ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 "นโปเลียนแห่งอียิปต์"
ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll)
ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่สิบแปด โดยในเวลานั้นเมืองหลวงของอาณาจักรอียิปต์อยู่ที่นครธีบส์ (Thebes) ทุตโมซิสที่ 3 ทรงเป็นพระโอรสของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 กับพระสนม เนื่องจากพระมเหสีของทุตโมซิสที่ 2 ไม่มีพระโอรส ดังนั้นพระองค์จึงได้เป็นรัชทายาท หลังจากฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 สิ้นพระชนม์ลง พระองค์ได้ขึ้นเป็นฟาโรห์ แต่ทว่าเนื่องจากขณะนั้น ทุตโมซิสที่ 3 ยังทรงพระเยาว์อยู่มาก ดังนั้นพระมาตุจฉาของพระองค์ คือ พระนางฮัทเชปซุท จึงขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนและในภายหลังก็กุมอำนาจเป็นฟาโรห์หญิงอยู่ระยะเวลาหนึ่ง
ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll)
สำหรับพระนางฮัทเชปซุทนี้ ทรงเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 และเป็นพระพี่นางของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 ตามพระราชประเพณีอียิปต์โบราณ ผู้เป็นฟาโรห์ต้องอภิเษกกับผู้อยู่ในเชื้อสายเดียวกัน เพื่อคงไว้ซึ่งความสูงส่งของสายเลือด ดังนั้นพระนางจึงเข้าพิธีอภิเษกและเป็นมเหสีของทุตโมซิสที่ 2 (พี่สาวแต่งงานกับน้องชาย) หลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์ พระนางก็ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนทุตโมซิสที่ 3 ที่ยังทรงพระเยาว์ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าพระนางปฏิบัติองค์เหมือนดังฟาโรห์ที่เป็นบุรุษเพศ มีการติดเคราปลอมขณะออกว่าราชการ เนื่องจากพระนางนับได้ว่าทรงมีพระปรีชาสามารถในการบริหารปกครองไม่น้อยทีเดียว ดังนั้น ในรัชสมัยของพระนาง จึงกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ที่สุดช่วงหนึ่งของอียิปต์
แม้จะดูเหมือนแย่งอำนาจมาจากพระราชนัดดา แต่พระนางฮัทเชปซุท ก็ยังให้ความสำคัญกับเจ้าชายทุตโมซิสมาก โดยประทานตำแหน่งหัวหน้านักบวชแห่งเทพอามอนและนายพลแห่งกองทัพให้ ซึ่งได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างรากฐานอำนาจอันแข็งแกร่งให้กับเจ้าชายในเวลาต่อมา และหลังจากครองราชย์ในฐานะฟาโรห์หญิงได้ราวยี่สิบปี ในปีที่ 1458 ก่อนคริสตกาล พระนางก็สละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายทุตโมซิส ซึ่งได้กลับมาขึ้นครองราชย์เป็น ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 อีกครั้ง
ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll)
Tuthmosis III's Temple of Hathor
ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 ทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าพระองค์เชี่ยวชาญในการขี่ม้า ยิงธนูและล่าสัตว์ อีกทั้งพระองค์ยังทรงเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถอีกด้วย ในด้านความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระนางฮัทเชปซุทนั้นจากหลักฐานที่มีอยู่ พอจะบอกได้ว่า ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3 ไม่ได้ทรงพอพระทัยที่พระนางฮัเชปซุทขึ้นครองราชย์นัก สังเกตได้จากการที่พระองค์ได้สั่งให้ทำลายรูปเคารพและรูปสลักของพระนางจนเกือบหมด ซึ่งตามความเชื่อของชาวอียิปต์สมัยนั้น ว่าการทำลายพระนาม หรือชื่อของผู้ใด เสมือนเป็นการทำให้ผู้นั้นไม่สามารถเดินทางไปยังภพหน้าได้
พระนางฮัทเชปซุท (Hatshepsut)
ยุคสมัยของฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 3 (Thutmose lll) นั้น ความรุ่งเรืองและความมั่นคงของประเทศมีสูงมาก เพราะพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการรบเป็นอย่างมาก เป็นอีกยุคหนึ่งที่ทำให้อียิปต์เป็นเหนือประเทศ ใกล้เคียงทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก พระองค์ได้รับสมญานามจากบรรดานักประวัติศาสตร์ว่า "นโปเลียนแห่งอียิปต์" ก็เนื่องมาจากพระปรีชาสามารถในการศึกของพระองค์ ที่ทำให้อียิปต์แผ่แสนยานุภาพเกรียงไกร ยิ่งกว่ารัชสมัยใดๆ ก่อนหน้านั้น จนขึ้นชั้นมหาอำนาจแห่งโลกโบราณ
ขอบคุณภาพประกอบ http://www.ancient-egypt.co.uk/luxor_museum/pages/thutmose%20iii%20(menkheperra)%203.htm, http://www.metmuseum.org/collections/search-the-collections/100000736?img=3, http://en.wikipedia.org/wiki/Thutmose_III" rel="nofollow" target="_blank">http_xi5v9xix_://www.touregypt.net/featurestories/tuthmosis3.htm, http://www.ancient-egypt.co.uk/luxor_museum/pages/thutmose%20iii%20(menkheperra)%203.htm, http://www.metmuseum.org/collections/search-the-collections/100000736?img=3, http://en.wikipedia.org/wiki/Thutmose_III