หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

รู้จัก 10 เอเลี่ยนสปีชี่ส์เมืองไทย

โพสท์โดย Min Min

เมื่อเอ่ยถึง "เอเลี่ยน" (Alien)ร้อยทั้งร้อยต้องนึกถึง "มนุษย์ต่างดาว" เป็นอันดับแรกด้วยอิทธิพลอดีตหนังดังจากฮอลลีวู้ดที่นำเสนอภาพเอเลี่ยนจากภาพยนตร์เกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาวที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีคนแห่ไปดูจนเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติการณ์ภาพยนตร์เลยทีเดียว แต่ถ้าพูดว่า "เอเลี่ยนสปีชี่ส์" (Alien species)  มันคือเรื่องจริงที่กำลังคุกคามระบบนิเวศไทยจนเสียหายอย่างหนัก เพราะมันคือ สิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น อธิบายง่ายๆ คือ สิ่งมีชีวิตไม่ได้มีต้นกำเนิดในพื้นที่นั้นๆ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ แต่ชนิดพันธุ์ หรือสิ่งมีชีวิตนั้นถูกนำมาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่น ชนิดพันธุ์ที่นำเข้ามา อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลเสียต่อระบบนิเวศดั้งเดิมได้ ในหลายๆ ประเทศ การรุกรานของ "เอเลี่ยนสปีชีส์" (Alien Species) ถือเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หากไม่นับการบุกรุกพื้นที่ธรรมชาติโดยมนุษย์

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในประเทศไทยมีมากมายเกือบร้อยชนิด แต่หากจัดอันดับ Top 10 ละก็ ต้องยกให้...


       1.
หอยเชอร์รี่
 
ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ในนาข้าวของเรามีหอยเชอรีเป็นศัตรูตัวฉกาจ และยังแพร่ระบาดไปในทุกพื้นที่ทุกจังหวัด สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรอย่างมาก ทำให้ประเทศเราต้องนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชากรตามมาอีกด้วย

 

 

 2.  จอกหูหนูยักษ์
         
จอกหูหนูยักษ์เป็นเฟิร์นลอยน้ำชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ แต่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยหลายปีแล้วเมื่อโตเต็มที่จะเบียดเสียดกันมากและซ้อนทับกันเป็นชั้นหนา 30-40 เซนติเมตร โดยบริเวณที่มีจอกหูหนูยักษ์ขึ้นปกคลุมผิวน้ำอย่างหนาแน่นเป็นพื้นที่กว้าง จะไปแย่งพื้นที่พรรณพืชน้ำอื่นๆ ในท้องถิ่น ทั้งยังบดบังไม่ให้แสงแดดและออกซิเจนผ่านลงไปใต้ผิวน้ำได้ ทำให้พืชใต้น้ำไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้และตายลง ยิ่งทำให้บริเวณนั้นขาดออกซิเจนที่ต้องใช้ไปกับการย่อยสลายซากพืช และทำให้สัตว์น้ำอยู่อาศัยต่อไปไม่ได้ ซึ่งความน่ากลัวของจอกหูหนูยักษ์คือกำจัดยากยิ่งกว่าผักตบชวา เพราะมีลำต้นเปราะบาง หักง่าย เวลาตักหรือช้อนขึ้นมามักหักเป็นท่อนๆ ที่มีใบติดอยู่ด้วย ซึ่งแม้เพียง 1-2 เซนติเมตร ก็สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้จากตาตรงซอกใบ เรียกได้ว่า ยิ่งแตกก็ยิ่งโต

 

    3.ปลาเทศบาล, ปลาซัคเกอร์ หรือปลากดเกราะ
            
ปลากดเกราะเป็นปลาที่มีการนำเข้ามาจากทวีปอเมริกาใต้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 เพื่อใช้กำจัดสาหร่ายและของเสียที่ตกค้างในตู้ปลา แต่เมื่อปลาเทศบาลเจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่เกินไป ผู้เลี้ยงก็นำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ และปลาก็สามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้ดี จนปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแล้ว เพราะไปมีผลคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ศรีลังกา และไต้หวัน รวมทั้งในแม่น้ำโขงด้วย 

 

 

              4.ผักตบชวา

    ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบันผักตบชวา เป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ มีดอก สีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป

 

 

   5. หอยกระพงเทศ
   
หอยกะพงเทศ (Mytilopsis adamsi Morrison, 1946) เป็นหอยสองฝาที่มีต้นกำเนิดในตอนกลางของทวีปอเมริกด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค แต่มีการแพร่กระจายพันธุ์ รุกรานไปในประเทศต่างๆ หลายประเทศ เช่น เช่น อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับการแพร่กระจายนั้น คาดว่าน่าจะติดมากับน้ำในถังอับเฉาเรือเดินสมุทรที่มีตัวอ่อนของหอยกะพงเทศ เจริญเติบโตอยู่ หรือจากตัวเต็มวัยที่เกาะติดมากับตัวเรือ และได้มาแพร่พันธุ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณหาดแก้วลากูน เป็นบริเวณอยู่ใกล้กับท่าเรือน้ำลึก

