูงสุดอย่างมหาพีระมิดแห่งกีซาในเวลาต่อมา
โครงสร้างมาสตาบา [Mastaba]
Imhotep สถาปนิคเอก ของฟาโรห์โซเซอร์ ผู้ออกแบบและควบคุมการสร้าง Step Pyramid
อิมโฮเทป [Imhotep] สถาปนิคเอกของโจเซอร์ ได้ออกแบบปิรามิดขั้นบันได ขยายจากโครงสร้างของ มาสตาบาให้ใหญ่กว่าและ สูงขึ้นไป เปลี่ยนวัสดุที่ใช้มาเป็นหินที่มีความแข็งแรงกว่า ประหนึ่งจะให้อยู่ยาวนานไปชั่วกาลป์
อิมโฮเทป [Imhotep] มิได้เป็นเพียงสถาปนิคเอกของโจเซอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นเสนาบดีเอกผู้ค้ำบัลลังค์ มีความรู้รอบด้านทั้งงานปกครอง สถาปนิค และที่โดดเด่นอีกประการคืองานด้านการแพทย์ รอบรู้และเก่งกาจจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปมาทุกยุคสมัย จนถูกยกให้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์ทันสมัย [Imhotep Museum] สร้างเพื่อเป็นเกียรติ์แก่เทพองค์นี้ในเมืองซัคคาร่าด้วย เรื่องของอิมโฮเทปอ่านได้โดยคลิกที่นี่ครับ อิมโฮเทป เทพเจ้าที่กำเนิดจากสามัญชน
ผังรวม ของอาณาเขตสุสานของ ฟาโรห์โซเซอร์ อันประกอบด้วยปิรามิด และสิ่งก่อสร้างบริวาร
Saqqara Plan Step Pyramid
ซึ่งนับว่าผู้สร้างมาสตาบานั้นมีคามสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นพื้นฐานให้กับสถาปนิกที่ถือเป็นแบบอย่างและปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม จนเกิดพัฒนาการของพีระมิดองค์ที่ถึงจุดสูงสุดอย่างมหาพีระมิดแห่งกีซาในเวลาต่อมา ความยิ่งใหญ่และอารยธรรมที่รุ่งเรืองในอดีต แม้สิ่งก่อสร้างในยุคนั้นได้พังทลายด้วยน้ำมือมนุษย์และภัยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่แล้วก็ตาม แต่ยังคงล้ำค่าและประทับใจแก่ผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องราวมิรู้ลืม แล้วพบกันใหม่ครับ...mata
เรียบเรียงโดย พรชัย สังเวียนวงศ์ (mata)
ขอบคุณภาพประกอบ https://sites.google.com/site/5104540rsu/arc213/mas-ta-ba, http://dekguide.com/travel/imhotep-museum/" rel="nofollow" target="_blank">http_xi5v9xix_://jutatip2540.wordpress.com/, http://dekguide.com/travel/imhotep-museum/" rel="nofollow" target="_blank">https_xi5v9xix_://sites.google.com/site/5104540rsu/arc213/mas-ta-ba, http://dekguide.com/travel/imhotep-museum/