จากการศึกษาวิจัยของ นางสาวกริ่งผกา วังกุลางกูร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบการแพร่กระจายของหอยกะพงเทศในบริเวณหาดแก้วลากูน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับปากทะเลสาบสงขลา และ ท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 ปัจจุบันพบหอยกะพงเทศจำนวนมากที่บริเวณปากคลองวง บ้านบ่ออ่าง และตำบลสทิงหม้อ แสดงให้เห็นว่าขณะนี้หอยกะพงเทศได้รุกรานเข้าสู่ทะเลสาบสงขลาแล้ว  

 
การแพร่กระจาย และการดำรงชีวิตของหอยกะพงเทศ พบว่าเป็นหอยที่ทนทานต่อความเค็มและอุณหภูมิได้ในช่วงกว้าง รวมทั้งทนต่อมลภาวะได้ดี และมีความสามารถในการสร้างกลุ่มประชากรหนาแน่นซึ่งเป็นการกำจัดสิ่งมีชีวิตพวกเกาะติดอื่นๆ และนอกจากนี้ยังสามารถยึดเกาะได้บนทุกพื้นผิววัสดุที่จมน้ำ ดังนั้นการครอบครองพื้นที่ของหอยกะพงเทศจึงสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความสมดุลของระบบนิเวศ และปัญหาทางเศรษฐกิจ

 

 

 

 

6. ไมยราบยักษ์

สำหรับประเทศไทย ได้มีการนำเมล็ดไมยราบยักษ์จากประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาปลูกเป็นพืชคลุมดินในไร่ยาสูบบริเวณอำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. 2490 ซึ่งไมยราบยักษ์ ที่นำเข้ามาปลูกนั้นสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยได้ดี ทำให้มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ไปตามแหล่งน้ำ และการคมนาคมขนส่ง จากพื้นที่ที่มีการระบาดของไมยราบในภาคเหนือสู่ประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่ตอนเหนือของแม่น้ำโขง เข้าไปในประเทศลาว และพม่า ทางตอนใต้ได้เข้าสู่จังหวัด ลำปาง ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และกระจายเข้าสู่ทุกภาคของประเทศในปัจจุบัน พบการแพร่ระบาดของไมยราบยักษ์เกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ

        
ไมยราบยักษ์ขยายพันธุ์โดยเมล็ดได้ดี  ประกอบกับเมล็ดพันธุ์สามารถพักตัวได้เพื่อรอสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต จึงทำให้แพร่กระจายไปในหลายพื้นที่เมื่อยึดครองพื้นที่ก็เป็นการยากที่พืชอื่น ๆ จะขึ้นแซมทำให้พืชพรรณดั้งเดิมเช่นกกและหญ้าค่อย ๆ สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่นั้นในที่สุด

 

 


7.
ต้นสาบหมา
   
สาบหมา (Ageratina adenophorum) เป็นวัชพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกากลาง ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าระบาดเข้ามาถึงประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไร แต่ที่แน่นอนก็คือ สาบหมาระบาดเข้ามาจากพม่าและตอนใต้ของประเทศจีนถึงประเทศไทยในช่วงเวลาไม่เกิน 30 ปีที่ผ่านมา โดยจะพบว่าระบาดในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-600 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะเป็นระดับเดียวกันที่สาบเสือจะไม่สามารถเจริญได้ดี ถ้าระดับพื้นที่สูงไปกว่านั้น สาบหมาระบาดเฉพาะในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลจะไม่พบในพื้นที่ราบ การระบาดพบมากในพื้นที่ภูเขาในภาคเหนือของประเทศไทย เช่ย บริเวณยอดดอยสุเทพ ดอยปุย ดอยอ่างขาง และดอยอินทนนท์ เป็นต้น

 

     8.  ตะพาบไต้หวัน
   
ตะพาบไต้หวัน ตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx sinensis หรือ Pelodiscus sinensisไม่ใช่ตะพาบพันธุ์พื้นเมืองของไทย แต่เป็นตะพาบของจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ รัสเซียเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตะพาบสวน (Amyda cartilaginea) แต่ตะพาบไต้หวันมีขนาดเล็กกว่า โตเต็มมีขนาดกระดองประมาณ 25 เซนติเมตร เมื่อยังเล็กใต้ท้องมีสีขาว มีนิสัยดุร้าย

   
ปัจจุบัน เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงมากกว่าตะพาบสวน เพราะโตได้เร็วกว่า และยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามอีกด้วย ในด้านสิ่งแวดล้อมขณะนี้พบเป็นเผ่าพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) ที่รุกรานที่อยู่อาศัยและที่วางไข่ของตะพาบและเต่าพื้นเมืองของไทย

 

  9. เต่าแก้มแดงหรือเต่าญี่ปุ่น
     
เต่าแก้มแดงหรือเต่าญี่ปุ่น เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ แต่มีชื่อเต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทยพ่อค้าชาวญี่ปุ่นเคยนำเต่าชนิดนี้ออกมาขาย ทำให้มันได้ชื่อว่าเต่าญี่ปุ่น ตอนเกิดใหม่ๆจะมีสีเขียวและพอโตขึ้นกระดองจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีดำ ลักษณะเด่นคือมีสีแดงอยู่ข้างๆดวงตาทำให้มันได้อีกชื่อว่าเต่าแก้มแดง มีอายุเฉลี่ยราว 30 ปี
        
     
เต่าแก้มแดงเป็นเต่าที่ปรับตัวได้ดีมาก  สามารถอยู่ได้ในแหล่งน้ำหลายพื้นที่ของประเทศไทย  เพราะฉะนั้นจึงสามารถเบียดเบียนพื้นที่การหากินและวิถีชีวิตของเต่าพื้นเมืองของไทย  ไม่ว่าจะเป็นเต่าบึงหัวเหลือง , เต่าบัวและเต่าหับ  เป็นต้น  ในระยะยาวอาจส่งผลให้เต่าพื้นเมืองของบ้านเราสูญพันธุ์ไป

 

 

 

 10.นากหญ้า
     
นากหญ้าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รูปร่างคล้าย หนู ขนสีน้ำตาล สีขาว สีเทา เมื่อโต เต็มที่จะมีขนาดใหญ่เท่าหนูพุกหนัก 1.5 กิโลกรัม เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย กินหญ้าไร้สาร พิษได้ทุกชนิด หัวมันเทศและหัวผักกาด ผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 - 5 ปี ตั้งท้องนาน 4 เดือน (หลังคลอดแล้ว 24ชั่วโมง ก็ สามารถผสมพันธุ์ได้อีก) มีลูกครอกละ 8- 12 ตัว 
            เดิมนากหญ้าเป็นสัตว์ในทวีปอัฟริกา ชาวไต้หวัน เป็นผู้นำนากหญ้าเข้ามาในประเทศไทย ตั้งฟาร์มเลี้ยงอยู่ที่จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดแรก ต่อมา จ.ส.อ.จรูญ พุ่มห่าน เป็นคนนำนากหญ้า เข้ามาเลี้ยงที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นคนแรกของจังหวัดพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2537  นากหญ้ามีความสามารถในการปรับตัวได้ดีมาก  จึงกลายเป็นศัตรูพืชและทำลายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรได้

ที่มา: เติมเต็มอาหารสมอง อัพเดททุกวันกับKnowledge Guru ที่ http://knowledge.truelife.com/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Min Min's profile


โพสท์โดย: Min Min
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
181 VOTES (4.3/5 จาก 42 คน)
VOTED: แสร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นักท่องเที่ยวถูกขโมยกระเป๋าในห้างไทย ต้องตามคนร้ายจากสัญญาณไอพอด ก่อนตำรวจจะจับตัวได้ พบเป็นชาวอินโดฯ ที่มาทำงานในไทย 😏ฉลามหัวบาตรลากจระเข้ลงน้ำ การเผชิญหน้าของนักล่าแห่งนูลุนบายสกินชิพ Skinship ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ 5 ประโยชน์ของการสกินชิพเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568หนุ่มจีนหน้าเหลี่ยมเพราะ "เคี้ยวหมากฝรั่ง" หนักมาก เผยภายใน 8 ปี เสียค่าหมากฝรั่งไปกว่า 2 ล้านบาททำไมเราถึงทะเลาะกับแฟนบ่อย10 ฉายาดารา 2567 เชยจนต้องขยี้ตา หรือเสน่ห์ย้อนยุคที่ยากจะปฏิเสธ?สุดยอดสายรุ้ง 360 องศา มหัศจรรย์จากธรรมชาติที่คุณอาจไม่เคยเห็นจักรยานปั่นขึ้นสะพานตากสิน มอเตอร์ไซต์จี้ท้าย.เรื่องนี้ต้องโทษใคร?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
“มนุษย์เกิดมาทำไม?” คำถามที่ปลดล็อกความหมายของการมีชีวิตหนุ่มจีนหน้าเหลี่ยมเพราะ "เคี้ยวหมากฝรั่ง" หนักมาก เผยภายใน 8 ปี เสียค่าหมากฝรั่งไปกว่า 2 ล้านบาท
ตั้งกระทู้ใหม่